หัวลำโพงยังเปิดให้บริการ

ถือเป็นประเด็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ กรณีการเดินขบวนรถเข้า-ออกสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ที่ก่อนหน้านี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีแผนว่าจะหยุดเดินรถไฟจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศเข้าสู่หัวลำโพงในวันที่ 23 ธ.ค.ที่ผ่านมา เหลือไว้เพียงรถไฟชานเมือง 22 ขบวน โดยได้ชี้แจงว่าเป็นแนวคิดดั้งเดิมตั้งแต่อดีตที่จะมีการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อแล้ว ไม่ใช่เรื่องใหม่ และไม่เคยมีแนวคิดที่จะยุติการเดินรถเข้าสถานีหัวลำโพง เพียงแต่จะต้องมีการปรับเปลี่ยน แต่จะปรับอย่างไรให้เหมาะสมที่สุด

สำหรับประเด็นปัญหานี้ นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่า รฟท. ได้ออกมาแถลงชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ขณะนี้ รฟท.จะเดินรถแบบเดิมที่ให้รถไฟทั้ง 118 ขบวนเดินรถเข้าหัวลำโพงทุกขบวนตามปกติไปก่อน และตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค.64 จะยังให้บริการรถไฟทางไกลที่สถานีกลางบางซื่อด้วย

เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ขณะนี้ รฟท.จึงยังเปิดเดินรถเข้าหัวลำโพงแค่ 80 ขบวน ได้แก่ รถไฟเชิงพาณิชย์ 40 ขบวน และรถไฟเชิงสังคม 40 ขบวน มีผู้โดยสารใช้บริการสถานีหัวลำโพงประมาณวันละ 1 หมื่นคน

แต่หากสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น จะทยอยเปิดให้บริการจนครบ 118 ขบวน อย่างไรก็ตามสำหรับผู้โดยสารที่ซื้อตั๋วล่วงหน้าที่มีต้นทาง-ปลายทางที่สถานีกลางบางซื่อ หรือชุมทางบางซื่อไปก่อนหน้านี้ ให้สามารถใช้ตั๋วดังกล่าวขึ้นลงที่สถานีหัวลำโพง และสถานีสามเสนได้ ส่วนผู้ที่ซื้อตั๋วล่วงหน้าที่มีต้นทาง-ปลายทางที่สถานีดอนเมือง ให้สามารถใช้ตั๋วดังกล่าวขึ้น-ลงที่สถานีบางเขน และสถานีหลักสี่ได้ โดยไม่เสียค่าใช้เพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ รฟท.ต้องจัดทำเช็กลิสต์กำหนดแนวทางการให้บริการเปลี่ยนถ่ายไปยังสถานีกลางบางซื่อ รวมถึงการเดินรถเส้นทางสายสีแดง ช่วงรังสิต-สถานีกลางบางซื่อ ของรถเชิงพาณิชย์และรถเชิงสังคมที่จะไม่เดินรถระดับดิน ให้มีการบริการต่างๆ ให้ครอบคลุมทุกมิติ รวมทั้งศึกษาภาระค่าใช้จ่ายกรณีที่ต้องเปิดเดินรถพร้อมกันทั้งสถานีกลางบางซื่อและสถานีหัวลำโพง ปัจจุบันสถานีกลางบางซื่อและสถานีรถไฟสายสีแดงมีค่าใช้จ่ายประมาณเดือนละ 40 ล้าน โดยสถานีหัวลำโพงมีค่าใช้จ่ายเดือนละประมาณ 10 ล้านบาท ขณะที่การเช็กลิสต์ต้องแล้วเสร็จภายในเดือน ม.ค.2565

ส่วนเรื่องการพัฒนาสถานีหัวลำโพง ทาง รฟท.ย้ำว่าเป็นแนวคิดที่มีมานานแล้ว ซึ่งต้องมีการพัฒนาไม่มากก็น้อย รฟท.จะไม่ยอมปล่อยให้ทิ้งร้างอย่างแน่นอน และจะมีการรับฟังความคิดเห็นประชาชนก่อน ส่วนในภาพที่มีตึกเป็นแท่งสูง เป็นเพียงภาพออกแบบเบื้องต้น ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะทำแบบใด กรณีที่พูดกันว่าจะยกให้เจ้าสัว เป็นข้อมูลเท็จ ทำให้ รฟท.เสียหาย ประชาชนเข้าใจผิด โดยยืนยันว่าการพัฒนาสถานีหัวลำโพงยังไม่มีการตัดสินใจใดๆ ต้องฟังความเห็นก่อนว่าอยากเห็นหัวลำโพงเป็นอย่างไร และต้องให้การเดินรถเข้าหัวลำโพงมีความชัดเจนก่อน ส่วนการดำเนินการใดๆ จะต้องศึกษา ต้องทำผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ก่อน

