บทสรุปน้ำมันรั่ว

จากเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลกลางทะเลในช่วงปลายเดือน ม.ค.65 ที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในสังคมไทย และมีหลายฝ่ายพยายามตีแผ่ผลกระทบของชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดระยอง ขณะที่สถานการณ์ดังกล่าวด้านบริษัทที่เป็นเจ้าของเรื่องอย่าง บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SPRC ก็ออกมาให้ข้อมูลและกล่าวถึงความคืบหน้าในการดูแลอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

จึงอยากพาย้อนกลับไปดูถึงต้นเหตุของสถานการณ์และในปัจจุบันที่ใกล้จะถึงบทสรุปของเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยว่า สุดท้ายแล้วการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถทำอะไรได้บ้าง เริ่มต้นจากเหตุการณ์ดังกล่าวมีการกระจายข่าวไปในหลายทิศทาง บ้างก็ว่าน้ำมันรั่วเป็นแสนลิตร บ้างก็ว่าคลุมทั้งทะเล แต่สุดท้ายแล้ว SPRC ออกมาให้ข้อมูลว่าปริมาณน้ำมันรั่วโดยประมาณ 39 ตัน หรือเทียบเท่าโดยประมาณ 47,000 ลิตร

โดยบริษัทได้ระดมทีมเพื่อควบคุมสถานการณ์ตามแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน อีกทั้งหยุดกิจกรรมในพื้นที่ใกล้เคียงทั้งหมดตามขั้นตอนความปลอดภัย และมีการแจ้งหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ชุมชน ศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมสิ่งแวดล้อม ศูนย์บัญชาการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินและกระจายข่าว และกลุ่มบริษัทข้างเคียง สามารถควบคุมได้และหยุดการรั่วไหลภายในวันเดียวกัน

ขณะเดียวกันที่ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้สั่งการให้จัดตั้งอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่สืบค้นปริมาณการรั่วไหลที่แท้จริง หาสาเหตุของปัญหา และหาวิธีการ/มาตรการการแก้ที่ต้นเหตุแห่งปัญหาอย่างยั่งยืน ซึ่งจะประกอบด้วย อาทิ ผู้แทนจังหวัด ผู้แทนกรมเจ้าท่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กรมควบคุมมลพิษ และกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น

โดยทำหน้าที่วิเคราะห์สาเหตุ ตรวจสอบความเหมาะสมของวิธีการและวงรอบในการทำการซ่อมบำรุงระบบต่างๆ ในอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูง และพิจารณาออกกฎระเบียบหรือเสนอกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เมื่อได้ผลสรุปที่เหมาะสม ก็จะนำไปขยายผลรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงนำไปพิจารณาปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

ขณะเดียวกันที่ SPRC ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมเจ้าท่า กรมควบคุมมลพิษ กรมทรัพยากรทางทะลและชายฝั่ง กรมธุรกิจพลังงาน อุตสาหกรรมจังหวัดระยอง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย สภาวิศวกร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถานีตำรวจภูธรมาบตาพุด เริ่มขั้นตอนแรกของปฏิบัติการอุดรอยรั่วของท่ออ่อนใต้ทะเล เพื่อป้องกันการรั่วไหลที่เพิ่มขึ้นจากท่ออ่อนที่เสียหาย และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ โดยจะมีการนำท่ออ่อนดังกล่าวไปตรวจสอบหาสาเหตุของการเกิดรอยรั่วต่อไป

 ทั้งนี้ ปฏิบัติการปิดจุดรั่วไหลของท่ออ่อนใต้ทะเลในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ การฉีดน้ำยากันรั่วที่วาล์ว การดูดน้ำมันออกจากท่อที่ได้รับความเสียหาย และการพันรอยรั่วทั้ง 2 จุด โดยการปฏิบัติการในครั้งนี้อยู่ภายใต้การควบคุมและตรวจสอบอย่างใกล้ชิดโดยผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ บริษัทผู้ผลิตท่อส่งน้ำมัน รวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

และล่าสุดทางบริษัทเองก็ได้ร่วมกับคณะทำงานที่ดำเนินงานร่วมกันเพื่อพูดคุยกับชุมชนประมงท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดระยอง ที่ลงทะเบียนผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียนไว้แล้ว เพื่อชี้แจงเบื้องต้นถึงหลักการในการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ชุมชน  ประกอบด้วยสองปัจจัยหลัก ได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อวันและระยะเวลานับตั้งแต่การเกิดเหตุ ซึ่งมาจากการพิจารณาร่วมกันของคณะทำงาน

โดยกลุ่มชุมชนประมงท้องถิ่นจะได้รับการแจ้งวันและเวลาสำหรับการเข้ามารับการชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่งจะเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.2565 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม ทาง SPRC และคณะทำงานได้รับข้อเสนอเพิ่มเติมจากกลุ่มประมงท้องถิ่น ซึ่งจะมีการประเมินและพิจารณาร่วมกัน โดยจะมีการประชุมอีกครั้งในวันศุกร์ที่ 25 ก.พ.นี้

ซึ่งถือว่าจากเหตุการณ์ดังกล่าวแม้จะส่งผลกระทบให้กับสิ่งแวดล้อมและชาวบ้านในพื้นที่ แต่การเข้ามาช่วยเหลือหรือดำเนินงานแก้ไขของบริษัทต้นทางและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเองก็เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และถือว่าเป็นบทเรียนให้กับสังคมต่อไป.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล