เข้าสู่โหมดประหยัดน้ำมัน

วิกฤตราคาน้ำมันในรอบนี้อาจกินระยะเวลายาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้ วันนี้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีบทบาทในการอุดหนุนราคาน้ำมันขายปลีกดีเซลมาตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม 2564 จนถึงปัจจุบัน

กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานกำกับดูแลกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงโดยตรง อย่างสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) ยังให้ความเชื่อมั่นว่า กองทุนน้ำมันฯ ยังมีสภาพคล่องเหลือพอที่จะช่วยพยุงราคาน้ำมันดีเซลให้อยู่ระดับไม่เกิน 30 บาทต่อลิตรได้ แม้ว่าขณะนี้การกู้เงินของกองทุนน้ำมันฯ ที่ได้ไฟเขียวจากคณะรัฐมนตรีแล้วจะยังไม่มีเงินเติมเข้ามาในระบบก็ตาม

และปัจจุบันกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีรายจ่ายเดือนละประมาณ 7,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรายจ่ายน้ำมันเดือนละ 5,000 ล้านบาท และรายจ่ายก๊าซหุ้งต้มหรือ LPG เดือนละ 2,000 ล้านบาท

ในขณะที่สถานการณ์ความตึงเครียดและเอฟเฟ็กต์ที่เกิดจากการสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครน จะยังคงส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งราคาน้ำมันดิบพุ่งทะยานเกิน 100 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลไปแล้ว และถ้าสถานการณ์ยังยืดเยื้อก็มีแนวโน้มที่ราคาน้ำมันดิบจะยังขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แล้วประไทยตั้งรับต่อเรื่องนี้อย่างไร?...

เริ่มตั้งแต่ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติกรอบวงเงินกู้ตามกฎหมาย 20,000 ล้านบาท และขยายวงเงินเพิ่มอีก 10,000 ล้านบาท เพื่อให้กองทุนน้ำมันฯ กู้เงินเพิ่มเติมเพื่อเสริมสภาพคล่อง

ปัจจุบันสภาพคล่องกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มีรายจ่ายประมาณ 7,000 ล้านบาท/เดือน เป็นรายจ่ายน้ำมัน 5,000 ล้านบาท/เดือน และรายจ่ายก๊าซ LPG 2,000 ล้านบาท/เดือน โดยประมาณการฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตอนนี้ติดลบกว่า 20,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือด้านภาษี ที่รัฐลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงเพื่อช่วยลดภาระของกองทุนน้ำมันฯ โดยจากเดิมเก็บ 5.99 บาท/ลิตร ปรับเป็น 3.20 บาท/ลิตร หรือลดลง 2.79 บาท/ลิตร ซึ่งภาษีที่ลดนี้นำไปช่วยลดภาระค่าน้ำมันดีเซลให้ประชาชนทันที 2 บาท/ลิตร

ในด้านการบริหารจัดการ มีการกำหนดสัดส่วนการผสมไบโอดีเซล (B100) ในน้ำมันดีเซลทุกชนิด เริ่มต้นที่ 5% หรือ B5 เพื่อบรรเทาผลกระทบจากราคา B100 ที่มีราคาสูง ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565

แม้ว่าภาครัฐจะมีมาตรการต่างๆ เหล่านี้ออกมาแล้วก็ตาม แต่คงต้านทานกระแสราคาน้ำมันขาขึ้นนี้ไว้ได้ไม่นาน ต้องคิดมุกใหม่ หรือขยายความช่วยเหลือต่อไป เช่น อาจพิจารณาลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงอีก หลังจากที่กรมสรรพสามิตยอมเฉือนรายได้จากการเก็บภาษีน้ำมันดีเซลลงเกือบ 3 บาท/ลิตรมาแล้ว หรือต้องให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงกู้เพิ่มอีกเพื่อเสริมสภาพคล่อง นี่ยังไม่นับรวมว่าจะต้องมีมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้น้ำมันเบนซินเพิ่มเติมอีก เพราะเริ่มมีกระแสกลุ่มผู้ใช้น้ำมันเบนซินเรียกร้องให้ลดราคาให้พวกเขาด้วยเพื่อความเป็นธรรม

นอกจากนี้ยังมีแรงกดดันจากหลายภาคส่วนที่ออกมาเคลื่อนไหว อาทิ กลุ่มรถบรรทุก รถแท็กซี่ รวมถึงภาคเอกชนที่คาดว่าจะตรึงราคาต้นทุนสินค้าและบริการต่างๆ ได้ช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ซึ่งแรงกดดันเหล่านี้จะเป็นตัวเร่งให้รัฐบาลรีบคลอดแพ็กเกจความช่วยเหลือแบบครบวงจรออกมา

แต่เชื่อแน่ว่าหากวิกฤตราคาน้ำมันยังกู่ไม่กลับ ภาระอันหนักอึ้งก็หลีกไม่พ้นต้องไปตกอยู่กับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นกลไกหลักในการดูแลเสถียรภาพราคาพลังงาน ที่ต้องขวนขวายหามาตรการในการบริหารจัดการเพื่อช่วยเหลือประชาชนต่อไป

ดังนั้น ในด้านของมิติด้านประชาชนที่ภาครัฐไม่ควรมองข้าม เพราะประชาชนจะเข้ามามีส่วนช่วยกอบกู้สถานการณ์วิกฤตราคาน้ำมันให้ผ่านไปได้เร็วขึ้น ด้วยการรณรงค์ให้ประชาชน รวมถึงภาคธุรกิจ เอกชน ร่วมกันปรับโหมดเข้าสู่การประหยัดพลังงาน เพื่อใช้พลังงานน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ถึงเวลาปรับโหมดคนไทย ลดใช้น้ำมัน.

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

เร่งกระตุ้นอสังหาฯ

อสังหาริมทรัพย์เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่ยาว ตั้งแต่ภาคการผลิตต่างๆ เช่น เหล็ก ซีเมนต์ การท่องเที่ยว ตลอดจนการเงิน หากภาพรวมอสังหาฯ ดีย่อมส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมใกล้เคียง แต่หากลบก็กระทบธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกที่ผลักดันให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น แต่ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และภาวะหนี้ครัวเรือนที่บั่นทอนกำลังซื้อในประเทศ ส่งผลกับภาคอสังหาฯ อย่างเห็นได้ชัด

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี