ปัจจัยลบฉุดคนไข้ต่างชาติ...ชะลอ

ดูเหมือนว่าในช่วงที่เหลือของปี 2566 ต่อเนื่องถึงปี 2567 รายได้คนไข้ต่างชาติ ซึ่งรวมคนไข้ต่างชาติที่ทำงานในไทย และคนไข้ที่เดินทางจากต่างประเทศเข้ามารับการรักษาของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (SET) น่าจะเติบโตชะลอลง ส่วนหนึ่งเป็นผลของการทยอยปรับฐานสู่สถานการณ์ก่อนโควิด-19 และภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว กระทบต่อกำลังซื้อของคนไข้ต่างชาติบางส่วน

จากปัจจัยข้างต้นทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า รายได้คนไข้ต่างชาติรวมของโรงพยาบาลเอกชนในปี 2567 น่าจะอยู่ที่ประมาณ 5.7 หมื่นล้านบาท ขยายตัวราว 8.0-10.0% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา นับว่าเติบโตชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 2565-2566 ที่ขยายตัวได้ดี ซึ่งเป็นการปรับฐานสู่สถานการณ์ก่อนโควิด-19 แต่ในระยะข้างหน้าก็ยังต้องติดตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ประกอบกับนโยบายดึงดูดนักท่องเที่ยวและการลงทุนจากต่างชาติของรัฐบาล ซึ่งจะส่งผลต่อรายได้และจำนวนคนไข้ต่างชาติในปี 2567 อีกด้วย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า รายได้จากคนไข้ที่เดินทางจากต่างประเทศน่าจะทยอยฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป และน่าจะมีสัดส่วนรายได้ในปี 2567 ราว 49% ของรายได้คนไข้ต่างชาติรวม ขณะที่สัดส่วนรายได้คนไข้ต่างชาติที่พำนักในประเทศไทยจะอยู่ที่ 51% ของรายได้คนไข้ต่างชาติรวม โดยจำนวนคนไข้ต่างชาติจะอยู่ที่ราว 3.07 ล้านคน/ครั้ง ซึ่งทยอยฟื้นตัวต่อเนื่องจากช่วงโควิด-19 แต่ยังให้ภาพการเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป

มาดูกันว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่กำลังกดดันกำลังซื้อและการตัดสินใจเดินทาง โดยตลาดคนไข้จากต่างประเทศในปี 2567 ยังมีคนไข้หลัก 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.ชาวตะวันออกกลางที่มีความจำเป็นทางการแพทย์ และ 2.คนไข้ในอาเซียน นอกจากชาวกัมพูชาและเมียนมากลุ่มที่มีกำลังซื้อแล้ว ยังมีคนไข้เวียดนามและอินโดนีเซียที่เป็นตลาดขนาดใหญ่ สำหรับการกลับมาของคนไข้จีนนั้นยังต้องติดตามประเด็นความเชื่อมั่นในการเดินทาง และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่อาจส่งผลให้นักท่องเที่ยวบางส่วนชะลอการเดินทางไปต่างประเทศ ส่วนคนไข้ต่างชาติที่อยู่ในไทยเดินทางกลับเข้ามาหลังโควิด-19 คลี่คลาย และมีโอกาสเติบโตในพื้นที่เศรษฐกิจ อย่างชลบุรี ระยอง สมุทรปราการ แต่ยังต้องติดตามผลของนโยบายดึงดูดการลงทุนและการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของภาครัฐ จะมีผลต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนของธุรกิจต่างชาติ และส่งผลต่อจำนวนคนไข้ต่างชาติที่อยู่ไทยในอนาคต 

นอกจากปัจจัยกดดันการเดินทางมารักษาพยาบาล มองไปข้างหน้าโรงพยาบาลเอกชนยังมีการแข่งขันสูง จากทั้งผู้เล่นรายใหม่ในประเทศที่ขยายธุรกิจสู่บริการทางการแพทย์มากขึ้น และการแข่งขันกับ Medical Hub ในภูมิภาคอย่างมาเลเซียและสิงคโปร์ อย่างไรก็ตามไทยก็มีการยกระดับบริการทางการแพทย์อย่างต่อเนื่องและมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ อีกทั้งมีข้อได้เปรียบด้านค่ารักษาพยาบาลที่แข่งขันได้ นอกจากนี้ธุรกิจยังมีความท้าทายในการบริหารจัดการต้นทุนที่ยังยืนตัวสูง ซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ ความสามารถการทำกำไรของผู้ประกอบการแต่ละรายในระดับที่แตกต่างกัน 

จะเห็นได้ว่า ธุรกิจโรงพยาบาลที่ยังต้องพึ่งพารายได้จากต่างชาติยังคงมีความท้าทายในระดับหนึ่ง เนื่องจากในแต่ละประเทศก็ยังมีสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์ให้ต้องติดตามกันอยู่ ทำให้กำลังซื้อที่เคยดีก่อนหน้า และทำให้ธุรกิจโรงพยาบาลเติบโตอยู่มาก อาจจะมีการชะลอตัวไปบ้าง และมีผลต่อการตัดสินใจเดินทางเข้ามายังประเทศไทย รวมถึงในแง่ของการแข่งขันเองก็ค่อนข้างรุนแรง มีผู้ที่ต้องการเข้ามาเล่นในตลาดเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับประเทศไทยยังนับว่ามีจุดแข็งและมีความพร้อมหลายด้าน ทำให้ยังสามารถแข่งขันกับธุรกิจโรงพยาบาลประเทศอื่นๆ ได้ และยังคงต้องจับตาดูภาพรวมของธุรกิจโรงพยาบาลในปีหน้าว่าจะมีทิศทางอย่างไร.  

 

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งแก้ “แต่ไร้ผล”

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานานหลายปี โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ที่เมื่อความกดอากาศสูง มีกำลังอ่อนลง และเมื่อลมสงบ ประกอบกับการผกผันกลับของอุณหภูมิในอากาศ จะส่งผลทำให้เกิดสภาพอากาศร้อนด้านบนกดทับอากาศเย็นเหมือนมีฝาครอบ

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

30@30 โอกาส SME

สำหรับนโยบาย 30@30 เป็นที่พูดถึงมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 จนมาถึงปัจจุบันที่นวัตกรรมและเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทยแพร่หลายมากขึ้น และ EV ทั่วโลกกำลังตื่นตัวและก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

Gen AI ความท้าทายยุคใหม่

การก้าวตามเทคโนโลยีใหม่อย่าง Generative AI ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายและน่ากลัว โดยไม่มีใครรู้เลยว่าบริษัทที่ใช้แนวทาง "รอดูไปก่อน" จะถูกทิ้งไว้ข้างหลังในขณะที่ระบบดิจิทัลเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเริ่มต้นของโควิด-19