ล่าสุด ขณะที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ได้ส่งหนังสือแสดงความขอบคุณถึงนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม และนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่า รฟท. รวมทั้งผู้บริหารในกระทรวงคมนาคม และ รฟท.ยอมรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะของ สร.รฟท. ความเห็นนักวิชาการและเสียงสะท้อนจากภาคประชาชน ด้วยความห่วงใย และเร่งสั่งการให้ผู้เกี่ยวข้องยุตินโยบายดังกล่าวไปก่อน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความเดือดร้อนที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนต่อไปในอนาคต

หลังจากนี้ ต้องติดตามว่า รฟท.จะดำเนินการอย่างไรต่อในปี 2565 สำหรับแผนการให้บริการเดินรถที่สถานีหัวลำโพง ซึ่งต้องบอกว่าสิ่งที่ รฟท.มีความกังวลคือเรื่องของต้นทุนกรณีที่มี 2 สถานีใหญ่ คือทั้งหัวลำโพงและสถานีกลางบางซื่อ ก็เป็นเหตุผลหนึ่งในการพิจารณาแผนการเดินรถ

นอกจากนี้ สถานีหัวลำโพงออกมากว่า 100 ปีแล้ว ไม่รองรับเรื่องความแออัด ห้องน้ำมีไม่พอบริการ แน่นอนว่าการให้บริการที่สถานีกลางบางซื่อนั้น รฟท.ได้ชี้แจงว่ามีการออกแบบ มีฟังก์ชันรองรับการอำนวยความสะดวกอย่างครบครัน ซึ่งในการพิจารณารายละเอียดการพัฒนาสถานีหัวลำโพงจะมีอีกหลายส่วน แต่ต้องหาโซลูชันที่ดีและเหมาะสมที่สุด

ที่สำคัญ รฟท.ได้ย้ำว่าไม่มีแนวคิดหยุดบริการหัวลำโพง ซึ่งเป็น 1 ใน 445 สถานีทั่วประเทศ โดยจะให้มีบริการรถเชิงสังคมเพื่อเชื่อมบางซื่อ และที่สำคัญการพัฒนาสถานีหัวลำโพงจะไม่มีการทุบ การรื้ออย่างแน่นอน!.

กัลยา ยืนยง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กระตุ้นเศรษฐกิจได้ ต้องแก้ที่โครงสร้าง

เรียกว่า 'ช็อก' ทั้งรัฐบาล สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 1 ของประเทศไทย ที่ทางสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยออกมาเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าจีดีพีของไทยเรา ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวได้เพียง 1.5% ลดลงเมื่อเทียบกับการขยายตัว 1.7% ในไตรมาสที่ 4 ของปีก่อน

"ขึ้นค่าแรง"เอกชนห่วงธุรกิจป่วน

“การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ” ยังเป็นประเด็นที่น่าจับตามอง เพราะฝั่งรัฐบาลยังคงยืนยันที่จะเดินหน้าตามนโยบาย โดย พิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน ยืนยันชัดเจนว่า ในวันที่ 1 ต.ค.2567

ปั้น‘โปรตีนทางเลือก’เชิงพาณิชย์

ปัจจุบัน อาหารแพลนต์เบสในประเทศไทยเริ่มมีมากขึ้น เทรนด์ของคนที่หันกลับมากินอาหารเพื่อสุขภาพก็มีเพิ่มขึ้น จึงทำให้เป็นการผลักดันภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารเพื่อสุขภาพ

อุบัติเหตุหรือละเลย

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะพบว่ามีข่าวเกี่ยวกับการลักลอบนำกากอุตสาหกรรมไปทิ้งตามสถานที่ต่างๆ หลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร, ลพบุรี, สุพรรณบุรี, เพชรบุรี, ชลบุรี ฯลฯ ซึ่งขยะเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน แม้ว่าที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้าไปตรวจสอบและแก้ไขปัญหา แต่ก็ดูเหมือนว่ายังเป็นการแก้ที่ปลายเหตุเท่านั้น

ลุ้นแจ้งเกิดให้บริการซีเพลน

จากนโยบาย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งทางอากาศ ผลักดันการปฏิบัติการบินอากาศยานทางทะเล หรือ Seaplane Operations เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว

แนะSME“ปรับเปลี่ยน”เพื่อ“ไปต่อ”

สถานการณ์ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก โดย แสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ระบุว่า ภาพรวมของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีขณะนี้ยังน่ากังวล เพราะยังคงไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้