‘ม็อบเด็ก’งัด‘ยุทธวิธี’รบยืดเยื้อ สู้ทั้งที่รู้ว่า‘ไม่ชนะ’

มีความเห็นแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย หลังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้แกนนำคณะราษฎรที่ชุมนุมปราศรัยเมื่อวันที่ 10 ส.ค.63 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต เป็นการล้มล้างการปกครองฯ

ฝ่ายหนึ่งมองว่า เป็นการเตือน ม็อบ 3 นิ้ว อย่าแตะต้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ในขณะที่ฝ่ายมั่นคงน่าจะบังคับใช้กฎหมายกับกลุ่มผู้ชุมนุมเข้มข้นขึ้น ทำให้แกนนำต้องกลับไปตั้งหลักเพื่อกำหนดทิศทางต่อสู้ใหม่ ส่งผลให้อุณหภูมิความร้อนแรงของการเมืองนอกสภาลดลง

แต่อีกฝ่ายหนึ่งมองว่า คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการเติมไฟให้การชุมนุมจะเริ่มมีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นการกระชากหน้ากาก ปฏิรูป เป็นแค่วาทกรรม พร้อมทั้งเลิกประนีประนอม ปิดประตูตายในการเจรจา 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเคลื่อนไหวเครือข่ายภาคประชาชนในนาม กลุ่มไม่เอาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่ออกยืนยันข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันฯ 10 ข้อ ไม่ได้มีเจตนาล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ได้ชุมนุมเมื่อวันที่ 14 พ.ย.2564 แม้จะไม่ได้มีมวลชนออกมาชุมนุมอย่างมืดฟ้ามัวดินอย่างที่คาดการณ์กัน แต่ก็เห็นถึงเค้าลางของความรุนแรงที่กลับมาปะทุขึ้นอีกครั้ง

เมื่อฝ่ายม็อบ “ถอดรหัส” อีกฝ่าย ประกาศชักธงรบชัดเจน จึงไม่จำเป็นต้อง “กระมิดกระเมี้ยน” ในการใช้คำที่ต้อง “ตีความ” อีกต่อไป จึงไม่แปลกที่ ยุทธศาสตร์ การชุมนุมเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา จะเคลื่อนไหวในนาม “กลุ่มไม่เอาระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์” ยกระดับที่ “ระบอบ” และ “โครงสร้าง” มากกว่าตัวบุคคลหรือสถาบันฯ ที่มีการกล่าวอ้างกัน

เพียงแต่ ยุทธวิธี ในการรบของม็อบก็คงไปได้ไม่ไกลมากกว่านี้ ด้วยเหตุผล 3 ประการ

- การชุมนุมปราศรัย ขยายแนวคิด-อุดมการณ์ ขัดกฎหมาย รัฐธรรมนูญ เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ดำเนินคดีอย่างต่อเนื่อง ทำให้แนวร่วมบางส่วนที่เริ่มอ่อนล้า โดยเฉพาะแกนนำม็อบ 3 นิ้ว ที่นำทัพในการชุมนุมเดินเข้า-ออกคุก เป็นว่าเล่น 

- “กลุ่มฮาร์ดคอร์–การ์ด” ถูกจับกุม-คุมขัง ดำเนินคดีเช่นกัน บางส่วนถอยไปตั้งหลัก บางส่วนยังคง “เสพติดความรุนแรง” และเชื่อมั่นในแนวทาง “อนาธิปไตย” จะนำไปสู่ชัยชนะ หลังทุกทางในการเรียกร้อง “ถูกปิดตาย” แต่ขณะเดียวกัน “ความรุนแรง” ก็เป็นตัวบั่นทอน ทำลายมวลชนให้ถอยห่างจากการชุมนุม

- กลุ่มต่อต้านในโลกโซเชียลมีเดีย เป็นกลุ่มที่มีพลังในการขยายมวลชนได้มาก แต่เริ่มตั้งหลัก เรียนรู้ ในการสื่อสารอย่างระมัดระวัง เพราะไม่ต้องการถูกฟ้องร้อง ดำเนินคดี กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ไม่ค่อยเห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง จึงใช้วิธีในการสื่อสารทางความคิดบนคีย์บอร์ดแทน

แต่อย่าลืมว่า ม็อบเด็ก ยุคดิจิทัล สามารถเรียนรู้และเท่าทันกับเหล่าบรรดา “นักคิด-นักวิจารณ์” ทั้งหลายได้ ไม่เหมือนแกนนำยุคเก่า ที่ยังต้องพึ่ง “นักวิชาการ-อาจารย์" เป็นผู้นำทางในการต่อสู้ กำหนดประเด็นในการเคลื่อนไหวเสียทั้งหมด เหล่าบรรดา “ศาสดา” ที่ถูกมองว่าชี้นิ้วบงการ ในความเป็นจริงอาจเป็นแค่เครื่องจักรผลิตชุดข้อมูลให้เท่านั้น

เพราะ “ม็อบเด็ก” มีความเป็นตัวของตัวเอง และเชื่อมั่นในการต่อสู้ อาจถึงขั้นว่า ไม่ค่อยฟังใคร แม้รู้ว่าสู้ไปก็ยากที่จะชนะ โดยเฉพาะในช่วง 3-5 ปี ที่โครงสร้างในระบอบฯ ปัจจุบันยังเข้มแข็ง และยังมีประชากรรุ่นเก่า-รุ่นกลาง ที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินแต่ก็ยังฝืนเดินหน้าสู้ต่อไป

แม้จะมีคำแนะนำ ข้อเสนอแนะ ให้ลดเพดานและปรับ  “ยุทธวิธี” ใหม่ เพื่อออมกำลัง-รอเวลาที่เหมาะสม แต่ก็เหมือนยิ่งห้ามยิ่งยุ

 จึงไม่แปลกถ้าการต่อสู้นับจากนี้จะขยับและยกระดับความเข้มข้นในประเด็นที่หมิ่นเหม่ สุ่มเสี่ยงผิดกฎหมายไปเรื่อยๆ จนกว่าฝ่ายตรงข้ามจะโรยรา-เพลี่ยงพล้ำไปเอง

ขณะที่ “ขาแรง” ที่เชื่อในวิธีสร้างความวุ่นวายเพิ่มมากขึ้น  ให้เกินกว่าที่รัฐจะควบคุมได้ ยังคงเดินหน้าปะทะกับเจ้าหน้าที่ ด้วยความเชื่อว่า “ตำรวจ-ทหาร” ควรอยู่ข้างประชาชน ไม่ใช่มุ่งรับใช้ผู้มีอำนาจเท่านั้น

บรรยากาศการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมที่ “ปักธง” เปลี่ยนโครงสร้างในขณะนี้ จึงดำรงอยู่แบบทรงๆ ยากที่จะเพิ่มมวลชน หรือไปผนึกรวมกับ "ม็อบการเมือง” ที่หวังโค่นล้มรัฐบาล “รัฐบาลบิ๊กตู่” ซึ่งกลุ่มหลังนี้นับวันยิ่งถอยห่าง และไม่ยุ่งเกี่ยวกับประเด็นที่คาบเกี่ยวกับความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

สถานการณ์ในปัจจุบันจึงเปรียบเหมือนการประกาศสงครามที่ชัดเจนขึ้นของม็อบสามนิ้ว ภายใต้ความได้เปรียบของคู่ต่อสู้ ที่พรั่งพร้อมไปด้วยสรรพกำลัง ความชอบธรรม ตามระบอบ และกฎหมายทุกประการ

 ในช่วง 3-5 ปีนี้ “ยุทธวิธี” ที่ใช้ ไม่น่าจะได้รับชัยชนะหรือเปลี่ยนแปลงอะไรได้มากนัก คงทำได้แค่ “ปักธง” กล่าวถึงสถาบันฯ ในทุกพื้นที่สาธารณะมากขึ้น รอคนในรุ่นถัดไปมารับไม้ต่อข้อเรียกร้องทะลุเพดานที่จุดพลุไว้ในช่วงนี้. 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'รัฐสภา' มีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความอำนาจรัฐสภา ปมจัดทำรธน.ฉบับใหม่

“รัฐสภา” มีมติส่งศาลรธน.ตีความอำนาจตัวเอง ปมแก้รธน.ฉบับใหม่ ด้าน“วันนอร์”แจงยิบ ยึดตาม”ชวน”เคยวินิจฉัยร่างของ”สมพงษ์”มาแล้ว ชี้เป็นหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาวินิจฉัยเพื่อไปต่อแล้วไม่ล้ม ไม่เสียของ

'ก้าวไกล' งดออกเสียงญัตติส่งศาลวินิจฉัยอำนาจรัฐสภา 'ชัยธวัช' ด่าศาลรธน.

การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาญัตติ เรื่องขอให้

'อดิศร' ซัดแรงมีรัฐสภาไปทำพระแสงอะไร จะแก้รัฐธรรมนูญ ยังให้ศาลวินิจฉัยอำนาจประชาชน

นายอดิศร เพียงเกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า อำนาจตุลาการ และอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร แยกกันและถ่วงดุลกัน ไม่ใช่คล่อมเลน มีบางครั้งจะยื่นญัตติได้ต้องรอศาลรัฐธรรมนูญ ถามว่าเกิดอะไรขึ้น นั่นฝ่ายตุลาการ แต่เราฝ่ายนิติบัญญัติ เราคิดของเราเองได้

'เอกนัฏ' พร้อมหนุนญัตติเพื่อไทย ถามศาลรธน. บรรจุวาระแก้รธน. แต่ต้องไม่แตะหมวด 1,2

"เอกนัฏ" หนุนถามศาล รธน. แต่ขอเพื่อไทยวางหลักประกัน ไม่แตะหมวด 1-2 แก้รายมาตรา ป้องรัฐธรรมนูญ 60 ไม่ใช่ผลพลอย รปห. ชี้ หากแก้เกือบทั้งฉบับ จะเสียของดี

'รัฐสภา' ถกบรรจุวาระจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ 'ก้าวไกล' หนักใจยื่นดาบให้ศาลรธน.อีกแล้ว

ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาญัตติ เรื่องขอให้รัฐสภามีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 (2) ของนายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และคณะ เป็นผู้เสนอ

ลากไส้องค์กร'สีกากี'ยิ่งแฉยิ่งเละ ถึงเวลาปฏิรูปตำรวจกู้ภาพลักษณ์

เละ! ตายตามกันไปข้าง ศึกภายในรั้ว “กรมปทุมวัน” ถึงแม้ “บิ๊กต่อ” พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร.และ “บิ๊กโจ๊ก” พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร.จะถูกโยกไปช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี แต่ศึก “นอมินี” แทงฟันกันเลือดสาดไม่มีใครยอมใคร อย่างที่ ทีมทนาย “รองฯ โจ๊ก” เตือนก่อนที่ความขัดแย้งจะบานปลายมาจนถึงปัจจุบัน “ไม่ยอมตายเดี่ยว”