ทำใจราคาหมูแพงทั้งปี

ประเดิมปี 2565 ด้วยเสียงบ่นทั่วทั้งประเทศกับราคาเนื้อหมูที่ขยับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันราคาขายปลีกพุ่งเกินกิโลกรัมละ 200 บาท จนถึง 300 บาทในบางพื้นที่หรือช่องทาง

ราคาเนื้อสัตว์ซึ่งถือเป็นอาหารหลักของคนไทย ทะยานแบบไม่ไว้หน้า กับรายได้ที่ต่ำเตี้ยติดดิน ยิ่งกลายเป็นการซ้ำเติมค่าครองชีพของประชาชนในช่วงการระบาดของโควิด-19

ล่าสุด การประกาศตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือน ธ.ค.2564 เท่ากับ 101.86 เพิ่มขึ้น 2.17% อันเป็นสาเหตุจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของสินค้าในหมวดอาหารหลายรายการ รวมถึงราคาเนื้อสุกรด้วย

แน่นอนตอนนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายกำลังช่วยกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ดูเหมือนมันจะไม่สามารถจัดการปัญหานี้ได้ด้วยระยะเวลาอันสั้น อันเนื่องมาจากปัจจัยที่ทำให้หมูแพงมันเกี่ยวข้องกับหลักอุปสงค์-อุปทานที่ไม่สอดคล้องกัน

โดยตัวเลขเบื้องต้นจากกระทรวงพาณิชย์มีการประมาณการไว้ว่า ในปี 2564 มีการเลี้ยงสุกรป้อนเข้าสู่ตลาดประมาณ 19 ล้านตัว บริโภคในประเทศ 18 ล้านตัว ส่งออกไปต่างประเทศประมาณ 1 ล้านตัว คาดการณ์ว่าปี 2565 จะมีสุกรหายไปจากระบบ เหลือประมาณ 13 ล้านตัว จาก 19 ล้านตัว ซึ่งเป็นการบริโภคในประเทศประมาณ 18 ล้านตัว ทำให้ขาดสุกรประมาณ 5 ล้านตัวสำหรับการบริโภค

ทั้งนี้มีการพยายามแก้ปัญหาเบื้องต้นแล้ว ด้วยการสั่งห้ามส่งออกสุกรมีชีวิตเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค.2565 ถึงวันที่ 5 เม.ย.2565 เป็นการชั่วคราว ซึ่งจะช่วยให้มีหมูเป็นกลับเข้าสู่ระบบเพิ่มเติมประมาณ 1 ล้านตัว ซึ่งประเมินยังไงก็ไม่มีทางที่จะอุดรูรั่วที่หายไปและไปกดราคาเนื้อหมูลงมาได้ เรียกได้ว่าเป็นแค่การบรรเทา

ขณะเดียวกันยังมีปัญหาฐานรากที่ยังต้องได้รับการแก้ไข ทั้งเรื่อง ปัญหาโรคระบาดในสุกรที่กระจายเป็นวงกว้าง ยิ่งกดดันให้ปริมาณสุกรขาดตลาดมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังมีความเสี่ยงต่อโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (ASF) ที่กำลังแพร่ระบาดในประเทศเพื่อนบ้าน ต้นทุนการผลิตเนื้อสุกรปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งต้นทุนค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน และต้นทุนค่าอาหารสัตว์ซึ่งคิดเป็นกว่า 70% ของต้นทุนทั้งหมดก็ปรับเพิ่มขึ้น หรือปัญหาเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร โดยเฉพาะรายย่อยลดการเลี้ยงสุกรลง บางส่วนปิดกิจการหรืออาจจะยังไม่มีความมั่นใจที่จะกลับมาเลี้ยงสุกรเต็มกำลัง ทั้งหมดเป็นปัญหาหลักๆ ที่จะต้องมีการแก้ไข หรือได้รับการช่วยเหลือต่อไป

ตอนนี้ในเรื่องภาคการเงินก็มีเพียง ธ.ก.ส.ที่จัดเตรียมสินเชื่อพิเศษสำหรับเป็นทุนในการสนับสนุนการเลี้ยงสุกร การเพาะปลูกผลผลิตทางการเกษตรที่จำเป็นต่อการผลิตอาหารสัตว์ และการวางระบบการเลี้ยงที่เป็นมาตรฐานเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงจากปัญหาโรคระบาดที่มักจะเกิดขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณสุกรให้ออกสู่ตลาดได้มากขึ้น วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท

ซึ่งเชื่อว่า น่าจะต้องใช้เวลาสำหรับมาตรการสนับสนุนทางการเงิน ดังนั้นต้องยอมรับว่าปัญหาราคาหมูอาจจะไม่ใช่การแก้ปัญหาที่หมูๆ แน่

สอดรับกับทาง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่ประเมินว่ามาตรการต่างๆ ของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็น การห้ามส่งออก การช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในด้านต้นทุน และมาตรการทางการเงิน โครงการหมูธงฟ้า การขอความร่วมมือผู้ประกอบการค้าปลีกสมัยใหม่ในการตรึงราคา อาจจะมีส่วนช่วยลดราคาหมูได้เพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามคงต้องรอจนกว่าผลผลิตสุกรรอบใหม่จะเริ่มทยอยเข้าสู่ตลาดอย่างชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลัง ราคาเนื้อสุกรจึงจะย่อตัวลง

โดยราคาเนื้อสุกรเฉลี่ยตลอดทั้งปี 2565 น่าจะอยู่ที่ 190-220 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นราว 30% ซึ่งตัวเลขนี้ทำให้ผู้บริโภคจะต้องทำใจแล้วว่า เราจะไม่ได้กินหมูในราคาถูกแน่ๆ อย่างน้อยก็ 6 เดือนแรก อย่างไรก็คงจะต้องปรับตัว และหวังว่ามาตรการต่างๆ จะช่วยให้ทิศทางราคากลับมาดีขึ้น.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล