เจาะพฤติกรรมคนไทยกับตลาดเครื่องดื่ม

แม้ว่าในช่วงนี้อุณหภูมิจะลดลงไปบ้าง เพื่อให้คนไทยได้สัมผัสลมหนาว แต่ก็ต้องยอมรับว่าก่อนหน้านี้ประเทศไทยเผชิญกับอุณหภูมิที่สูงทุบสถิติในฤดูร้อนปี 2566 โดยมีรายงานว่าร้อนทะลุปรอทถึง 45.5 องศาเซลเซียสกันเลยทีเดียว แน่นอนว่าในช่วงที่อากาศร้อนจัดเช่นนี้ผู้บริโภคมักหันมาดื่มน้ำเพื่อดับกระหาย ซึ่งผลการศึกษาล่าสุดจากมินเทล (Mintel) เผยให้เห็นว่า คนไทย 70% พยายามดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยพยายามเพิ่มน้ำให้กับร่างกายเมื่อเผชิญกับสภาพอากาศที่ท้าทาย

คลื่นความร้อนที่ไม่เคยมีมาก่อนในไทยปีนี้ยังจุดประกายให้เกิดการพูดคุยเรื่องเครื่องดื่มมากขึ้น โดยเครื่องมือโซเชียลลิสเทนนิงอย่างอินเฟจี แอตลาส พบว่าเครื่องดื่มมีอิมเพรสชันประมาณ 780,000 ครั้งนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566 

และการพูดคุยที่เพิ่มขึ้นนี้มีขึ้นในขณะที่ไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนและมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคชาวไทยพยายามมองหาวิธีคลายร้อน และแสดงความรู้สึกเชิงบวกเกี่ยวกับเครื่องดื่ม

ในเรื่องนี้ รัชมีกา คานีโย นักวิเคราะห์อาวุโส แผนกอาหารและเครื่องดื่ม มินเทล รีพอร์ท ประเทศไทย กล่าวว่า รายงานวิเคราะห์เทรนด์วงการอาหารและเครื่องดื่มทั่วโลกประจำปี 2566 ของมินเทลนั้น มอบข้อมูลให้แบรนด์ต่างๆ นำไปใช้ เพื่อช่วยให้ผู้บริโภครับมือกับสภาพอากาศที่รุนแรงมากขึ้นได้ โดยเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์น่าจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการให้ความสดชื่นและฟื้นฟูร่างกาย ซึ่งส่วนผสมที่มีมูลค่าเพิ่มบางส่วนที่ควรจับตามองนั้นมีทั้งอิเล็กโทรไลต์และสมุนไพรคลายร้อน ซึ่งต้านทานผลกระทบที่ความร้อนมีต่อร่างกายได้

คุณภาพอากาศที่ย่ำแย่ก็กำลังกลายเป็นเรื่องน่ากังวลเนื่องด้วยอุณหภูมิร้อนจัดอย่างที่ไทยกำลังเผชิญ ส่วนผสมที่น่าจับตามองคือส่วนผสมที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยให้ร่างกายรับมือกับสภาวะเช่นนี้ได้ โดยในปี 2566 นั้น เครื่องดื่มอัดลม (70%) น้ำดื่มบรรจุขวด (67%) และกาแฟพร้อมดื่ม (60%) เป็นเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์อันดับต้นๆ ในใจผู้บริโภค นอกจากนี้ผลสำรวจยังเผยให้เห็นโอกาสที่เป็นไปได้สำหรับเครื่องดื่มไฮบริด โดยผู้บริโภค 47% แสดงความสนใจที่จะลองดื่ม

แน่นอนว่าแบรนด์ต่างๆ มีโอกาสที่จะดึงดูดความสนใจด้วยการนำกาแฟและน้ำผลไม้มาผสมกัน หรือที่เรียกว่า 'จอฟฟี' (joffee) ซึ่งเป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวเพื่อดึงดูดผู้บริโภคชาวไทย ผลการศึกษาของเราระบุว่า ชาวกรุงเทพฯ 58% (เทียบกับ 47% ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด) รู้จักและสนใจลองเครื่องดื่มไฮบริด ซึ่งสำหรับแบรนด์แล้วนี่เป็นโอกาสในการพัฒนาเครื่องดื่มน้ำผลไม้ผสมกาแฟที่มีรสชาติที่โดนใจผู้บริโภค

ขณะเดียวกัน ยังดูเหมือนว่าผู้บริโภคชาวไทยให้ความสำคัญกับคุณค่าต่อสุขภาพมากกว่ารสชาติ หรือประมาณ 35% เทียบกับ 22% เมื่อซื้อเครื่องดื่ม และปัจจุบันไม่มีรสชาติกลุ่มใดที่ถูกมองว่ามีประโยชน์ เมื่อคุณประโยชน์ต่อสุขภาพเข้ามามีความสำคัญมากกว่ารสชาติ การผสมผสานรสชาติและประโยชน์เข้าด้วยกันจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้เครื่องดื่มดึงดูดผู้บริโภคและสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้

นอกจากนี้คนไทยกลุ่ม Gen X มีแนวโน้มเลือกเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าคนรุ่นอื่นๆ เช่น 43% ของผู้บริโภคที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ชอบเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ที่มีน้ำตาลต่ำ ไม่มีน้ำตาล ลดน้ำตาล เมื่อเทียบกับ 33% ในกลุ่ม Gen Z แบรนด์จะดึงดูดคนกลุ่มเจนเอ็กซ์ได้ เมื่อเสนอตัวเลือกที่เน้นเรื่องสุขภาพพร้อมสรรพคุณที่มีประโยชน์และเป็นที่ยอมรับ ซึ่งในภาพรวมนั้นคนไทยเกือบครึ่งชอบเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมที่ทราบกันว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ สิ่งนี้ตอกย้ำว่าผู้บริโภคชาวไทยอ่านรายการส่วนผสมเครื่องดื่มอย่างจริงจัง และมองหาตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพของตนเอง

แม้ Gen Z จะเป็นกลุ่มที่นิยมบริโภคเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์มากที่สุดในไทย แต่ยังตามหลังกลุ่มอายุอื่นๆ ในบางหมวดหมู่ เช่น น้ำดื่มบรรจุขวด กาแฟพร้อมดื่ม น้ำวิตามิน และเครื่องดื่มทดแทนมื้ออาหาร โดยผลการศึกษาของมินเทลนั้นสะท้อนให้เห็นโอกาสที่ยังไม่ได้มีการสำรวจอย่างจริงจังสำหรับแบรนด์ต่างๆ ในกลุ่มนี้ และดูเหมือนว่าแบรนด์เครื่องดื่มมีโอกาสในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ โดยใช้รสหวานเจาะกลุ่ม Gen Z ผลการศึกษาของมินเทลแสดงให้เห็นว่าชาวไทยกลุ่มนี้มากกว่า 1 ใน 3 ชอบเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ที่มีรสหวานมากกว่ากลุ่มอื่นๆ อีกด้วย.

 

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งแก้ “แต่ไร้ผล”

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานานหลายปี โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ที่เมื่อความกดอากาศสูง มีกำลังอ่อนลง และเมื่อลมสงบ ประกอบกับการผกผันกลับของอุณหภูมิในอากาศ จะส่งผลทำให้เกิดสภาพอากาศร้อนด้านบนกดทับอากาศเย็นเหมือนมีฝาครอบ

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

30@30 โอกาส SME

สำหรับนโยบาย 30@30 เป็นที่พูดถึงมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 จนมาถึงปัจจุบันที่นวัตกรรมและเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทยแพร่หลายมากขึ้น และ EV ทั่วโลกกำลังตื่นตัวและก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

Gen AI ความท้าทายยุคใหม่

การก้าวตามเทคโนโลยีใหม่อย่าง Generative AI ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายและน่ากลัว โดยไม่มีใครรู้เลยว่าบริษัทที่ใช้แนวทาง "รอดูไปก่อน" จะถูกทิ้งไว้ข้างหลังในขณะที่ระบบดิจิทัลเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเริ่มต้นของโควิด-19