คืบหน้าเหตุป่วนหลายจุดเดือนรอมฎอน คนร้ายมุ่งทำลายเศรษฐกิจในพื้นที่ จชต.

23 มี.ค.2567 - จากเหตุการณ์ คนร้ายกลุ่มใหญ่ก่อกวนหลายจุด ในเขตจังหวัดปัตตานี, จ.ยะลา, จ.นราธิวาส และจ.สงขลา สำหรับ จังหวัดปัตตานี เกิดเหตุมากที่สุด กระจายทั้ง 10 อำเภอ จำนวน 20 จุด ล่าสุดผวจ.ปัตตานี ลงพื้นที่ติดตามตรวจสอบ ความเสียหาย เยี่ยมญาติกรณีผู้เสียชีวิต1ราย เป็นชาวต่างด้าว สัญชาติพม่า ซึ่งเข้ามาใช้แรงงานในพท. ได้ตรวจสอบการดำเนินการเยียวยา และประเมินสถานการณ์การวางมาตรการป้องกันต่อไป
โดยผู้ว่า พร้อมเข้าหน้าที่ ได้เข้าเยี่ยมพื้นที่ กระทบการณ์ ทั้ง 6 อำเภอ เหตุไฟไหม้ร้านสะดวกซื้อ (เซเว่น) 5 แห่ง อ เมือง สาขาบางปู อ.ยะหริ่ง สาขามหาวิทยาลัยฟาตอนี อ ยะรัง สาขาหน้าโรงพยาบาลโคกโพธิ์ ตำบลมะกรูด อำเภอโคกโพธิ์ สาขาอำเภอไม้แก่น อำเภอไม้แก่นจังหวัดปัตตานี

จุดระเบิด 1 แห่ง ภายในปั๊มน้ำมัน ปตท. ตำบลเกาะจัน อำเภอมายอ ,เผาเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ อำเภอมายอ ซึ่งช่วงเช้าหลังจาก เจ้าหน้าที่ได้เข้าเคลียรพื้นที่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

จากนั้นติดตามที่ จุดวางเพลิงห้องพักรายวันโฮมสวีทโฮมรีสอร์ท พื้นที่หมู่ที่ 6 ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

จุดเกิดเหตุเพลิงไหม้สำนักงานการไฟฟาส่วนภูมิภาคอำเภอทุ่งยางแดง บ้านปาแดปาลัส หมู่ที่ 1 ตำบลปากู อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี ซึ่งบางจุดเจ้าหน้าที่ปิดกั้นพื้นที่ อยู่ระหว่างเข้าตรวจสอบ รวบรวมวัตถุพยาน และเก็บพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามหาตัวคนร้ายต่อไป

นางพาตีเมาะ สะดียามู ผวจ.ปัตตานี กล่าวเปิดเผยว่า เกิดความเสียหายอย่างหนัก และตกกับเป้าหมายที่กระทบกับพี่น้องประชาชนมากที่สุด 80% ต้องเร่งสร้างความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน และคลี่คลายสถานการณ์ให้เร็วที่สุด ครั้งนี้คนร้ายลงมือหวังทำลายระบบเศรษฐกิจ สาธารณูปโภค ลดความเชื่อมั่นของเจ้าหน้าที่ความมั่นคง เกิดเหตุช่วงรอมฎอน เป็นการแสดงศักยภาพของกลุ่มผู้ก่อเหตุ ว่าสามารถก่อเหตุรุนแรงได้พร้อมๆ กันในหลายพื้นที่

