รัฐตื่นสกัดสินค้าจีน

มีเสียงบ่นดังๆ มาจากผู้บริโภค ผู้ประกอบการไทย ที่พบว่าตอนนี้ทำการค้าขายได้ยากมากๆ เนื่องจากถูกสินค้าจีนเข้ามาตีตลาดอย่างหนักหน่วง ซึ่งธุรกิจจีนที่เข้ามาก็มีทั้งแบบถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย ทั้งในรูปแบบเปิดร้านค้าขายในไทยอย่างชัดเจน และอีกส่วนก็เข้ามาค้าขายในแพลตฟอร์มออนไลน์

ด้วยจุดเด่นสินค้าที่มีราคาถูก จึงเข้ามากินส่วนแบ่งตลาดได้ค่อนข้างง่าย รวมถึงมีข้อได้เปรียบในเรื่องของภาษี ทำให้ผู้ประกอบการไทยเริ่มแข่งขันยากขึ้นทุกที

จึงไม่แปลกใจที่ตอนนี้ไทยขาดดุลการค้าจีนอย่างมหาศาล อย่างตัวเลขการค้าขายกับจีนช่วง 6 เดือนแรกของปี 67 มีการนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้นถึง 7.12% คิดเป็นมูลค่ากว่า 37,569.89 ล้านดอลลาร์ หรือราว 1.33 ล้านล้านบาท ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้าจากจีน 19,967.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 7.2 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.66%

เมื่อมาวิเคราะห์ถึงไส้ในจะพบว่า แนวโน้มการขาดดุลการค้ากับจีนมีแนวโน้มสูงขึ้น สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างการส่งออกของไทยในภาพใหญ่ที่ไทยยังไม่มีอุตสาหกรรมใหม่ที่จะเข้ามาทดแทน และเป็นตัวขับเคลื่อนการส่งออกในระยะข้างหน้า ซึ่งแตกต่างจากความได้เปรียบของ จีนซึ่งผลิตสินค้าอย่างเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า รวมถึงสินค้าประเภทรถยนต์ ทั้งหมดเป็นสินค้าที่มีมาร์จิ้นสูง และเป็นสินค้าที่ไทยขาดดุลสูง

แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นที่น่าห่วงเท่ากับการทุ่มตลาดของสินค้าจีนในเวลานี้ ที่เข้ามาทุกช่องทาง รุนแรง และรวดเร็ว จนทำให้ผู้ประกอบการไทยถึงกับไปไม่เป็นเลยทีเดียว จนมีหลายฝ่ายเรียกร้องให้ทางรัฐบาลไทย ต้องเข้ามาเร่งจัดการควบคุมการทุ่มตลาดในครั้งนี้

ล่าสุด กระทรวงพาณิชย์ก็มีการนัดผู้ที่เกี่ยวข้อง 28 หน่วยงาน เพื่อวางแนวทางในการรับมือกับสินค้าจีน โดยผลในการหารือมีการกำหนดมาตรการ/แนวทางในการแก้ไขปัญหาและปกป้องผลประโยชน์ของผู้ผลิตและผู้ประกอบการในทุกมิติ แบ่งเป็น

1) ให้หน่วยงานบังคับใช้ระเบียบ/กฎหมายอย่างเข้มข้น โดยบูรณาการตรวจเข้มสินค้า ณ ด่านศุลกากร ทั้งในส่วนของการสำแดงพิกัดสินค้า การชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม การตรวจมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และการป้องปรามการกระทำอันมีลักษณะเป็นนอมินี โดยให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นคนไทยต้องส่งเอกสารที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรองหรือแสดงฐานะการเงิน พร้อมกับการขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด

2) ปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบให้สอดคล้องกับการค้าอนาคต ซึ่งต้องทำประกาศฯ ให้ผู้ประกอบธุรกิจแพลตฟอร์มต่างประเทศที่มีคุณสมบัติตามกำหนด “ต้องจดทะเบียนนิติบุคคล โดยให้มีสำนักงานในไทย”

3) มาตรการภาษี โดยกรมสรรพากรอยู่ระหว่างปรับปรุงประมวลรัษฎากรสำหรับการกำหนดให้ผู้ขายสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ และแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์ที่จำหน่ายสินค้าในไทย ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร

4) มาตรการช่วยเหลือ SMEs ไทย และสุดท้าย 5) สร้าง/ต่อยอดความร่วมมือกับประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้น เช่น ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เพื่อส่งเสริมการค้าผ่านช่องทางตลาด E-Commerce ให้เป็นอีกช่องทางในการผลักดันสินค้าไทยผ่าน E-Commerce ไปตลาดต่างประเทศ

ต้องดูว่า มาตรการที่มีอยู่จะช่วยสกัดกั้นสินค้าจีนได้มากน้อยแค่ไหน.

 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รวยง่าย รวยเร็ว ไม่มี

บ้านเมืองเราทุกวันนี้ ผู้คนกำลังหลงผิดกับการทำงานง่ายๆ แล้วรวยเร็ว เพราะในความเป็นจริงการที่จะรวยได้จะต้องใช้ความวิริยะ อุตสาหะ มากกว่าคนปกติหลายเท่า

เสียงแตกแจกหมื่นช่วยกระตุ้นศก.?!?

รัฐบาลได้ประมาณการว่า การโอนเงิน 10,000 บาทผ่านโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและผู้พิการกว่า 14.55 ล้านราย วงเงินกว่า 1.45 แสนล้านบาทนั้น

ไม่ปรับตัวก็ตกขบวน

เดินขบวนอย่างเต็มกำลัง สำหรับการปรับโครงสร้างของธุรกิจไทยให้กลายเป็นธุรกิจที่ดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคม หรือที่เรียกว่าธุรกิจสีเขียว โดยมีเป้าหมายในการลดการปล่อยคาร์บอนที่สร้างปัญหาโลกร้อนลง

ตื่นล้อมคอก

กรณีเหตุรถบัสนักเรียนไฟไหม้ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2567 เวลาประมาณ 12.08 น. โดยรถที่เกิดเหตุเป็นรถโดยสารไม่ประจำทาง (รถ 30) หมายเลขทะเบียน 30-0423 สิงห์บุรี (รถโดยสารชั้นเดียว ปรับอากาศ)

เปิดเมืองฮิตสายกินทั่วเอเชีย

บางครั้งเหตุผลหลักในการไปเที่ยวของหลายๆ คนไม่ใช่การเดินดูสถานที่ท่องเที่ยวหรือทำกิจกรรมต่างๆ แต่คือการดื่มด่ำกับหลากหลายอาหารอร่อยในประเทศนั้น จากข้อมูลการสำรวจที่อโกด้าจัดทำขึ้น มากกว่า 64%

ตั้งความหวังมาตรการฯ รัฐช่วย

แม้ความท้าทายจากสภาพเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบต่อแผนการซื้อบ้าน/คอนโดฯ ของคนรุ่นใหม่ แต่ความต้องการซื้อนั้นยังคงมีอยู่ โดยกลุ่มมิลเลนเนียล (Millennials) และ Gen Z จากผลการสำรวจของ