เปิดเทรนด์การใช้รถยนต์ตลาดไทย

ในช่วงที่ผ่านมา ไทยพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์สันดาปภายใน (ICE) เป็นหลัก แต่ Disruptive Technology อย่างรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ที่เข้ามาผ่านกระแสพลังงานสะอาดและการหนุนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดังกล่าวในไทยของภาครัฐ ได้ทำให้ค่ายรถหันมาพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ล้วน (BEV) กับรถยนต์ใช้น้ำมันร่วมกับระบบไฟฟ้า (HEV & PHEV) ในไทยมากขึ้น โดยยอดขายในประเทศของรถยนต์ BEV และ HEV & PHEV มีทิศทางปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เห็นได้ชัดจากส่วนแบ่งในตลาดที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน

ซึ่งในปี 2567 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ก็คาดว่ารถยนต์ BEV และ HEV & PHEV น่าจะมีส่วนแบ่งตลาดในไทยเพิ่มขึ้นไปสู่ 15% และ 16% ตามลำดับ

โดยส่วนแบ่งตลาดของรถยนต์ BEV และ HEV & PHEV ในกลุ่มรถยนต์นั่งก็คาดว่าจะเพิ่มขึ้นไปถึง 28% และ 31% ตามลำดับ ในขณะที่รถปิกอัพมีประเด็นเรื่องเทคโนโลยีและต้นทุนทำให้กว่าจะได้เห็นความก้าวหน้าที่ชัดเจนก็คงเป็นช่วงตั้งแต่ปีนี้ไป เริ่มจากปิกอัพ HEV & PHEV แล้วค่อยขยับสู่ปิกอัพ BEV ในอนาคต

ในส่วนขจองตลาดโลกก็มีการนำเข้ารถยนต์ BEV และ HEV&PHEV เพิ่มขึ้น โดยใน 3 ไตรมาสแรกของปี 2566 พบว่าค่าเฉลี่ยการนำเข้ารถยนต์ BEV และ HEV&PHEV รวมกัน ขยับสัดส่วนขึ้นมาที่ 15% ของการนำเข้ารถยนต์รวมทั้งหมดทั่วโลก จากระดับ 5% เมื่อ 5 ปีก่อน แล้วยิ่งเมื่อพิจารณาเฉพาะตลาดส่งออกหลักของไทยจะพบว่าหลายตลาดเพิ่มการนำเข้ารถยนต์ 2 กลุ่มนี้จากฐานผลิตต่างๆ ทั่วโลกในสัดส่วนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก จึงเป็นโอกาสให้ไทยผลิตรถยนต์ BEV และ HEV & PHEV เพื่อส่งออกไปยังตลาดเหล่านี้ได้เพิ่มขึ้น โดยช่วงแรกเน้นพัฒนาในรูปแบบรถยนต์นั่งตามตลาดในประเทศ และอนาคตพัฒนาเพิ่มสู่ปิกอัพ BEV และ HEV & PHEV ต่อไป อาศัยจุดแข็งที่ไทยเป็นฐานผลิตปิกอัพเพื่อส่งออกระดับโลกอยู่

แม้ระยะนี้กระแสพลังงานสะอาดในไทยจะมุ่งไปทั้งรถยนต์ BEV และรถยนต์ HEV & PHEV ทำให้เห็นภาพการเติบโตไปด้วยกัน แต่ระยะข้างหน้ามีโอกาสที่ความต้องการรถยนต์ BEV จะเพิ่มขึ้นอีกทั้งในไทยและตลาดนำเข้าของไทย ส่งผลให้ปริมาณการผลิต BEV โดยหลายค่ายในจีนมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อปริมาณการผลิตรถยนต์ใช้น้ำมันในไทยให้อยู่ในช่วงขาลง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในปี 2573 (ปีที่รัฐตั้งเป้าผ่านนโยบาย 30@30 ว่า ไทยจะมีสัดส่วนการผลิตรถยนต์ BEV ที่ 30%) การผลิตรถยนต์ใช้น้ำมันและรถยนต์ HEV & PHEV ในไทยอาจเหลือส่วนแบ่งเพียง 72% ลดลงจากที่คาดว่าจะมีส่วนแบ่ง 96% ในปีนี้บนเงื่อนไขที่ Ecosystem ของ BEV ได้รับการพัฒนาจนสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นตามลำดับสำหรับผู้ใช้รถ BEV 3

ดังนั้น ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ใช้เฉพาะรถยนต์ใช้น้ำมัน โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องยนต์และชิ้นส่วนระบบส่งกำลังที่มีอยู่มากกว่า 350 รายในประเทศจะได้รับผลกระทบ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่ามูลค่าชิ้นส่วนที่ใช้เฉพาะกับรถยนต์ใช้น้ำมันจะหดตัวด้วยอัตราเฉลี่ยที่ 1.7% ต่อปี จากในปี 2567 ที่ 287,700 ล้านบาท มาอยู่ที่ 252,060 ล้านบาทในปี 2573 โดยกำหนดให้ราคาชิ้นส่วนต่างๆ คงที่

อย่างไรก็ตาม ระดับผลกระทบต่อธุรกิจผลิตชิ้นส่วนเฉพาะรถยนต์ใช้น้ำมันแต่ละรายจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าผู้ประกอบการผลิตสินค้าเพื่อป้อนใครและมีการกระจายตัวของคำสั่งซื้อมากน้อยเพียงใด โดยกลุ่มที่ผลิตชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์นั่งใช้น้ำมันและป้อนค่ายรถที่เน้นขายในตลาดประเทศมาก จะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบเร็วและรุนแรงก่อนกลุ่มอื่นๆ นอกจากนี้ ในอีกด้านหนึ่งก็ยังต้องติดตามว่าการลงทุน BEV ในไทยจะสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยได้มากน้อยเพียงใดเช่นกัน

ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมา โร โมชัน (Rho Motion) บริษัทวิจัยทางการตลาด ระบุไว้ว่า ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ (BEV) และรถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) ทั่วโลกเติบโตมากขึ้น 31% ในปี 2566 แต่นับว่าชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปี 2565 ซึ่งมียอดขายเพิ่มขึ้นถึง 60% โดย นายชาร์ลส์ เลสเตอร์ ผู้จัดการฝ่ายข้อมูลของโร โมชัน กล่าวว่า เมื่อปีที่แล้วจะเห็นได้ว่ายอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกส่วนใหญ่สอดคล้องกับเป้าหมายการเติบโตที่ 30% ที่โร โมชัน ได้เคยคาดการณ์ไว้ ส่วนปี 2567 คาดว่ายอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกจะเติบโตขึ้นระหว่าง 25-30%.

 

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งแก้ “แต่ไร้ผล”

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานานหลายปี โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ที่เมื่อความกดอากาศสูง มีกำลังอ่อนลง และเมื่อลมสงบ ประกอบกับการผกผันกลับของอุณหภูมิในอากาศ จะส่งผลทำให้เกิดสภาพอากาศร้อนด้านบนกดทับอากาศเย็นเหมือนมีฝาครอบ

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

30@30 โอกาส SME

สำหรับนโยบาย 30@30 เป็นที่พูดถึงมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 จนมาถึงปัจจุบันที่นวัตกรรมและเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทยแพร่หลายมากขึ้น และ EV ทั่วโลกกำลังตื่นตัวและก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

Gen AI ความท้าทายยุคใหม่

การก้าวตามเทคโนโลยีใหม่อย่าง Generative AI ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายและน่ากลัว โดยไม่มีใครรู้เลยว่าบริษัทที่ใช้แนวทาง "รอดูไปก่อน" จะถูกทิ้งไว้ข้างหลังในขณะที่ระบบดิจิทัลเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเริ่มต้นของโควิด-19