ด้านจังหวัดปัตตานีได้เรียกประชุมฝ่ายที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ต้องเน้นให้เร่งดำเนินการตรวจสอบสภาพความเสียหาย ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น จุดระเบิด วางเพลิง ปั๊มน้ำมัน วางเพลิงรีสอรท โรงแรม โรงไฟฟ้า เสาไฟฟ้า โดยเฉพาะร้านสะดวกซื้อทั้ง 5 แห่ง ครั้งนี้เป็นร้านที่อยู่ลึกในชุมชนรอง ไม่ใช่จุดเมืองหลัก และด้านการป้องกัน ได้ประชุมให้กองกำลังฝ่ายความมั่นคง จัดกำลังเจ้าหน้าที่ต้องควบคุม รัดกุม เฝ้าระวังให้มากขึ้น รวมทั้งการตรวจสอบการติดตั้งกล้องวงจรปิด ด้านเยียวยาก็ต้องเร่งอำนวยความสะดวกดำเนินการให้ได้เยียวยาโดยได้รับความยุติธรรมทั้งหมด
ซึ่งวันนี้มาเยี่ยมเคสที่เสียชีวิต จากลูกหลงครั้งนี้ ตรวจสอบแล้วเป็นชาวต่างชาติ เป็นแรงงาน ผู้หญิงชาวเมียนมา อายุ 27 ปีแต่เขาก็ได้รับการเยียวยาด้วยเช่นเดียวกัน

พลโทศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4 และผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ได้สั่งการให้ทุกหน่วยเร่งดำเนินการตามขั้นตอน โดยเฉพาะการดูแลป้องกันพื้นที่ให้มีความปลอดภัย เร่งสอบสวนหาสาเหตุ และแรงจูงใจการก่อเหตุ พร้อมให้ขยายผลไปยังผู้ร่วมก่อเหตุ ในขณะที่ เหตุการณ์ปล้นรถ กระบะจากสงขลาเข้ามาซึ่งได้รับรายงานว่า จับตัวคนร้ายได้แล้ว 9 คน กำลังนำตัวมาสอบสวนเพื่อดูว่าจะเกี่ยวโยงกับสถานการณ์นี้ด้วยหรือไม่ ถือว่าเจ้าหน้าที่ทำงานได้อย่างรวดเร็ว

ทั้งยังฝากความห่วงใยไปยังเจ้าหน้าที่และทุกภาคส่วน ย้ำให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง และกันพื้นที่เกิดเหตุ กันประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้อง เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยสูงสุด ทั้งนี้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นการสร้างสถานการณ์ในช่วงเดือนรอนฎอนอันประเสริฐของพี่น้องประชาชน ที่มุ่งเป้าหวังสร้างความหวาดกลัว ทำลายเศรษฐกิจของพื้นที่ที่กำลังฟื้นตัวเป็นสำคัญและขอความร่วมมือประชาชน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โจรใต้ป่วนหนัก! เผาโรงไฟฟ้าปัตตานี-สงขลา

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า รายงานว่า เมื่อเวลา 23.3. น. วันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมา เกิดเหตุคนร้ายลอบวางเพลิงเผาโรงไฟฟ้าชีวมวล

รัฐบาลชวนนักเรียนใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ สมัครเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย 44 ทุน

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผย รัฐบาล โดยกระทรวงมหาดไทย เปิดรับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา สตูล และสงขลา (เฉพาะอำเภอจะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย) สมัครเข้าโครงการจัดส่งนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย

โจรใต้เหิมหนัก ยิงถล่มทหารพราน ตาย 2 เจ็บ 8 นาย ระหว่างเยี่ยมชาวบ้าน

โจรใต้เหิมหนัก 10 วันสดท้ายรอมฎอน ยิงถล่มทหารพราน ระหว่างกลับจากเยี่ยมชาวบ้านทำซุ้มประตู เตรียมฉลองฮารีรออ ทหารพรานตาย 2 เจ็บ 8 นายที่รือเสาะ

ตรวจเข้ม! แรงงานไทยแห่กลับจากมาเลย์ ฉลองวันฮารีรายอ

ชาวไทยมุสลิมที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งได้เดินทางข้ามแดนไปขายแรงงานตามเมืองต่างๆ ของมาเลเซีย ได้ทยอยเดินทางกลับบ้าน