ชาวอมก๋อย ฟ้องเพิกถอนอีไอเอเหมืองแร่ จัดรณรงค์ใหญ่ หวั่นผลกระทบวิถีชีวิต-สิ่งแวดล้อม

28 มี.ค.2565 - นายธนกฤต โต้งฟ้า ผู้ประสานงานภาคีเครือข่ายปกป้องอมก๋อยจากถ่านหินเปิดเผยว่าในระหว่างวันที่วันที่ 28 มีนาคม ถึงวันที่ 4 เมษายน 2565 เครือข่ายภาคีปกป้องอมก๋อยจากถ่านหินและชาวบ้านออมก๋อยจะจัดงานรณรงค์หลายรูปแบบขึ้นเพื่อบอกเล่าความกังวลเกี่ยวกับโครงการเหมืองแร่อมก๋อย โดยชาวบ้านประมาณ 80-300 คนจะมารวมตัวกันเพื่อถ่ายทอดข้อกังวลสู่สาธารณะ

นายธนกฤตกล่าวว่า โครงการเหมืองแร่อมก๋อยจะทำลายวิถีชีวิตความเป็นอยู่และทรัพยากรธรรมชาติ ถ้าโครงการยังเดินหน้าต่อไปจะทำให้เกิดการละเมิดสิทธิ์โดยเฉพาะสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี สิทธิการใช้ทรัพยากร รวมถึงสิทธิการมีอากาศสะอาดหายใจและสิทธิการเข้าถึงน้ำสะอาด ทั้งนี้ในวันที่ 28 มีนาคม ชาวบ้านกะเบอดินจะรวมตัวกันจัดงานรณรงค์ขึ้นในหมู่บ้านแล้วเดินทางไปที่สนามกีฬาออมก๋อยเพื่อแสดงพลัง ส่วนในวันที่ 30 มีนาคม ชาวบ้านจะเดินทางมาที่อนุสาวรีย์สามกษัตริย์เพื่อจัดงานเปิดตัวรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)ฉบับชุมชน ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการคัดค้านรายงานอีไอเอ และในวันที่ 3 เมษายน ชาวบ้านอมก๋อยและเครือข่ายจะไปจัดงานที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

น.ส.ณัฐทิตา วุฒิศีลวัต ตัวแทนเยาวชนและชาวชุมชนกะเบอะดิน กล่าวว่าในวันที่ 4 เมษายน ชาวบ้านออมก๋อยจำนวน 50 คนเป็นโจทย์ยื่นฟ้องคดีที่ศาลปกครองเชียงใหม่เพื่อเพิกถอนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ (EIA) ของเหมืองถ่านหินอมก๋อยเนื่องจากชาวบ้านมีความกังวลว่าเหมืองถ่านหินมีผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอมก๋อย

“รายงานอีไอเอที่เขาทำขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเห็นได้ชัด แต่ฉบับประชาชนนี้ได้แสดงให้เห็นการละเมิดสิทธิของประชาชนอมก๋อย รวมถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ถ้าโครงการยังเดินหน้าต่อไปจะทำให้เกิดการละเมิดสิทธิ์โดยเฉพาะสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี สิทธิการใช้ทรัพยากร รวมถึงสิทธิการมีอากาศสะอาดหายใจและสิทธิการเข้าถึงน้ำสะอาด ดังนั้นชาวบ้านได้รวมตัวกันศึกษาและจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมฉบับชุมชนโดยได้รับการสนับสนุนจากองค์กรประชาสังคมด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญแขนงต่าง ๆ และอ้างอิงจากหลักฐานที่มีและมีการวิเคราะห์ตามหลักวิทยาศาสตร์ ชาวบ้านออมก๋อยต้องการให้เกิดการทำอีไอเอใหม่ที่โปร่งใสกว่าเดิมและเป็นไปตามหลักการมาตรฐานสากล”น.ส.ณัฐทิตา กล่าว

เยาวชนบ้านกะเบอะดิน กล่าวว่า ในอดีตชาวบ้านไม่รู้จักว่าอีไอเอคืออะไร มารับรู้เมื่อปี 2562 ซึ่งมีนักวิชาการมาบอกว่าจะมีการทำเหมืองแร่ที่บ้านกระเบอะดินและอีไอเอผ่านแล้วจึงได้เริ่มเรียนรู้ อย่างไรก็ตามปัจจุบันนอกจากโครงการเหมือนแร่แล้ว ชาวบ้านยังเผชิญกับโครงการใหญ่ๆอีก 2 โครงการคือโครงการผันแม่น้ำยวมลงเขื่อนภูมิพล ซึ่งต้องขุดอุโมงค์ผ่านและจะมีกองดินถึง 4 แห่ง นอกจากนี้ยังมีโครงการสายส่งไฟฟ้าอีกด้วย

“พวกเรากังวลใจกันมาก เพราะเชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทำกิน ชาวบ้านรุ่นพ่อรุ่นแม่ไม่สามารถพูดภาษาไทยได้ จึงแทบไม่เคยรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เขาไม่รู้จักการสื่อสารในโลกออนไลน์ พวกเราลูกๆหลานๆ ก็เพิ่งมารู้เอาทีหลัง เรารู้สึกว่าไม่ยุติธรรมกับพวกเราเลย เขาจะเอาทรัพยากรที่มีค่าของชาวบ้านไป”น.ส.ณัฐทิตา กล่าว

ขอบคุณภาพจากชาวชุมชนและคณะทำงานยุติเหมืองแร่ถ่านหินอมก๋อย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผวาฮีตสโตรก! 'สาธารณสุขเชียงใหม่' เตือน ปชช. 25 อำเภอ

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่แจ้งว่า อากาศในช่วงนี้อุณหภูมิสูงร้อนอบอ้าวจากอิทธิพลความกดอากาศต่อเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน

พายุฤดูร้อนถล่ม 4 จังหวัดภาคเหนือ บ้านเรือนเสียหาย ต้นไม้ใหญ่โค่นล้มเพียบ

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับรายงานจาก สอต.พะเยา สอต.เชียงใหม่ สอต.แพร่ และ สอต.เชียงราย เกี่ยวกับผลกระทบจากพายุฤดูร้อน วาตภัย เหตุการณ์เกิดเมื่อวันที่ 19 เม.ย.67 ในพื้นที่ ดังนี้

วธ.เปิดงานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง ชวนสัมผัสวัฒนธรรมล้านนาฉลองมรดกโลก

15 เม.ย.2567 - สงกรานต์เชียงใหม่คึกคัก กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่

'ทักษิณ' เล่นน้ำสงกรานต์หน้าห้างเมญ่า ลั่นจะให้ 'อิ๊งค์' ทำเชียงใหม่บูมอีกครั้ง

'ทักษิณ' ร่วมเล่นน้ำสงกรานต์กับ ปชช. หน้าห้างเมญ่า บ่นเสียดายเศรษฐกิจแย่ลงเยอะ ต้องเร่งฟื้นฟู-อัดนโยบาย ลั่นจะให้ 'อิ๊งค์' ทำ 'เชียงใหม่' กลับมาเป็นที่ยอมรับอีกครั้งให้ได้

'แอนโทเนีย' นางมโหธรเทวี กับชุดลายสร้อยบุษบาบรรณ ที่ทำนานกว่า 6 เดือน

สวยสมกับการเป็นนางงามจริงๆ สำหรับ “แอนโทเนีย โพซิ้ว” ที่ล่าสุดมาในชุดไทยนางสงกรานต์ ในการแสดงตำนานนางสงกรานต์ (Maha Songkran World Water Festival) ณ วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่