อุตฯ จ.แม่ฮ่องสอน เดินหน้าจัดเวทีรับฟังความเห็น ชี้หากชาวบ้านไม่เข้าร่วมอาจเสียโอกาสค้าน

ที่ดินเหมืองแม่สะเรียงผ่านฉลุย-ไร้คนคัดค้าน อุตฯ จ.แม่ฮ่องสอน เดินหน้าจัดเวทีรับฟังความเห็น ชี้หากชาวบ้านไม่เข้าร่วมอาจเสียโอกาสค้าน ผู้นำท้องถิ่น-ท้องที่ถกหาวิธีรับมือ

26 มิ.ย.2566 - ความคืบหน้ากรณีสำนักงานอุตสาหกรรม จ.แม่ฮ่องสอน ปิดประกาศการขอประทานบัตรของ บริษัทเอกชน ในพื้นที่หมู่3 ต.แม่สะเรียง และ หมู่13 ต.บ้านกาศ เพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบในที่ดินทำกินมาแสดงตัวภายใน 30 วัน ซึ่งทำให้ชาวบ้านรวมตัวยื่นหนังสือผ่านนายอำเภอแม่สะเรียง ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดและสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ยืนยันคัดค้านการทำเหมืองใน อ.แม่สะเรียงมาอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดเมื่อช่วงเช้าของวันนี้ 26 มิถุนายน 2566 ที่ อ.แม่สะเรียง กลุ่มผู้คัดค้าน ซึ่งมีทั้งผู้นำชุมชน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด(สจ.) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จาก 2 ได้ประชุมหารือกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและร่วมกันเดินหน้าคัดค้านการทำเหมือง โดยนายคำปัน คำประวัน สจ. อ.แม่สะเรียง กล่าวว่า เป็นแค่การหารือร่วมกันเท่านั้นยังไม่มีความคืบหน้าอะไรเพราะต้องรอสำนักงานอุตสาหกรรม แต่ประธานได้แจ้งเรื่องที่มีชาวบ้านคัดค้านการทำประชาคมเพื่อส่งเอกสารให้ทางสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดประกอบการพิจารณาต่อไป

ขณะที่ ดร.ทองทิพย์ แก้วใส แกนนำชุมชนคัดค้านการทำเหมือง อ.แม่สะเรียง กล่าวถึงการหารือว่า ในฐานะเป็นชาวแม่สะเรียงซึ่งทางสำนักงานอุตสาหกรรม จ.แม่ฮ่องสอน มีประกาศให้ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยเหตุประการใดแสดงตัวด้วยการส่งหนังสือไป จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ได้รับคำตอบว่าจะตัดทอนการขอประทานบัตรให้บริษัทเอกชนหรือไม่

“ผมเป็นประธานการประชุมเมื่อเช้าและแสดงความต้องการที่จะตัดทอนความร่วมมือทุกอย่างที่ต้องดำเนินการกับบริษัท เมื่อครบ 30วันแล้วมารับฟังความคิดเห็น ถ้าตัดทอนโดยไม่ให้ความร่วมมือเลยจะทำให้เดินหน้าไม่ได้ แต่ทางคุณประเทือง อาจองกุล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกาศ ที่ร่วมหารือด้วยกันบอกว่า ถ้ามีหนังสือส่งมาให้ไปร่วมรับฟังความเห็นแล้วไม่ไป ก็จะผิดตามมาตรา 157 ก็เลยสรุปกันว่า ถ้าต้องทำต้องมีวิธีการตัด ซึ่งผู้ใหญ่บ้าน อบต. เทศบาล ทั้ง 2 หมู่บ้านต้องคุมให้ทุกคนคัดค้าน 100 เปอร์เซ็นต์ ผู้นำชุมชนต้องคุมให้อยู่” ดร.ทองทิพย์ กล่าว

ด้าน นายพัทธพงษ์ อ่างทอง วิศวกรชำนาญการประจำสำนักงานอุตสาหกรรม จ.แม่ฮ่องสอน กล่าวว่า วันนี้ครบ 30 วัน หลังติดประกาศแจ้งให้ผู้ได้รับผลกระทบในที่ดินทำกินมาแสดงตัว ซึ่งผลปรากฏว่าไม่มีใครคัดค้านในกรณีที่ดิน

“การที่ชาวบ้านชุมนุมก็คือไม่อยากให้มีประทานบัตร แต่จะนำมาใช้คัดค้านเรื่องที่ดินทำกินไม่ได้ หลังจากนี้ทางสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดจะต้องเร่งให้มีการรับฟังความคิดเห็นภายใน 60 วัน ซึ่งถ้าจะคัดค้านการขอประทานบัตรก็ต้องในขั้นตอนนี้ คือที่ผ่านมาชาวบ้านทำล้ำไปขั้นหนึ่ง เมื่อทำไปแล้วก็ไม่เสียหายอะไร แต่ไม่เป็นผลให้ต้องหยุดการขอประทานบัตร เอกสารที่ยื่นมาก็ไม่ได้หายไป เพียงแต่ขั้นตอนรับฟังความคิดเห็นประชาชนที่จะคัดค้านต้องมีพื้นที่อาศัยทำกินอยู่ในรัศมีพื้นที่ขอประทานบัตร 500 เมตร และต้องเข้าใช้สิทธิในที่ประชุมด้วย” นายพัทธพงษ์ กล่าว

ส่วนกรณีที่ชาวบ้านจะไม่ให้ความร่วมมือใดๆในขั้นตอนรับฟังความคิดเห็นเพื่อหยุดขั้นตอนไม่ให้ไปถึงการทำประชามตินั้น วิศวกรชำนาญการประจำสำนักงาน ยืนยันว่าเป็นเรื่องที่ผิดมากๆ และอาจตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มคนที่ต้องการให้มีเหมืองหิน หรือหลงเชื่อคนที่ปล่อยข่าวลือจนสุดท้ายผู้ประกอบการได้ผลประโยชน์

