ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน ขับเคลื่อนสู่ไทยแลนด์4.0

ขณะนี้หลายองค์กรเริ่มเห็นแล้วว่าผลกระทบอะไรจะเกิดขึ้นจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว การดำเนินชีวิตประจำวัน หลายๆ องค์กรจึงได้ปรับตัวเองเพื่อเดินหน้าต่อ พร้อมทั้งได้ตระหนักว่าโควิดจะยังอยู่ยาว ดังนั้นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยปรับระบบการทำงาน เชื่อมโยงจากจุดหนึ่งไปถึงอีกจุดหนึ่งได้ในเวลาอันรวดเร็ว จึงเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคและองค์กรต่างๆ ต้องเตรียมพร้อม เพื่อให้อยู่กับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วได้
นอกจากนี้แล้วบริษัทห้างร้านจึงหันมาให้ความสำคัญกับดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation) เพิ่มขึ้นในทุกๆ กลุ่มธุรกิจ ดังนั้นภาคธุรกิจจึงหันมาลงทุนด้านระบบไอทีเพื่อรองรับการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน เพื่อสร้างคุณค่าและรายได้ให้ธุรกิจ

ซึ่งบริษัท เนทติเซนท์ จำกัด (Netizen) ระบุว่า ปัจจุบันองค์กรในทุกอุตสาหกรรมมุ่งทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน เพื่อยกระดับการแข่งขันให้กับธุรกิจ ส่งผลให้เกิดการใช้จ่ายด้านไอทีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี คาดภายในปี 2562-2565 อัตราการเพิ่มขึ้นจะมีถึง 19.42% ตามข้อมูลของไอดีซีจะพบว่ามีมูลค่าเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากในปี 62 มีมูลค่า 4.52 แสนล้านบาท เมื่อถึงปี 2563 จะเพิ่มไปถึง 4.89 แสนล้านบาท, ปี 2564 จะมีมูลค่า 5.16 แสนล้านบาท และปี 2565 ประมาณ 5.40 แสนล้านบาท ซึ่งในมูลค่าที่กล่าวมาเป็นการลงทุนด้านการวางระบบเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ให้ทันสมัย สามารถรองรับแพลตฟอร์มดิจิทัลใหม่
และในฐานะที่เป็นองค์กรของภาครัฐ บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ NT ได้ร่วมกับไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย), ปตท. และธนาคารออมสิน ยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงาน และศักยภาพในการบริการภาคธุรกิจและประชาชนให้กับหน่วยงานภาครัฐไทย ทั้งการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันและการยกระดับทักษะทางดิจิทัล และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในทุกๆ ด้าน รวมไปถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ และขับเคลื่อนนโยบายของรัฐที่จะนำประเทศเข้าสู่ยุคดิจิทัล
ทั้งนี้ นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ กรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ NT ระบุว่า NT มุ่งยกระดับรูปแบบวิธีการทำงานและบริการที่ทันสมัย มีศักยภาพ เพื่อให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็ว และเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนนโยบายในการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล หรือดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน เพื่อให้ทุกภาคส่วนก้าวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 (Thailand 4.0) ได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต โดยให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างประสิทธิภาพในมิติต่างๆ
นอกจากนี้ยังนำความรู้ เครื่องมือ เทคโนโลยี และทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร และพันธมิตรบูรณาการ ประยุกต์ใช้ เพื่อร่วมพัฒนาโซลูชันและโมเดลธุรกิจใหม่ร่วมกัน โดยมุ่งเน้นตอบโจทย์ความต้องการของภาครัฐต่อบริการด้านข้อมูล การเปิดโอกาสในการทำงานร่วมกันข้ามหน่วยงาน การดำเนินงานที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและโซลูชัน 5G
รวมไปถึงสนับสนุนด้านการพัฒนาทักษะบุคลากร และสร้างเครือข่ายความร่วมมือเชิงธุรกิจที่แข็งแกร่ง ภาครัฐควรเป็นแม่งานหลักในการเร่งวางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุม พร้อมไปกับการทำงานร่วมกับภาคเอกชนในการนำเทคโนโลยีมาต่อยอดบริการและเร่งพัฒนาบุคลากร เสริมทักษะด้านดิจิทัลให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม นำเทคโนโลยีมาปรับใช้ หรือที่เรียกว่าเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อให้ทันกับการแข่งขันที่สูงขึ้น ทันกับประเทศคู่แข่งอื่นๆ ซึ่งผู้ประกอบการจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้เทรนด์ใหม่ของนวัตกรรม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แนวโน้มภัยคุกคามไซเบอร์ปี2024

การเติบโตของปฏิบัติการอาชญากรรมทางไซเบอร์ในรูปการบริการ หรือ Cybercrime-as-a-Service (CaaS) รวมถึงการเกิดขึ้นของ Generative AI ทำให้ผู้ก่อภัยคุกคามมีตัวช่วยให้ทำงาน “ง่าย” ยิ่งขึ้นเพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส ที่ช่วยให้โจมตีได้ง่ายดายกว่าที่ผ่านมา

4เทรนด์อสังหาปี67

การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะในภาคธุรกิจอสังหริมทรัพย์ ซึ่งผู้บริโภคมองหาความปลอดภัยในการมีที่อยู่อาศัยในรูปแบบที่ปกป้องคนในครอบครัวมากขึ้น

แก้หนี้นอกระบบทำได้จริงหรือ?

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน จัดหนักจัดเต็มแจกแบบจุกๆ ถึง 3 เรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการแจกเงินอุ้มชาวนาไร่ละ 1,000 บาท จำนวน 4.68 ล้านครัวเรือน เรื่องที่ 2

จับตาสถานการณ์“เอลนีโญ”ปี67

ช่วงที่ผ่านมา หลายฝ่ายต่างจับตาถึงสถานการณ์เอลนีโญว่าอาจมีความรุนแรง ยาวนาน และสร้างความเสียหายให้กับหลายภาคส่วน โดยเฉพาะภาคเกษตร กับสถานการณ์การขาดแคลนน้ำ

มาตรฐานกระทงไร้มลพิษ

27 พ.ย.นี้จะเป็นวันลอยกระทงของประเทศไทย เทศกาลที่หลายๆ คนรอคอย เพราะถือเป็นการร่วมสืบสานประเพณีไทยที่มีมาอย่างช้านาน และยังได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ ทั้งยังถือเป็น Soft Power

นับถอยหลังนั่งรถไฟฟ้าสายสีชมพู

ฤกษ์งามยามดีในวันที่ 21 พ.ย.2566 เวลา 12.40 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีจะเข้าร่วมทดสอบการเดินรถเสมือนจริง โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร (กม.)