ต้องลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศโลก นำไปสู่ภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรง ก่อให้เกิดการเผชิญหน้ากับปัญหาด้านสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมของคนทั่วโลก ดังนั้นปัญหาภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ทั่วโลกตื่นตัวและเริ่มมองหาทางออกที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ส่งผลให้ “พลังงานสะอาด” เริ่มถูกพูดถึงและเป็นที่สนใจในวงกว้าง ว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำคัญที่จะช่วยยับยั้งการเกิดวิกฤตโลกร้อนได้อย่างยั่งยืน

ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ในอนาคตข้างหน้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) หรือ GHG จะกลายมาเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนในการดำเนินธุรกิจและกำลังส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันในระยะข้างหน้า ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยกำลังพิจารณา พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ พ.ร.บ. Climate Change ที่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี 2567

ซึ่งจะมีการนำภาษีจากการปล่อย GHG หรือภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) มาใช้เพื่อควบคุมปริมาณการปล่อย GHG ของภาคอุตสาหกรรม ในขณะที่ในต่างประเทศ ธุรกิจส่งออกจะได้รับแรงกดดันจากมาตรการ EU-CBAM ที่จะมีผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในปี 2569 และจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมจากสินค้าที่มีการปล่อย GHG สูง

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า สัดส่วนการปล่อย GHG ในประเทศไทยส่วนใหญ่มาจากการใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติ น้ำมันและถ่านหิน ในการผลิตไฟฟ้า ขนส่ง การผลิต และจากกระบวนการในภาคอุตสาหกรรม จากกระบวนการผลิต เช่น CO2 จากการผลิตซีเมนต์ NO2 จากการผลิตปุ๋ย เป็นต้น โดยมีสัดส่วนสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก

นอกจากนี้ยังพบความเข้มข้นของการปล่อยคาร์บอน หรือ Emission Intensity ของบริษัทจดทะเบียนไทยในภาคสาธารณูปโภคและภาควัสดุ มีความเข้มข้นของการปล่อย GHG สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก โดยในภาคสาธารณูปโภคมีการผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลจากก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก่อให้เกิด GHG โดยสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าในประเทศจากพลังงานหมุนเวียนมีเพียง 7% เทียบกับทั่วโลกที่ 17% ส่วนบริษัทจดทะเบียนไทยในภาควัสดุที่มีการปล่อยมลพิษ เช่น การผลิตซีเมนต์ ปุ๋ย เหล็ก เป็นต้น

 อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังระบุว่า การผลิตซีเมนต์มีความเข้มข้นคาร์บอนมากที่สุดและสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก เนื่องจากกระบวนการผลิตมีการปล่อย GHG และยังไม่สามารถหากระบวนการหรือวัตถุดิบมาทดแทนเพื่อลด GHG ได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยเทคโนโลยีที่จะช่วยลดการปล่อยมลพิษของการผลิตซีเมนต์ ได้แก่ เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน หรือ CCUS ซึ่งจะใช้กระบวนการทางเคมีในการดักจับ CO2 ไม่ให้ออกสู่อากาศภายนอก แต่เทคโนโลยีดังกล่าวยังอยู่ในขั้นทดลองและใช้เงินลงทุนสูง อีกทั้งทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัว จึงยังไม่คุ้มค่าที่จะนำมาใช้

ในขณะที่การผลิตวัสดุอะลูมิเนียม เหล็ก ปุ๋ย เคมีเกษตร บรรจุภัณฑ์โลหะและแก้วของบริษัทจดทะเบียนไทย มีความเข้มข้นคาร์บอนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยโลก เนื่องจากการผลิตวัสดุดังกล่าวเป็นกระบวนการผลิตขั้นกลางและปลาย เมื่อเทียบกับปริมาณ GHG ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการต้นทาง

อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ธุรกิจในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า ได้แก่ กลุ่มโรงไฟฟ้า ซีเมนต์ เหล็ก ปุ๋ย และอะลูมิเนียม จะเผชิญกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดจากมาตรการของไทยและต่างประเทศ จาก พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ต้องรายงานปริมาณการปล่อย GHG ในขณะที่ในระยะยาว แรงกดดันด้านนโยบายจะรุนแรงมากขึ้นจากการการเก็บภาษีคาร์บอนในประเทศ การจ่ายค่าธรรมเนียม EU-CBAM

โดยภาครัฐควรแก้ไขกฎระเบียบเพื่อเปิดเสรีด้านพลังงานไฟฟ้า ส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงานสะอาด ให้เงินทุนสนับสนุนงานวิจัยสำหรับภาคอุตสาหกรรม และนำ Carbon Tax มาใช้ เพื่อจูงใจให้ธุรกิจและผู้บริโภคหันมาใช้สินค้า GHG ต่ำเช่นเดียวกับภาคเอกชนจะต้องลดการใช้จากเชื้อเพลิงฟอสซิล หันมาใช้ไฟฟ้าจากพลังงาน และใช้วัสดุ GHG ต่ำ หรือใช้วัสดุหมุนเวียน.

 

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งแก้ “แต่ไร้ผล”

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานานหลายปี โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ที่เมื่อความกดอากาศสูง มีกำลังอ่อนลง และเมื่อลมสงบ ประกอบกับการผกผันกลับของอุณหภูมิในอากาศ จะส่งผลทำให้เกิดสภาพอากาศร้อนด้านบนกดทับอากาศเย็นเหมือนมีฝาครอบ

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

เร่งกระตุ้นอสังหาฯ

อสังหาริมทรัพย์เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่ยาว ตั้งแต่ภาคการผลิตต่างๆ เช่น เหล็ก ซีเมนต์ การท่องเที่ยว ตลอดจนการเงิน หากภาพรวมอสังหาฯ ดีย่อมส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมใกล้เคียง แต่หากลบก็กระทบธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกที่ผลักดันให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น แต่ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และภาวะหนี้ครัวเรือนที่บั่นทอนกำลังซื้อในประเทศ ส่งผลกับภาคอสังหาฯ อย่างเห็นได้ชัด

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท