จุดเปลี่ยนวงการโทรคมนาคม

เขย่าวงการคมนาคมไม่ใช่น้อย สำหรับกรณีที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ (เครือซีพี) และกลุ่มเทเลนอร์ ประกาศการพิจารณาสร้างความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน (Equal Partnership) โดยการสนับสนุนให้บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TRUE) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (DTAC) ควบรวมกิจการและปรับโครงสร้างธุรกิจสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี (Technology Company)

โดยการร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นดีลทางเศรษฐกิจครั้งประวัติศาสตร์ และสร้างแรงกระเพื่อมเป็นวงกว้าง เพราะเป็นบริษัทที่มีมาร์เก็ตแชร์อันดับ 2 และ 3 มาควบรวมกิจการกัน ซึ่งการควบรวมในครั้งนี้เมื่อเทียบกรณีจำนวนลูกค้าและผู้ใช้เบอร์ จะมีรวมกันกว่า 50 ล้านเลขหมาย ซึ่งจะแซงเบอร์ 1 อย่างเอไอเอส ที่มีผู้ใช้จำนวน 43.7 ล้านเลขหมายทันที

แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่สามารถเคลมการครองแชมป์เป็นผู้ที่มีส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 ได้ โดย ซิกเว่ เบรกเก้ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทเลนอร์ กรุ๊ป ระบุว่า บริษัทที่มีการควบรวมกันใหม่นี้จะมีรายได้อยู่ที่ราว 217,000 ล้านบาท และส่วนแบ่งการตลาดเชิงรายได้จะอยู่ที่ 40% ซึ่งจะใกล้เคียงกับบริษัท ADVANC เจ้าของ AIS

มร.ซิกเว่ชี้ว่า หากจะดูว่าใครจะเป็นที่หนึ่งนั้นต้องวัดกันที่รายได้ ไม่ใช่เรื่องจำนวนเบอร์หรือซิม เพราะคนไทยบางคนอาจจะถือมากกว่า 1 ซิม แต่ประเด็นเรื่องใครจะเบอร์หนึ่งเบอร์สองนั้นไม่สำคัญ เพราะหลังจากนี้แลนด์สเคปในเรื่องธุรกิจนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งผู้ที่ปรับตัวได้ก่อน ผู้นำจะเป็นฝ่ายชนะ ในโลกยุคที่มีธุรกิจแบบคอนเวอร์เจนซ์ ซึ่งสามารถแตกแขนงไปได้หลากหลาย ทั้งสามารถที่จะดิสรัปต์ตัวเอง หรือดิสรัปต์ธุรกิจในวงการอื่นได้

อย่างมุมมองตัวแทนของเครือซีพีอย่างนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานกรรมการบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ภาพรวมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (Telecom Landscape) ได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากเทคโนโลยีใหม่ และตลาดที่เปิดกว้างต่อการแข่งขัน โดยผู้ประกอบการจากอุตสาหกรรมดิจิทัลขนาดใหญ่ในระดับภูมิภาคเข้ามาเสนอรูปแบบบริการดิจิทัลมากขึ้น

โดยชี้ว่า ในปัจจุบันธุรกิจโทรคมมาคมเริ่มมีข้อจำกัด และไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริการได้อีก จะเป็นเพียงตัวกลางทำหน้าที่อำนวยความสะดวกเรื่องสัญญาณเท่านั้น ซึ่งในวงการเรียกว่าเป็น Dumb pipe ซึ่งเป็นธุรกิจอยู่ตัวและไม่มีอนาคต ไม่สามารถเป็น Engine of Growth ที่จะสร้างรายได้ให้เป็นกอบเป็นกำอีกแล้ว

ดังนั้น การปรับโครงสร้างเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งทางทรูและดีแทคก็เห็นตรงกันว่า บริษัทจำเป็นต้องหาบทบาทใหม่ในการแข่งขัน โดยนอกจากพัฒนาการให้บริการเครือข่าย (Connectivity) ให้เป็นอัจฉริยะแล้ว ยังต้องเสริมศักยภาพและความรวดเร็วในการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) จากโครงข่ายการสื่อสารและส่งมอบเทคโนโลยี สร้างนวัตกรรมใหม่ให้กับลูกค้า

เพราะฉะนั้น บทบาทใหม่ของบริษัทใหม่คือ การสร้างระบบนิเวศสร้างเทคโนโลยีให้กับประเทศไทย เพื่อยกระดับการแข่งขันในสเต็ปต่อไป คือการแข่งขันในระดับภูมิภาค ระดับโลก ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นภารกิจใหม่ของบริษัทที่กำลังจะเกิดขึ้น

พร้อมกันนี้ บริษัทใหม่ที่จัดตั้งขึ้นร่วมกันนอกจากจะทำธุรกิจโทรคมนาคมแล้ว จะเห็นภาพใหม่ที่จะเน้นไปที่ธุรกิจเทคโนโลยีในเมกะเทรนด์โลก เช่น ธุรกิจคลาวด์, IoT ไปจนถึงศึกษาความเป็นไปได้เรื่องธุรกิจเทคโนโลยีทางอวกาศ รวมถึงจะต้องมีการปลุกปั้นสตาร์ทอัปหน้าใหม่ โดยการจัดตั้ง VC ที่จะเข้าไปสนับสนุนสตาร์ทอัปไทย มูลค่าราว 6.6 พันล้านบาท หรือราวๆ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะเป็นการร่วมทำกันอย่างจริงจัง เพื่อต้องการเป็น “Technology Hub” ที่จะสร้างสภาพแวดล้อมให้สตาร์ทอัปไทยสามารถเข้าไปแข่งขันในระดับภูมิภาคได้เช่นกัน..

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว

ดันสงกรานต์ไทยสู่เทศกาลโลก

หลังจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงมหาดไทย จับมือจัดงาน “Maha Songkran World Water Festival 2024 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567”