ความท้าทายการท่องเที่ยว

ดูเหมือนความหวังสำหรับการฟื้นการท่องเที่ยวในปี 2565 จะมีอุปสรรคใหญ่เสียแล้ว เพราะการปรากฏตัวของเจ้าโควิดสายพันธุ์ไทย "โอไมครอน" ที่กำลังสร้างความปั่นป่วนไปทั่วโลก เนื่องจากเจ้าไวรัสตัวนี้มันเกิดการกลายพันธุ์ครั้งใหญ่ เฉพาะหนามโปรตีนก็มีการเปลี่ยนแปลงจากต้นฉบับเดิมๆ ถึงกว่า 30 แห่ง ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้มีการแพร่เชื้อได้ง่ายขึ้นและหลบหลีกภูมิคุ้มกัน รวมถึงลดประสิทธิภาพของวัคซีนลง

และปัจจุบันดูเหมือนว่าเจ้าเชื้อตัวนี้กำลังเริ่มที่จะขยายการแพร่ระบาดไปในวงกว้างแล้วในหลายประเทศ ทั้งทวีปแอฟริกา, ยุโรป, ออสเตรเลีย และเอเชียตะวันออก

อย่าง ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, เกาหลี แม้ในขณะนี้ยังพบในกลุ่มคนจำนวนน้อย แต่ดูแนวโน้มแล้ว การแพร่ระบาดน่าจะค่อยๆ ขยายตัวเป็นวงกว้างแน่ๆ แม้ว่าในเวลานี้จะมีการเข้มงวด งดรับกลุ่มประเทศเสี่ยง แต่สถานการณ์เวลานี้ กลุ่มประเทศที่ไม่เสี่ยงก็เริ่มที่จะรับเชื้อกันมากขึ้นแล้ว

แน่นอนประเด็นนี้ก็จะย่อมส่งผลต่อแผนการเปิดประเทศและแผนเปิดรับนักท่องเที่ยวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะถ้าเกิดมีการระบาดในวงกว้างมันก็จะไม่สามารถที่จัดกลุ่มประเทศเสี่ยงได้อีก ซึ่งจะส่งผลต่อแผนการดึงคนเข้าประเทศอย่างแน่นอน

อย่างที่ทราบในขณะนี้ ไทยงดรับผู้ที่เดินทางจาก 8 ประเทศกลุ่มเสี่ยงสูง บอตสวานา เอสวาตินี เลโซโท มาลาวี โมซัมบิก นามิเบีย แอฟริกาใต้ และซิมบับเว แต่อนาคตมีแนวโน้มอาจจะมีเพิ่มขึ้น เพราะตอนนี้ข่าวการระบาดของโอไมครอนก็มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

 แม้ว่าประเทศไทยจะใช้กลยุทธ์อยู่ร่วมกับโควิด โดยได้ผ่อนคลายมาตรการต่างๆ และเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศมาเที่ยวในไทย แต่การปรากฏตัวของ "โอไมครอน" ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงแบบกะทันหัน ที่ยังไม่ได้นำมาใช้เป็นซีนาริโอในการคำนวณจำนวนนักท่องเที่ยว

หากวิเคราะห์จากแผนปี 2565 ของ ททท.ตั้งเป้ารายได้รวมการท่องเที่ยวไทยอยู่ที่ 1.5 ล้านล้านบาท เป็นการฟื้นตัวราว 50% ของปี 2562 บนเงื่อนไขจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงครึ่งหนึ่งเหลือ 20 ล้านคนจากปี 2562 ซึ่งปิดที่ตัวเลขเกือบ 40 ล้านคน โดยต้องการนักท่องเที่ยวคุณภาพมากขึ้น

แต่หลังจากการมาของโอไมครอน ที่หลายประเทศเริ่มกลับมาเข้มงวดการคัดกรองคนเข้า-ออกอีกครั้ง ก็เป็นปัจจัยที่ชะลอตัวเลขคนเดินทาง เพราะนักท่องเที่ยวก็ไม่อยากเจอความไม่แน่นอนของการต้องถูกกักตัว

ดังนั้นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ก็จะต้องเจอกับความท้าทายแรกที่มาเร็วกว่าที่คิด แน่นอนถ้าสุดท้ายเจ้าโอไมครอนมันไม่น่ากลัว และวัคซีนที่จะต่อสู้ได้ ความหวังที่จะทำตามแผนก็อาจจะเป็นไปได้

แต่ในแง่มุมของธุรกิจก็ยังเชื่อว่าพิษโควิด-19 กระทบกับธุรกิจการบินระยะยาว ล่าสุด นิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ได้ออกมาประเมินล่าสุด เชื่อว่าในปีหน้ามีปริมาณผู้โดยสารเหลือแค่ประมาณ 62 ล้านคน ลดลงจากเป้าหมายเดิมที่ 113 ล้านคน 

ดังนั้นเมื่อรัฐบาลได้วางเป้าหมายกับการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวถึงหลัก 1.5 ล้านล้าน สิ่งสำคัญก็คือต้องควบคุมความเสี่ยงในวงจำกัดมากที่สุด รวมถึงต้องทำงานเชิงรุกมากขึ้น ทั้งทางด้านการตลาด การป้องกันการระบาด การอำนวยความสะดวก มาตรฐานการบริการ และการสร้างบุคลากรทางการท่องเที่ยว รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ แอปพลิเคชันแบบใหม่ที่จะช่วยดึงดูด หรือสร้างฐานลูกค้าขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะต้องทำออกมาให้สอดคล้องกัน และเชื่อแน่ว่าจะช่วยรักษาระดับนักท่องเที่ยวให้กลับมาเดินทางเข้ามาเที่ยวเมืองไทยมากขึ้น.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แผนดันเศรษฐกิจไทยด้วยซอฟต์เพาเวอร์

ในช่วงปีที่ผ่านมา คนไทยมักจะได้ยินคำว่าซอฟต์เพาเวอร์ (Soft Power) อย่าหนาหู เพราะมีกระแสเกิดขึ้นมากมาย ทำให้ผลผลิต สินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการของไทยนั้นได้รับความนิยมมากขึ้น

ล้อมคอกแท็กซี่นอกรีต

ดูเหมือนว่าปัญหาแท็กซี่เอารัดเอาเปรียบผู้โดยสารจะกลับมาเป็นประเด็นร้อนแรงอีกครั้ง หลังจากโลกออนไลน์ได้มีการโพสต์ถึงพฤติกรรมแท็กซี่ไม่กดมิเตอร์-โก่งราคาผู้โดยสารชาวต่างชาติ หนักหนาสาหัสไปกว่านั้นคือไม่รับผู้โดยสารคนไทย ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นที่บริเวณอิมแพ็ค

ESGความยั่งยืนคือ“โอกาส”

ESG แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืนกำลังได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลกในปัจจุบัน และไม่ใช่แค่เทรนด์เท่านั้น เป็นแนวคิดระดับโลกที่ธุรกิจทุกขนาดจะต้องให้ความสำคัญ เพื่อให้โลกของเราอยู่ได้อย่างยั่งยืน และธุรกิจสามารถดำเนินต่อได้ในอนาคต โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบ 3 ด้านหลัก

ยังต้องจับตาดูเศรษฐกิจรอบโลก

ดูเหมือนว่าจะยังมีหลายสถานการณ์เกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ต้องเฝ้าจับตาดูในแต่ละประเทศ โดยเฉพาะทางฝั่งของสหรัฐ ที่เฟดเผยว่าอาจไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงมาก

การจัดตั้งรัฐบาลในม่านหมอก

ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับการเซ็น MOU ของ 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ซึ่ง MOU ฉบับนี้ถือเป็นข้อตกลงร่วมกันของรัฐบาลผสมที่นำโดยพรรคก้าวไกล โดยในเนื้อหาหลักของข้อตกลงนี้มีหลายประเด็น ทั้งในมิติด้านการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา สิ่งแวดล้อม และนโยบายด้านการต่างประเทศ