
ประเดิมวันแรก ยอดใช้จ่ายคึกคักสำหรับโครงการกระตุ้นกำลังซื้อของรัฐบาลอย่าง โครงการคนละครึ่งเฟส 4 และโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐระยะที่ 4 โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษระยะที่ 2
โดยจากข้อมูลพบว่า เพียงวันแรกของการเปิดโครงการ กระทรวงการคลังระบุว่า ณ เวลา 16.00 น. มีผู้ใช้สิทธิทุกโครงการรวม 5.44 ล้านราย และมียอดใช้จ่ายรวมทั้งหมด 1,132.44 ล้านบาท โดยสรุปผลการใช้จ่ายได้ ดังนี้
1.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐระยะที่ 4 มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 2.89 ล้านราย มียอดการใช้จ่ายรวม 573.54 ล้านบาท
2.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษระยะที่ 2 มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 1.47 แสนราย มียอดการใช้จ่ายรวม 57.66 ล้านบาท
3.โครงการคนละครึ่งระยะที่ 4 มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 2.4 ล้านราย โดยมียอดการใช้จ่ายรวม 501.24 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 253.43 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่าย 247.81 ล้านบาท โดยมีประชาชนที่กดยืนยันเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งระยะที่ 4 แล้ว จำนวน 16.93 ล้านราย
จะเห็นได้ว่า วันแรกยอดใช้จ่ายก็คึกคัก ทะลุ 1 พันล้านบาทแล้ว ซึ่งสิ่งนี้ทำให้มีเงินไหลเวียนในระบบดีขึ้น และทำให้เศรษฐกิจมีการขยับเติบโตได้ แม้จะทราบกันดีว่าโครงการแนวร่วมจ่ายไม่ใช่แนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ยั่งยืน แต่ก็ดีกว่าปล่อยให้ระบบเศรษฐกิจฝืดเคือง โดยเฉพาะในภาวะที่การท่องเที่ยวยังไม่กลับมาเป็นปกติแบบนี้
ดังนั้นการกระตุ้นเศรษฐกิจจึงยังเป็นภาระหน้าที่ที่รัฐบาลจำเป็นต้องกระทำ เพราะภาคการคลังของรัฐบาลถือเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ ถ้ารัฐไม่ขับเคลื่อนก็อย่าไปหวังกับการเติบโตในระยะยาวได้
อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่าในส่วนของโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐกำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เพราะล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 1 ก.พ. เพิ่งมีมติเห็นชอบโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ครั้งใหม่ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ประชาชนผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการประมาณ 20 ล้านคน (ผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ เดิมและผู้เข้าข่ายได้รับสิทธิรายใหม่) คาดสามารถเริ่มใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.65
จากการติดตามข้อมูลพบว่า การลงทะเบียนรอบนี้จะมีการหลักเกณฑ์ที่เข้มงวดมากขึ้น และจะต้องได้ผู้ถือบัตรที่เป็นกลุ่มคนจนที่เดือดร้อนจริงๆ ไม่ใช่กลุ่มที่เนียนจน และใช้สิทธิอย่างในปัจจุบัน
ซึ่งข้อมูลที่กระทรวงการคลังระบุออกมามีดังนี้
1.มีสัญชาติไทย 2.มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป 3.ไม่เป็นบุคคลดังต่อไปนี้ ภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช ผู้ต้องขัง ผู้ถูกกักกัน ผู้ต้องกักขัง บุคคลที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ฯ ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงาน ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ผู้รับบำเหน็จรายเดือน ผู้รับบำนาญปกติ
4.รายได้ของผู้ลงทะเบียนไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปี และหากมีครอบครัว รายได้เฉลี่ยของครอบครัวของผู้ลงทะเบียนไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปี ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง (การคำนวณรายได้เฉลี่ยของครอบครัวของผู้ลงทะเบียนคำนวณได้จากการรวมรายได้ของผู้ลงทะเบียน และสมาชิกในครอบครัวของผู้ลงทะเบียน หารด้วยจำนวนบุคคลทั้งหมดในครอบครัว)
