การจัดตั้งรัฐบาลในม่านหมอก

ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับการเซ็น MOU ของ 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ซึ่ง MOU ฉบับนี้ถือเป็นข้อตกลงร่วมกันของรัฐบาลผสมที่นำโดยพรรคก้าวไกล โดยในเนื้อหาหลักของข้อตกลงนี้มีหลายประเด็น ทั้งในมิติด้านการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา สิ่งแวดล้อม และนโยบายด้านการต่างประเทศ

ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของการเมืองไทย ที่มีการกำหนดข้อตกลงในลักษณะนี้ก่อนการจับมือกันตั้งรัฐบาล แต่ถึงแม้จะเป็นเรื่องใหม่หลายประเทศในยุโรปก็มีการดำเนินการในลักษณะแบบนี้มาแล้ว

อย่างไรก็ดีแม้ว่าทั้ง 8 พรรคร่วมจะมีการลงนามกันแล้วแต่มันไม่ได้มีผลผูกมัดทางกฎหมาย และไม่ได้เป็นการการันตีว่าพรรคก้าวไกลจะได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล

เนื่องจากยังมีด่านสำคัญอีกหลายประเด็นสำหรับพรรคก้าวไกลที่จะต้องฝ่าไปให้ได้ นั่นก็คือ 1.เรื่องคุณสมบัติ ส.ส.ของหัวหน้าพรรคอย่างนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ที่ติดปมเรื่องการถือหุ้น ITV ซึ่งเป็นหุ้นสื่อ เรื่องนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งเป็นดาบแรกที่นายพิธาและพรรคก้าวไกลจะต้องเจอ

2.ยังเป็นการฝ่าด่านการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีที่จะต้องรวบรวมเสียงทั้ง ส.ส.และ ส.ว.ให้ได้อย่างน้อย 376 เสียง ซึ่งเรื่องนี้จะมองว่าง่ายก็ง่าย ยากก็ยาก เพราะมันมีประเด็นที่หลายฝ่ายกังวล อย่างการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112

ทั้งหมดยังเป็นอุปสรรคสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคก้าวไกล

ขณะเดียวกันก็มีกระแสข่าวลือหนาหูว่า พรรคเพื่อไทยเองซึ่งมีเสียง ส.ส.เป็นอันดับ 2 ก็กำลังฟอร์มทีมรัฐบาลแข่ง โดยมีทักษิณ ชินวัตร เป็นโต้โผใหญ่ที่กำลังเจรจากับขั้วรัฐบาลเดิม ทั้งภูมิใจไทย พลังประชารัฐ ซึ่งกรณีนี้แม้มีหลายฝ่าย โดยเฉพาะนายทักษิณออกมาปฏิเสธ แต่ก็ไม่สามารถตัดประเด็นนี้ออกไปได้

ดังนั้น ในขณะนี้ประเทศไทยของเราก็ถือว่ายังมีความไม่แน่นอน และการเมืองยังขาดเสถียรภาพค่อนข้างมาก จึงไม่แปลกใจที่สิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นความกังวลในม่านหมอก ทำให้บรรยากาศการลงทุนในประเทศค่อนข้างซึม ซึ่งความไม่แน่นอนทางการเมืองจะยังคงเป็นปัจจัยถ่วงอยู่จนกว่าจะมีการเปิดสภาที่คาดว่าจะเป็นช่วงต้นเดือนมิถุนายน ในขณะเดียวกัน MOU ก็เป็นการแสดงรายละเอียดอย่างกว้างๆ และไม่ได้ลงลึกถึงแนวทางนโยบายด้านเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้นจึงยังไม่ได้เห็นถึงแผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชัดเจนที่นักลงทุนหลายฝ่ายเฝ้ารอแน่ๆ ขณะเดียวกันการจัดตั้งรัฐบาลล่าช้าก็จะส่งผลต่อการจัดการงบประมาณ และการใช้จ่ายภาครัฐที่คาดว่าจะหยุดชะงักตามไปด้วย

แต่ในมุมมองของนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น หากมีปัญหาการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ล่าช้า ว่า มุมมองการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นเรื่องของปัจจัยภายนอกมากกว่าที่จะเข้ามากระทบ ส่วนปัจจัยภายใน ในแง่การบริหารเศรษฐกิจมีความเข้มแข็งอยู่แล้ว อัตราการเติบโตแม้ว่าตัวเลขจะไม่ได้สูงมากนัก แต่ในแง่เสถียรภาพ ทั้งด้านการคลังและด้านการเงินอยู่ในเกณฑ์ดี ต่างชาติมีความเชื่อมั่นเรื่องโครงสร้างเศรษฐกิจและเสถียรภาพการคลังของประเทศ

เศรษฐกิจและการเมืองเป็นเรื่องที่ตัดกันไม่ขาด ดังนั้นต้องจับตาว่าผลสุดท้ายแล้ว ประเทศไทยจะได้ใครมาเป็นผู้บริหารประเทศ.

 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว

ดันสงกรานต์ไทยสู่เทศกาลโลก

หลังจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงมหาดไทย จับมือจัดงาน “Maha Songkran World Water Festival 2024 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567”