ปัญหาสินค้าจีนทะลักเข้ามาในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน กำลังกลายเป็นโจทย์ใหญ่สำหรับรัฐบาลและหน่วยงานราชการของแต่ละประเทศ ที่จะต้องหามาตรการในการดูแลผู้ประกอบการภายในประเทศ เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันได้ จนทำให้หลายธุรกิจต้องล้มหายตายจากไปในที่สุด
สำหรับประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในเป้าหมายที่ทางการจีนส่งสินค้าเข้ามาขาย ทั้งในรูปแบบนำเข้ามาขายผ่านระบบการค้าปกติ และขายในรูปแบบอีคอมเมิร์ซ อย่างที่ทราบ ไทยกับจีนเรามีข้อตกลงเขตการค้าเสรี ซึ่งสินค้าหลายประเภทไม่มีภาษีนำเข้า ส่งผลให้มีสินค้าทะลักเข้ามาในไทยอย่างมหาศาล และสินค้าเหล่านี้มีราคาที่ถูกจนสามารถแย่งมาร์เก็ตแชร์จากสินค้าในท้องถิ่นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ถ้ายังปล่อยไว้แบบนี้ จะทำให้ธุรกิจของคนไทยอาจถึงวันพังพินาศก็เป็นไปได้ อย่างที่เห็นตัวอย่างของโรงงานหลายแห่งที่ต้องปิดตัวลงไป
ต้องยอมรับจริงๆ ว่าสภาวการณ์ของไทยเวลานี้ เหมือนเมืองที่กำแพงป้องกันกำลังจะแตก สินค้าจำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นจากการผลิตที่มากเกินความต้องการในจีน กำลังหาช่องทางระบายออก จนเกิดเป็นการดัมพ์ราคาเข้ามาในหลายตลาด ทั้งกลุ่มสินค้าอุปโภค บริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ สินค้าเหล่านี้ทะลักเข้ามาผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ และแทรกซึมเข้ามาแบบไม่รู้ตัว เผลอแว่บเดียวก็เข้ามายึดตลาดในบ้านเราไปเสียแล้ว
แต่ตอนนี้ดูเหมือนรัฐบาลของไทยเริ่มมีการตระหนักรู้แล้วว่า คงจะปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมไม่ได้ เพราะแต้มต่อของผู้ประกอบการไทยไม่มีเลยเมื่อเทียบกับสินค้าจีนที่ทะลักเข้ามา โดยไม่มีการเสียภาษีทั้งศุลกากร ในส่วนภาษีนำเข้า รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งแตกต่างจากสินค้าที่ผลิตโดยคนไทย ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไปเต็มๆ
ล่าสุด ทางกระทรวงการคลังจึงได้ออกประกาศเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7% สินค้านำเข้าจากต่างประเทศที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1,500 บาท และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 ก.ค.ที่จะถึงนี้ ซึ่งเดิมทีไทยเราไม่เคยคิดจะเก็บภาษีจากส่วนนี้ เพราะต้องการอำนวยความสะดวกทางการค้า แต่ตอนนี้คงปล่อยปละแบบเดิมไม่ได้อีกแล้ว
มีข้อมูลจากกรมศุลกากรระบุว่า ปัจจุบันสินค้านำเข้าที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1,500 พันบาทนั้น มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วง 8 เดือนของปีงบประมาณ 2567 (ต.ค.66-พ.ค.67) พบว่ามีปริมาณสินค้าดังกล่าวราว 89 ล้านชิ้น คิดเป็นมูลค่าราว 2.7 หมื่นล้านบาท เติบโตกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 30-40% ซึ่งหากมีการจัดเก็บภาษีแวตดังกล่าว รัฐจะมีรายได้ราว 1.8 พันล้านบาท และคาดว่าทั้งปีงบประมาณ 2567 สินค้ากลุ่มนี้จะมีมูลค่าราว 3 หมื่นล้านบาท ดังนั้นหากคิดเป็นการจัดเก็บภาษีตลอดทั้งปีน่าจะอยู่ที่ราว 2.1 พันล้านบาท
หวังเหลือเกินว่า มาตรฐานนี้จะช่วยลดช่องว่างราคาสินค้าระหว่างผู้ผลิตในประเทศ พอจะสู้กับสินค้าจากจีนได้ แม้ว่าอาจจะช่วยอะไรไม่ได้มากนัก แต่ก็ยังดีกว่าปล่อยให้สินค้าจีนเข้ามาตีตลาดแบบนี้
แต่เมื่อเทียบกับความจริงจังของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ดูเหมือนมาตรการของประเทศเรานั้นดูเบาบางไปเลย โดยเฉพาะอย่างประเทศอินโดนีเซีย มีการออกคำสั่งห้ามซื้อขายสินค้าบนสื่อสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น TikTok, Facebook หรือ Instagram ตั้งแต่เมื่อปีก่อน เพื่อปกป้องธุรกิจในประเทศ ขณะเดียวกันก็มีแนวคิดจะเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน โดยตั้งกำแพงภาษี 100-200% เลยทีเดียว
แม้ว่ามาตรการของไทยจะเข้มข้นน้อยกว่า แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้ลงมือทำอะไรเลย และคงต้องมีการติดตามผลว่า เมื่อมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มนี้แล้ว จะสร้างผลดีต่อเศรษฐกิจของไทยอย่างไรบ้าง ต้องติดตามกันต่อไป.
ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม
เคลียร์ปมสถานีอยุธยา
เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2
แจกเงินหวังคะแนน
เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ
เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด
คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น
ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!
ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research