5.ทรัพย์สินทางการเงิน ได้แก่ เงินฝาก สลาก พันธบัตรและตราสารหนี้ภาครัฐของผู้ลงทะเบียนต้องมีมูลค่าไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน 6.ไม่มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ หรือมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง กรณีอยู่อาศัยอย่างเดียว หากเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ห้องแถว และตึกแถว ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางวา หากเป็นห้องชุดต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 35 ตารางเมตร และกรณีเป็นที่อยู่อาศัยและใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 10 ไร่ หรือในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดิน 7.ผู้ลงทะเบียนจะต้องไม่มีบัตรเครดิต ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง และ 8.ผู้ลงทะเบียนจะต้องไม่มีวงเงินกู้ หรือมีวงเงินกู้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง แต่ไม่เกินหลักเกณฑ์ ดังนี้ วงเงินกู้สำหรับที่อยู่อาศัยรวมไม่เกิน 1.5 ล้านบาท วงเงินกู้สำหรับยานพาหนะรวมไม่เกิน 1 ล้านบาท
จากข้อมูลพบว่า ปัจจุบันมีผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 13.45 ล้านคน ทั้งหมดจะต้องมาลงทะเบียนใหม่ด้วย โดยในรอบนี้คาดว่าจะมีผู้ผ่านเกณฑ์และได้สิทธิราว 17 ล้านคน
ดังนั้นใครที่คิดว่าเข้าเกณฑ์ก็อย่าลืมไปลงทะเบียนกัน.
ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แผนดันเศรษฐกิจไทยด้วยซอฟต์เพาเวอร์
ในช่วงปีที่ผ่านมา คนไทยมักจะได้ยินคำว่าซอฟต์เพาเวอร์ (Soft Power) อย่าหนาหู เพราะมีกระแสเกิดขึ้นมากมาย ทำให้ผลผลิต สินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการของไทยนั้นได้รับความนิยมมากขึ้น
ล้อมคอกแท็กซี่นอกรีต
ดูเหมือนว่าปัญหาแท็กซี่เอารัดเอาเปรียบผู้โดยสารจะกลับมาเป็นประเด็นร้อนแรงอีกครั้ง หลังจากโลกออนไลน์ได้มีการโพสต์ถึงพฤติกรรมแท็กซี่ไม่กดมิเตอร์-โก่งราคาผู้โดยสารชาวต่างชาติ หนักหนาสาหัสไปกว่านั้นคือไม่รับผู้โดยสารคนไทย ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นที่บริเวณอิมแพ็ค
ESGความยั่งยืนคือ“โอกาส”
ESG แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืนกำลังได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลกในปัจจุบัน และไม่ใช่แค่เทรนด์เท่านั้น เป็นแนวคิดระดับโลกที่ธุรกิจทุกขนาดจะต้องให้ความสำคัญ เพื่อให้โลกของเราอยู่ได้อย่างยั่งยืน และธุรกิจสามารถดำเนินต่อได้ในอนาคต โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบ 3 ด้านหลัก
ยังต้องจับตาดูเศรษฐกิจรอบโลก
ดูเหมือนว่าจะยังมีหลายสถานการณ์เกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ต้องเฝ้าจับตาดูในแต่ละประเทศ โดยเฉพาะทางฝั่งของสหรัฐ ที่เฟดเผยว่าอาจไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงมาก
การจัดตั้งรัฐบาลในม่านหมอก
ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับการเซ็น MOU ของ 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ซึ่ง MOU ฉบับนี้ถือเป็นข้อตกลงร่วมกันของรัฐบาลผสมที่นำโดยพรรคก้าวไกล โดยในเนื้อหาหลักของข้อตกลงนี้มีหลายประเด็น ทั้งในมิติด้านการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา สิ่งแวดล้อม และนโยบายด้านการต่างประเทศ
ปี66ส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงเหนื่อย!
เทรนด์การดูแลสัตว์เลี้ยงในปัจจุบันที่มีรูปแบบการดูแลเสมือนคนในครอบครัว (Pet Humanization) มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง