'หมอยง' เผยการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิดเริ่มเฉื่อยลงทำให้อนาคตอาจเหมือนไข้หวัดใหญ่ A

'หมอยง' ชี้โควิดสายพันธุ์ XBB ติดซ้ำไม่ใช่เรื่องแปลก ข่าวดี! อัตราการกลายพันธุ์ของไวรัสเริ่มช้าลง ทำให้แนวโน้มอาจใกล้เคียงไข้หวัดใหญ่ A ในอนาคตได้

22 มิ.ย.2566 - นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “โควิด 19 สายพันธุ์ที่พบ XBB เกือบทั้งหมด การติดเชื้อช้ำไม่ใช่เรื่องแปลก” มีเนื้อหาว่า

การระบาดของโควิดเป็นไปตามฤดูกาล ในฤดูฝนตามที่เคยคาดการณ์ไว้และคงจะระบาดไปจนถึงเดือนกรกฎาคม สิงหาคม และจะเริ่มลดลงในเดือน กันยายน

สายพันธุ์ที่พบขณะนี้เกือบทั้งหมดเป็นสายพันธุ์ XBB โดยพบว่าสายพันธุ์ดาวดวงแก้ว XBB.1.16 เป็นสายพันธุ์หลัก

จากข้อมูลการศึกษาของเรา พบว่าภูมิต้านทานที่เกิดจากวัคซีนที่ฉีดในอดีต โดยเริ่มต้นจาก สายพันธุ์อู่ฮั่น และเพิ่มสายพันธุ์ BA.5 ในวัคซีน 2 สายพันธุ์ ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ XBB ได้


การติดเชื้อซ้ำอย่างที่เคยกล่าวแล้ว การศึกษาของเรา 250 คน พบว่าความรุนแรงทั้งที่ 2 น้อยกว่าครั้งแรกมาก

การจะติดเชื้อครั้งที่ 3 ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่เมื่อสายพันธุ์เปลี่ยนไป ก็เป็นใหม่ได้อีก โควิด 19 ก็เช่นเดียวกันเมื่อสายพันธุ์เปลี่ยนไป ก็เป็นได้อีกแต่ภูมิคุ้มกันหลัก พอช่วยปกป้องลดความรุนแรงลงแต่ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อ

ในอนาคตการให้วัคซีนจะต้องมีการคาดคะเน ไว้ล่วงหน้าแบบไข้หวัดใหญ่ ว่าสายพันธุ์ที่จะระบาด จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด เช่นขณะนี้องค์การอนามัยโลกแนะนำบริษัทวัคซีนให้ผลิตวัคซีนที่เป็นสายพันธุ์ XBB แต่ในกระบวนการผลิต ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน เมื่อถึงเวลานั้นไวรัสก็จะเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ไปอีก การวิ่งไล่จับก็จะไม่ทัน

มีเรื่องดี ที่เราทำการศึกษาคือ อัตราการกลายพันธุ์ ถ้าเปรียบเทียบในระยะแรกของโควิด 19 อัตราการกลายพันธุ์เร็วและสูงมาก แต่พอมาถึงในช่วงของปีที่ผ่านมาอัตราการกลายพันธุ์ช้าลง อยู่ในอัตรา 1.2 - 6.7 ตำแหน่งต่อพันต่อปี ไวรัสนี้มีทั้งหมด 3 หมื่นตำแหน่ง เมื่อดูอัตรานี้แล้วจะใกล้เคียงไข้หวัดใหญ่ A ดังนั้นแนวโน้มของไวรัสนี้ ทุกอย่างก็คงจะใกล้เคียงกับไข้หวัดใหญ่ A ในอนาคต ถ้าได้รับเชื้อสายพันธุ์ที่เปลี่ยนไปก็มีโอกาสเป็นได้อีก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

'นิสิตเก่าจุฬาฯ' ตามบี้ 'วิทยานิพนธ์ณัฐพล' อุทธรณ์คำสั่ง ให้จุฬาฯเปิดเผยมติสอบสวน

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)