เงินเฟ้อ VS ดอกเบี้ย

เริ่มต้นปี เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกก็เจอปัญหารุมเร้า โดยเฉพาะราคาพลังงานที่ถีบตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งส่งผลไปยังต้นทุนค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นของสินค้าประเภทต่างๆ จนทำให้ราคาแพงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และทั้งหมดก็ส่งผลกระทบมายังเรื่องของเงินเฟ้อและค่าครองชีพ อย่างที่ทราบกันดี ยิ่งเงินเฟ้อมากขึ้นแสดงว่าค่าของเงินมันลดลง เงินจำนวนเท่าเดิมจะซื้อของได้น้อยลงกว่าเดิม ซึ่งตรงนี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยซึ่งหารายได้ได้เท่าเดิมหรือน้อยลงกว่าเดิม ก็จะส่งผลกระทบต่อการครองชีพอย่างไม่ต้องสงสัย

ในขณะนี้ สำนักวิจัยหลายแห่งได้มีการปรับประมาณการตัวเลขเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2565 อยู่ที่ระดับ 2% เป็น 2.3% ทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะสูงขึ้นแตะระดับ 3% ได้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วงไตรมาส 1 จะปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับ 3.5% ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 11 ปี

แน่นอน ตามปกติเงินเฟ้อจะมาควบคู่กับภาวะเศรษฐกิจที่เติบโต และจากฉากทัศน์ในปัจจุบันไทยกำลังเจอกับสิ่งที่เรียกว่า ภาวะ Stagflation ซึ่งหมายถึงราคาสินค้ามีการปรับตัวสูง แต่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว ซึ่งภาวะนี้จะกระทบผู้มีรายได้น้อยและธุรกิจอย่างมาก เพราะในกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยสุด จะต้องใช้เงินในการซื้อหาอาหารเพิ่มสูงขึ้น ส่วนธุรกิจขนาดเล็กมีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นแต่ขึ้นราคาไม่ได้ กระทบต่อผลประกอบการ

อย่างประเด็นนี้ ทาง 'ดนุชา พิชยนันท์' เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ยังมองว่าสภาพการค้าโลกยังน่าห่วง หากมีปัญหาสงครามการค้าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจ และปัญหาเงินเฟ้อในขณะนี้เป็นตัวฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคตด้วย

แน่นอนปัญหาเรื่องเงินเฟ้อ ซึ่งตามปกติสามารถใช้กลไกของดอกเบี้ยนโยบายในการปรับขึ้นเพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจลงได้

แต่เนื่องจากปัจจุบันไทยกำลังเจอปัญหาภาวะ Stagflation ที่เงินเฟ้อสูงแต่เศรษฐกิจไม่ดี ส่งผลให้การใช้กลไกของดอกเบี้ยนโยบายไม่สามารถดำเนินการได้

ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 ก.พ.ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ก็มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.50% ต่อปี โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง การระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนคาดว่าจะสร้างแรงกดดันต่อระบบสาธารณสุขในวงจำกัด ความเสี่ยงด้านต่ำต่อเศรษฐกิจโดยรวมจึงลดลง แต่ยังต้องติดตามการระบาดในระยะต่อไป

ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเร่งขึ้นในช่วงแรกของปี 2565 จากราคาพลังงานและอาหารสดบางประเภท อาจสูงกว่ากรอบเป้าหมายในช่วงแรกของปี และมีความเสี่ยงด้านสูงเพิ่มขึ้นจากการส่งผ่านต้นทุนที่อาจมากขึ้น หากราคาพลังงานและอาหารสดอยู่ในระดับสูงนานกว่าที่คาด หรือหากข้อจำกัดด้านการผลิตขยายวงกว้างขึ้นไปสู่สินค้าประเภทอื่นๆ

อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีและอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย และยังไม่เห็นสัญญาณการปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการเป็นวงกว้าง

 “กนง.ยังให้น้ำหนักกับการฟื้นตัวเศรษฐกิจและรายได้ของประชาชน จึงเห็นว่าไม่ควรขึ้นดอกเบี้ยซึ่งจะไปฉุดเศรษฐกิจโดยไม่จำเป็น ซึ่งการที่เงินเฟ้อโอกาสเกินกรอบ 3% ไปบ้างเป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องชั่วคราว จากที่ผ่านมาเราจะคุ้นเคยกับการเกินกรอบด้านต่ำ แต่ก็ไม่มีความจำเป็นต้องมีการปรับกรอบนโยบายเงินเฟ้อทันที”

จากมิตินี้แสดงว่า กนง.ยังประเมินว่าเรื่องเงินเฟ้อจะเป็นปัญหาระยะสั้นและรับมือได้ จึงให้น้ำหนักการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากกว่า.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว

ดันสงกรานต์ไทยสู่เทศกาลโลก

หลังจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงมหาดไทย จับมือจัดงาน “Maha Songkran World Water Festival 2024 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567”

เน้นเชิงรับมากกว่าเชิงรุก

ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) หรือก๊าซ LPG ด้วยคุณสมบัติพิเศษของมันก็คือ การที่มีสารโพรเพนและบิวเทนอยู่ในตัว ซึ่งสารสองนี้เป็นสารที่ติดไฟง่าย

เจาะลึกพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย

ในช่วงที่ผ่านมาได้มีผลการวิจัยของมินเทล (Mintel) พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยหันมาใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้นในการหาแรงบันดาลใจด้านการท่องเที่ยว และแบ่งปันประสบการณ์ท่องเที่ยวของตนเอง

วิกฤตเลวร้ายกว่าต้มยำกุ้ง?

ตกเป็นประเด็นอีกครั้ง สำหรับเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจของไทย เพราะล่าสุด 'ทักษิณ ชินวัตร' อดีตนายกรัฐมนตรีได้มาพูดย้ำว่า ประเทศไทยตอนนี้มันยากกว่าสมัยช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง เพราะมีความซับซ้อนและยากมากกว่า และมองว่าการแก้ไขมันต้องมีการเปลี่ยน เพราะโลกมันเปลี่ยนไม่เหมือนเดิม

จับชีพจร“ท่องเที่ยวไทย”เริ่มฟื้นตัว

“ท่องเที่ยว” ถือเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมสำคัญในการขับเคลื่อนและกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ เรียกได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักๆ ที่สร้างรายได้มหาศาลให้ประเทศตลอดช่วงที่ผ่านมา