“ผมได้ยินมาว่าจะไม่ให้ชาวบ้านเข้ามาในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็น หรือข่าวลือว่าการมาเข้าประชุมร่วมรับฟังความเห็นเป็นการยอมรับให้มีเหมือง นี่เป็นเรื่องเข้าใจผิดเป็นเรื่องผิดมากๆ จะทำให้ประชาชนหลงกลแล้วกลายเป็นไม่มาใช้สิทธิคัดค้าน การมาคัดค้านในขั้นตอนนี้จะเข้าสู่การพิจารณาได้ ยิ่งถ้าชาวบ้านไม่อยากให้มีประทานบัตร ไม่อยากให้มีเหมือง ก็ยิ่งต้องมาเพราะผู้ประกอบการจะต้องฟังข้อเสนอแนะของชาวบ้าน หากเขาจะทำก็ต้องเป็นข้อตกลงที่ประชาชนยอมรับ ยังไงก็ต้องเข้าไปในที่ประชุม แล้วไม่จำเป็นต้องยกขบวนอะไรเลยครับ ถ้าเสียงส่วนใหญ่บอกไม่เอาประทานบัตรก็ออกไม่ได้ แต่ถ้าไม่มีชาวบ้านเข้าไปประชุมก็คือไม่คัดค้านเลยที่ประชุมก็จะผ่านขั้นตอนนี้ไปแล้วชาวบ้านจะไปคัดค้านอะไรไม่ได้แล้ว แล้วต่อให้สมมุติว่าที่ประชุมผู้คัดค้านมีเปอร์เซ็นต์น้อยกว่า การประชุมจะถูกนำมารวบรวมข้อมูลแล้วจึงจะทำประชามติ” นายพัทธพงษ์ กล่าว

ทั้งนี้นายพัทธพงษ์ให้ความเห็นว่าการขอประทานบัตรของบริษัทเป็นการทำตามขั้นตอนกฎหมายที่รัฐธรรมนูญให้สิทธิ การไปชุมนุมคัดค้านชาวบ้านอาจจะทำผิดกฎหมายเสียเอง อยากให้ชาวบ้านใช้สิทธิตามกฎหมายออกมาคัดค้าน

“การมีส่วนร่วมสำคัญที่สุด บริษัทจะมาชี้แจงว่าจะทำกิจการด้วยวิธีใด ถ้าเขาจะใช้ระเบิด เราต้องไปบอกว่าไม่เอา ผู้ประกอบการเหมืองเขากำลังใช้สิทธิที่รัฐธรรมนูญอนุญาตให้ทำโดยประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมด้วย สิทธิจะเกิดได้เราต้องใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ให้สิทธิทั้ง 2ฝ่าย ให้ผู้ประกอบการได้ชี้แจง และประชาชนได้โต้แย้ง” วิศวกรชำนาญการประขำสำนักงานอุตสาหกรรม จ.แม่ฮ่องสอนกล่าว

อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนหลังจากนี้คือการประสานหาสถานที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ภายในเวลา 60 วัน ขั้นตอนต้องเสร็จสิ้น แต่ถ้าหากการรับฟังความคิดเห็นระหว่างชาวบ้านกับประกอบการยังไม่สามารถมีข้อยุติ หรือยังต้องรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมก็จะสามารถเลื่อนได้อีก 60 วัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาวสาละวิน ร้อง กสม. หลังถูกอุทยานฯยึดที่ดิน-ดำเนินคดี เรียกค่าเสียหาย 2.3 แสน

ชาวบ้านหมู่บ้านแม่ก๋อน หมู่ที่ 5 ต.แม่คง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน กว่า 20 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงซึ่งอาศัยอยู่และทำกินในป่าบริเวณนี้มาก่อนอุทยานแห่งชาติสาละวิน ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อ

10 กองทุนสวัสดิการชุมชนดีเด่นรับรางวัล ‘ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์’ (3) กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลแม่ฮี้ จ.แม่ฮ่องสอน “คนเมืองปายสุขภาพดี 80 ปียังแจ๋ว”

ในปี 2567 ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ข้อมูลจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ระบุว่าในปี 2566 ประเทศไทยมีประชากรอายุ

ชาวกาญจนบุรี ร้องตรวจสอบโรงโม่หิน ฝุ่นฟุ้งกระจาย หน่วยงานรัฐแจงไม่พบมลพิษ

ผู้สื่อข่าวได้เดินทางลงพื้นที่ตรวจสอบ พบว่า มีโรงโม่ในบริเวณเทือกเขาแรต ต.ปากแพรก อ.เมืองกาญจนบุรี และ ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี มีการประกอบการเดินเครื่องโม่บดละเอียดทำให้มีฝุ่นลอยฟุ้งในอากาศจำนวนมาก

ชาวเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ร้องศาลปกครองเพิกถอน 'อีไอเอ' โครงการแสนล้าน 'ผันน้ำยวม'

นายวันไชย ศรีนวน ผู้ใหญ่บ้านแม่งูด ต.นาคอเรือ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่าประชาชนที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล (แนวผันน้ำยวม) ใน จ.เชียงใหม่ และ จ.แม่ฮ่องสอน

จังหวัดแม่ฮ่องสอน-กระทรวง พม.ช่วยผู้ประสบภัยน้ำป่า เตรียมสร้างบ้านชั่วคราว 49 หลังที่บ้านแม่ตอละ อ.สบเมย

แม่ฮ่องสอน / จากเหตุการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมเป็นต้นมา จนถึงวันที่ 3 สิงหาคม