
‘อัจฉริยะ’ ถอนตัวจากคดีรีดเงินเว็บพนัน 140 ล้าน อ้างตรวจสอบเส้นทางการเงิน เจอตำรวจโกหกเยอะมาก พบบางคนมีเงินเข้าสูงถึง 600 ล้านบาท ช่วยไปก็เปลืองตัว
24 ก.ค. 2566 – ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม กล่าวถึงความคืบหน้าคดีเรียกรับเงินพนัน 140 ล้านบาท ว่า จะขอถอนตัวจากการช่วยเหลือนายตำรวจที่ถูกกล่าวหา และตกเป็นผู้ต้องหาในคดีนี้ เนื่องจากภายหลังได้ตรวจสอบเส้นทางการเงินแล้ว ก็รู้ว่ามีตำรวจโกหกเยอะมาก เพราะว่ามีคนได้เงินจากขบวนการนี้ เช่น บางคนได้เงินไป 10 ล้านบาท บางคนได้รับเงิน 2- 3 แสนบาท บางคนก็มีเงินเข้ามาในบัญชีมากถึง 600 กว่าล้านบาท ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดปกติมาก และเมื่อมีการตรวจสอบทั้งระบบพบว่า บางคนได้เป็นโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ มากกว่า 5 คน ที่มีการเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือ ในช่วงหลังเกิดเหตุ ใช้โทรศัพท์มือถือเครื่องละ 30,000 – 40,000 บาท และมีเงินเข้าบัญชีของตำรวจ ทำให้เราเชื่อว่าคดีนี้น่าจะมีผู้กระทำความผิดเยอะมาก
ก่อนหน้านี้ ที่ได้มีการทำแผนผังให้กับสื่อมวลชนไปชุดแรก พบว่า เรื่องของกระบวนการที่เป็นเจ้าของเว็บพนันหักหลังกันเอง แล้วมีเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ทหาร พลเรือน และมีสื่อมวลชนที่เป็นสื่อผี เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ดูจากเส้นทางการเงินกับรูปคดีแล้ว เชื่อว่าน่าจะมีคนกระทำความผิดเกือบทั้งนั้น ถ้าหากต้องไปช่วยคนที่กระทำความผิด ก็ไม่ใช่หน้าที่เราที่จะต้องไปทำ มองว่าเป็นการเปลืองตัวเปล่าๆ จึงขอถอนตัวออกจากคดีดีกว่า
นายอัจฉริยะ กล่าวว่า ในส่วนของคดีที่ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษผู้บังคับการจังหวัดชลบุรี หรือนายตำรวจคนอื่นๆ ไว้ มีการตรวจสอบแล้วเป็นเรื่องจริงทุกอย่าง ก็จะรับผิดชอบในส่วนที่ตนเองได้ร้องทุกข์กล่าวโทษไว้ แต่ที่ใครที่ไปแจ้งความดำเนินคดีด้วยตัวเอง แล้วปรากฏว่าเส้นทางการเงินไปชนกับตัวเขาเอง ก็ต้องรับผิดชอบในเรื่องของการแจ้งความเท็จ ก็ต้องไปต่อสู้เอง เพราะเราไม่ได้แจ้งความร่วมด้วย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
DSI เปิดโปงขบวนการซากสุกร 460 ล้าน เอี่ยว 'จนท.-นายทุน' ส่ง ป.ป.ช. 11 คดี
ดีเอสไอ เผยผลสอบสวนขบวนการลักลอบนำเข้าซากสุกรผิดกฎหมายช่วงปี 2563–65 รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 460 ล้านบาท พบพัวพันเจ้าหน้าที่รัฐ-นักการเมือง-นายทุนทั้งไทยและต่างชาติ ส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. แล้ว 11 คดี พร้อมประสาน 7 ประเทศขยายผล
ผบ.ตร. สั่งสอบอดีตนายตำรวจ พัวพันขบวนการลักลอบข้อสอบนิติฯ ยังไม่ชี้ผิดวินัย
“บิ๊กต่าย” กำชับกองวินัย–ฝ่ายกฎหมาย ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีอดีตนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ถูกพาดพิงเอี่ยวขบวนการลักข้อสอบคณะนิติศาสตร์ ชี้ยังไม่ตัดสินผิด–ถูก พร้อมให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย
ตำรวจตีปี๊บ โชว์ผลงานปราบอาชญากรรมในช่วง 6 เดือน
พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มอบหมายให้ พล.ต.ท.อาชยน ไกรทอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วย พล.ต.ต.ศิริวัฒน์ ดีพอ และ พล.ต.ต.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แถลงผลการดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รอบ 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2568 ณ สารสิน อาคาร 1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ตำรวจแฉยิบ ขบวนการนำข้อสอบคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ให้ 'อดีตบิ๊กตำรวจ' ลอก
ที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) พล.ต.ต.ศิริวัฒน์ ดีพอ ผบก.สอท.1 เปิดเผยถึงการเข้าจับกุม ดร.นางขนิษฐา (ขอสงวนนามสกุล) ตามหมายจับศาลอาญากรุงเทพใต้ ลงวันที่ 22 เมษายน 2568
'ภูมิธรรม' ขีดเส้น 7 วัน แก้ไฟใต้ต้องเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ไฟเขียวยุทธการเชิงรุก
"ภูมิธรรม" ไฟเขียวทหาร- ตร. เปิดยุทธการเชิงรุกสกัดก่อเหตุชายแดนใต้ อย่าตั้งรับอย่างเดียว ขีดเส้น ผบ.ทบ. - ผบ.ตร. ต้องทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญใน7วัน พร้อมยอมรับ “ดับไฟใต้ ยากลำบาก-ซับซ้อน เผยหนึ่งปมเหตุเพราะคิดปรับยุทธศาสตร์ หลายส่วนยังไม่ให้ความจริงในการคุย เดินหน้าถกสันติสุข ภายใต้กรอบ”รัฐเดี่ยว” ภายใต้ รธน.
'ตำรวจไซเบอร์' จับหญิงลอบนำข้อสอบคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯให้ 'อดีตบิ๊กตำรวจ' ลอก
เจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1 (บก.สอท.1) นำหมายศาลเข้าจับกุม นางขนิษฐา (สงวนนามสกุล)ตามหมายจับศาลอาญากรุงเทพใต้ ลงวันที่ 22 เมษายน 2568 ในข้อหา “ร่วมกันเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น”