จับตาทิศทางดอกเบี้ยไทย

เสถียรภาพทางการเงินโลกขณะนี้ถือว่าอยู่ในจุดสุ่มเสี่ยง หลังจากเริ่มเห็นสถาบันการเงินหลายแห่งเข้าสู่ภาวะล้มละลายและต้องปิดตัวลง ไล่มาตั้งแต่สหรัฐอเมริกาจนถึงยุโรป

อย่างล่าสุด นางคริสตาลินา จอร์จีวา กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ออกมาเตือนว่า ขณะนี้ความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินกำลังเพิ่มสูงขึ้น และจำเป็นในการเฝ้าระวังหลังจากความวุ่นวายที่เกิดขึ้นกับภาคการธนาคาร

 “ความไม่แน่นอนนั้นสูงเป็นพิเศษ แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ยังคงอ่อนแอในระยะกลาง เป็นที่ชัดเจนว่าความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินเพิ่มขึ้น ในช่วงเวลาที่ระดับหนี้สูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานานนำไปสู่อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นมาก ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อ แต่มันก็สร้างความตึงเครียดและความเปราะบางอย่างเลี่ยงไม่ได้ เห็นได้จากพัฒนาการที่เกิดขึ้นในภาคการธนาคารในประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้ว” จอร์จีวากล่าว

จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เริ่มทบทวน ส่งสัญญาณการชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเฟดเพิ่งมีมติเป็นเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 4.75-5.00% ในการประชุม ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ และเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 9 ติดต่อกัน นับตั้งแต่ที่เฟดเริ่มวัฏจักรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือน มี.ค.2565

อย่างไรก็ดี เฟดส่งสัญญาณใกล้ยุติวงจรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่แสดงความเชื่อมั่นต่อระบบธนาคารสหรัฐ ในการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) เจ้าหน้าที่เฟดคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสู่ระดับ 5.1% ในปีนี้ ซึ่งบ่งชี้ว่าเฟดจะปรับขึ้นอีกเพียง 1 ครั้งเท่านั้น

ตัดมาที่บ้านเราในการประชุม กนง.ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 29 มี.ค.ก็ได้จับตาเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ยเช่นเดียวกัน โดยมีการแสดงความเห็นในหลากหลายด้าน

อย่างทาง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า กนง.จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับ 1.75% อย่างไรก็ดีการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้อาจเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายในรอบวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นนี้ ท่ามกลางแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ประกอบกับแรงกดดันจากแนวโน้มนโยบายการเงินแบบตึงตัวของธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลกเริ่มลดลง เนื่องจากธนาคารกลางหลักอย่าง Fed เริ่มส่งสัญญาณเตรียมหยุดขึ้นดอกเบี้ยในระยะอันใกล้

ขณะที่ทางด้าน อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการและกรรมการตรวจสอบ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยมองว่า ธปท.ยังไม่มีความจำเป็นต้องเร่งรีบขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากไทยยังเจอกับปัญหาหนี้สินที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับความเสี่ยงจากปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินโลก ทำให้ กนง.ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนใดๆ ที่จะรีบปรับขึ้นดอกเบี้ยในเวลานี้

แต่สุดท้ายแล้วต้องวัดใจกับทางคณะกรรมการ กนง. ว่าจะวัดน้ำหนักการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้อย่างไร ในเมื่อดูเหมือนว่า เงินเฟ้อที่เป็นปัญหาหลักของไทย เราก็คลี่คลายไปในทางที่ดีแล้ว.

 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล