ลดค่าก๊าซ-ค่าไฟ ไม่ต้องรอพรรคไหนทั้งนั้น

ทุกครั้งที่จะมีการเลือกตั้ง จะได้เห็นนโยบายหาเสียงของบรรดาพรรคการเมือง ให้คำมั่นสัญญาว่าจะทำสิ่งนั้น ทำเรื่องนี้ให้ทันที ในอดีตพรรคการเมืองมักจะชูนโยบายหลักๆ ในเรื่องแก้ปัญหาปากท้อง หนี้สิน นโยบายราคาสินค้าเกษตร แต่ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในปี 2562 บรรดาพรรคการเมืองต่างมีนโยบายหาเสียงด้านพลังงานกันแทบทุกพรรค นั่นเป็นเพราะราคาพลังงานสร้างผลกระทบและความเดือดร้อนกับประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดในปี 2566 การเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง แต่ละพรรคการเมืองน้อยใหญ่ต่างลงพื้นที่หาเสียงกันอย่างคึกคัก ซึ่งหนึ่งในนโยบายที่ใช้ในการหาเสียง และถือเป็นหัวใจสำคัญที่ใช้ในการช่วงชิงคะแนน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "นโยบายด้านพลังงาน” กลายเป็นหนึ่งในจุดขายในการหาเสียง และประชาชนต่างจับตาว่านโยบายของพรรคการเมืองใดที่จะสามารถแก้ไขปัญหาราคาพลังงานที่สูงลิ่ว ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้

โดยเฉพาะในเรื่องของราคาพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำมัน ค่าแก๊ส ค่าไฟ ต่างก็จะปรับลดลงทันที พร้อมกับส่งเสริมพลังงานแสงอาทิตย์ในระดับครัวเรือน หรือฟรีหลังคาโซลาร์เซลล์ และมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าคันละ 6,000 บาท แม้กระทั่งรื้อโครงสร้างพลังงงาน เลิกผูกขาดสายส่ง หรือลดค่าไฟฟ้าเหลือหน่วยละ 3.5 บาท เป็นต้น หรือแม้กระทั่งจะเร่งรัดให้การเจรจาเรื่องปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชา เพื่อที่จะนำก๊าซธรรมชาติที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนขึ้นมาใช้ประโยชน์        

อย่างไรก็ตาม คาดว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2566 แต่ต้องรอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.รับรองผลการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม และกว่าจะได้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่และเริ่มทำงาน ก็เข้าสู่เดือนสิงหาคม 2566 และกว่าจะแก้ไขปัญหาด้านพลังงานก็อาจต้องรอกันถึงปลายปี ในขณะที่ความเดือดร้อนของประชาชนในเรื่องพลังงาน คงรอนานขนาดนั้นไม่ได้

ซึ่งสิ่งหนึ่งไม่ต้องรอ เพราะได้ดำเนินการแล้วและเกิดผลดีกับราคาต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าของประเทศ ส่งผลดีต่อราคาค่าไฟฟ้าของประชาชน คือการเปลี่ยนผ่านการดำเนินงานของแหล่งก๊าซธรรมชาติบงกช จากระบบสัมปทานเปลี่ยนผ่านสู่ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต โดยในระหว่างคืนวันที่ 7 มีนาคม 2566 ต่อเนื่องถึงวันที่ 8 มีนาคม 2566 สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องทันทีทุกขั้นตอนแบบไร้รอยต่อ ทำให้กระบวนการผลิตก๊าซธรรมชาติเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

สามารถสนับสนุนปริมาณก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติมเพื่อทดแทนการผลิตที่ลดลงจากแหล่งอื่นๆ ได้ด้วย โดยตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม ราคาก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้จากแหล่งบงกช หรือแปลง G2/61 ปรับลดลงประมาณ 107-152 บาทต่อล้านบีทียู หรือปรับจาก 279-324 บาทต่อล้านบีทียู ลดลงเหลือ 172 บาทต่อล้านบีทียู คิดเป็นมูลค่าประมาณกว่า 20,000 ล้านบาท ช่วยสร้างเสถียรภาพของราคาก๊าซธรรมชาติที่จะนำไปผลิตกระแสไฟฟ้า ลดต้นทุนราคาเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า และลดผลกระทบเกี่ยวกับราคาค่าไฟฟ้าของประชาชนได้ด้วย

และหากแปลง G1/61 หรือแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณเดิม ที่ได้เปลี่ยนจากระบบสัมปทานไปเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตตั้งแต่เมษายน 2565 ที่ผ่านมาแล้ว สามารถกลับมาผลิตก๊าซธรรมชาติได้เต็มกำลังตามเป้าหมาย ภายใต้สัญญาระบบแบ่งปันผลผลิต ก็จะยิ่งช่วยให้ราคาก๊าซธรรมชาติที่นำไปใช้ผลิตไฟฟ้าลดลงมากขึ้น และช่วยให้ค่าไฟฟ้ามีราคาถูกลงไปด้วย

นอกจากนี้ ล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติผลการประมูลในการยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมสำหรับแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทย ครั้งที่ 24 จำนวน 3 แปลง ซึ่งหากสำรวจพบปิโตรเลียมและสามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ ก็จะทำให้เรามีปริมาณปิโตรเลียมที่ผลิตได้เองในประเทศเพิ่มมากขึ้น ลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศได้

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าราคาค่าไฟฟ้าจะถูกลง แต่สิ่งที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องคือการใช้พลังงานอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด.

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

เร่งกระตุ้นอสังหาฯ

อสังหาริมทรัพย์เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่ยาว ตั้งแต่ภาคการผลิตต่างๆ เช่น เหล็ก ซีเมนต์ การท่องเที่ยว ตลอดจนการเงิน หากภาพรวมอสังหาฯ ดีย่อมส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมใกล้เคียง แต่หากลบก็กระทบธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกที่ผลักดันให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น แต่ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และภาวะหนี้ครัวเรือนที่บั่นทอนกำลังซื้อในประเทศ ส่งผลกับภาคอสังหาฯ อย่างเห็นได้ชัด

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี