‘กกต.’ รอดหรือร่วง คุมสนามเลือกตั้งใหญ่ 66

ย่างก้าวปี พ.ศ.2566 ปีกลองเลือกตั้งดังสนั่นรอบทิศ บรรดาพรรคการเมืองทั้งพรรคเล็ก  พรรคใหญ่ ต่างเปิดตัวผู้สมัคร สมาชิกพรรค นโยบายพรรค กันอย่างเอิกเกริก และตั้งตารอคอยเพื่อลงสนามสู้ศึกเลือกตั้งที่มาถึงในไม่กี่อึดใจ ที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ โดยโดยสภาชุดนี้จะครบวาระในวันที่ 23 มี.ค.นี้

แต่ละฝ่าย แต่ละฝั่ง ฝ่ายเริ่มขยับไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง ซึ่งอยู่ในฐานะผู้เล่น ลงพื้นที่กันอย่างหนักเช็คฐานเสียงของตัวเอง โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย ที่เริ่มมีการติดป้ายหาเสียง และได้จัดโร๊ดทัวร์ทั้งเหนือ อีสาน และภาคใต้ อ้อนประชาชนลงคะแนนให้หวังได้เป็นพรรคจัดตั้งรัฐบาล

 ฝั่งพลังประชารัฐได้ธรรมนัส พรหมเผ่า เล่นใหญ่นำพรรคพวกตัวเองคุกเข่าอ้อนพล.อ.ประวิตร์ วงษ์สุวรรณ กลับบ้านหลังเก่าช่วยงานบิ๊กป้อม ขณะปราศรัยที่จ.พะเยา ส่วนพรรครวมไทยสร้างชาติได้ประกาศตัวพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นสมาชิกพรรคคนใหม่อย่างเป็นทางการ

ด้านคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในฐานะกรรมการผู้ตัดสิน งานหนักเป็นพิเศษเพราะต้องเตรียมความพร้อม และทำให้การเลือกตั้งครั้งหน้าเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยได้มีการประสานการปฏิบัติงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการบริหารจัดการการเลือกตั้ง สำรวจจำนวนหน่วยเลือกตั้ง โดยให้ กกต.ประจำจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ประสานข้อมูลกับสำนักทะเบียนในพื้นที่ เพื่อขอทราบจำนวนหน่วยเลือกตั้ง โดยประมาณในภาพรวมของจังหวัด เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ด้านงบประมาณ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ในการเลือกตั้ง

ส่วนในเรื่องการลงคะแนนเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง ได้สำรวจสถานที่ที่กำหนดเป็นสถานที่ลงคะแนนเลือกตั้งกลางนอกเขตเลือกตั้ง โดยคำนึงถึงสถานที่ที่ประชาชนเข้าออกได้ง่าย มีความสะดวก เหมาะสม รวมทั้งนำข้อมูลการใช้สิทธิ ลงคะแนนเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งในการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งล่าสุดมาประกอบพิจารณา กรณีกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล ที่มีการขอลงทะเบียนใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งครั้งล่าสุดเป็นจำนวนมาก แต่สถานที่ลงคะแนนคับแคบ และมีสภาพปัญหาการจราจร ให้พิจารณากำหนดสถานที่ลงคะแนนเลือกตั้งกลางในพื้นที่ใกล้เคียง ภายในเขตเลือกตั้ง เพื่อเป็นสถานที่ลงคะแนนกลาง (สำรอง)

หากเกิดกรณีมีผู้มาขอลงทะเบียนใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ที่ลงคะแนนเลือกตั้งกลาง (หลัก) ในระบบการลงทะเบียนทางอิเล็กทรอนิกส์เต็มตามจำนวนที่กำหนดไว้แล้ว จะได้มีสถานที่ลงคะแนนเลือกตั้งกลาง ที่อยู่ใกล้เคียงรองรับจำนวน ผู้ที่ขอลงทะเบียนใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง

นอกจากนั้น ยังมีการเตรียมการจัดให้มีการเลือกตั้งสำหรับคนพิการ หรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุ ได้ประสานไปยังผู้อำนวยการ กกต.ประจำจังหวัด ที่มีสถานสงเคราะห์ของรัฐ ตามประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อสำรวจความพร้อม ทั้งด้านสถานที่ และบุคลากรที่ทำหน้าที่คณะกรรมการประจำที่เลือกตั้งพิเศษ ในการจัดที่เลือกตั้งพิเศษสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุซึ่งผลสำรวจข้อมูลเมื่อวันที่ 14 พ.ย. พบว่า มีสถานที่ที่พร้อมจัดเป็นที่เลือกตั้งพิเศษ สำหรับผู้พิการ หรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุ จำนวน 28 แห่ง ในพื้นที่ 23 จังหวัด

ส่วนการแบ่งเขตเลือกตั้งได้มีการเตรียมความพร้อมมาแล้วหลายเดือน โดยในส่วนของ กทม. เตรียมข้อมูลต่าง ๆ ไว้พร้อมครบหมดแล้ว ตั้งแต่ ก.พ. 2565 ทั้งเรื่องแนวเขตต่าง ๆ ข้อกฎหมายและระเบียบข้อกำหนด รวมทั้งจำนวนราษฎรที่เราเตรียมการไว้ โดยอาศัยข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2564 มีการเตรียมการไว้หลายรูปแบบ เพื่อให้ กกต.ได้ใช้ดุลยพินิจเลือกรูปแบบที่เหมาะสมที่สุด

อย่างไรก็ตามในปีนี้เมื่อจำนวนราษฎรที่ประกาศใหม่เมื่อวันที่ 31 ธ.ค.2565  กกต.จะใช้จำนวนราษฎรที่ประกาศใหม่รายแขวง รายตำบล มาใส่ลงไปใหม่ว่าเขตเลือกตั้งที่กกต.ได้ทำออกมาหลายแบบนั้น ยังอยู่ในเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ เบื้องต้นขณะนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ และได้เร่งแบ่งเขตกันอย่างจริงจังแล้ว แต่ยังไม่สามารถประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งได้ เพราะต้องรอพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกาศใช้บังคับเสียก่อน

 ดังนั้นในเมื่อขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายรองรับ กกต.จึงได้แต่เตรียมการไว้ก่อน แต่เมื่อ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มีผลบังคับใช้ และมีระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อนั้นการแบ่งเขตก็จะปรากฏออกมา ไม่ช้าไม่นาน และเมื่อได้รูปแบบการแบ่งเขตชัดเจนแล้วไม่น้อยกว่า 3 รูปแบบ ขั้นตอนต่อไปก็คือ ประกาศรับฟังความคิดเห็นจากพรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และประชาชนในเขตนั้น ๆ ในเวลา 10 วัน ก่อนที่จะเสนอให้บอร์ดกกต.เลือกรูปแบบที่ชัดเจน

นอกจากนี้ กกต.ยังได้มีการจัดชุดติดตามความเคลื่อนไหวพรรคการเมือง และว่าที่ผู้สมัครส.ส.ในการหาเสียงตามจังหวัดต่างๆในช่วงนี้ ซึ่งไม่นานมานี้เลขาฯกกต.ได้มีการพูดคุยกับผอ.กกต.ทััง 77 จังหวัด ได้ย้ำกำชับให้คอยสอดส่องการหาเสียงบรรดานักการเมือง  เพราะขณะนี้อยู่ในช่วง 180 วันก่อนการเลือกตั้ง ที่เริ่มนับตั้งแต่เดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งถือว่ามีข้อห้ามหลายอย่างที่มาควบคุมนักการเมือง  อาทิสามารถไปร่วมงานประเพณีได้ แต่ห้ามให้เงินหรือทรัพย์สินต่างๆ ห้ามเกณฑ์คนมาช่วยหาเสียงโดยได้รับค่าตอบแทน นอกจากนี้ไม่สามารถมอบสิ่งของช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ เช่น อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย โรคระบาด

แต่เรื่องที่กกต.ต้องจับตาเป็นพิเศษคือการหาเสียงผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อย่าง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ข้าราชการการเมือง เพราะแม้ว่าจะจะมีกฎเหล็กควบคุมพรรคฝ่ายรัฐบาล แต่ตำแหน่งทางฝ่ายบริหารในรัฐบาลเช่นรัฐมนตรี สามารถกุมความได้เปรียบใช้ตำแหน่งของตัวเองลงพื้นที่หาเสียง สร้างความได้เปรียบให้กับตัวเองได้ ซึ่งเรื่องดังกล่าวเหล่านักการเมืองที่มีตำแหน่งอยู่ในรัฐบาลก็ได้มีการระมัดระวังเรื่องนี้เช่นกัน เพราะสุ่มเสี่ยงต่อการโดนร้องเช่นกัน เพราะการหาเสียงในขณะนี้เข้มข้นพอสมควร จึงเป็นหน้าที่ของกกต.ที่จะต้องคอยสอดส่องให้อยู่กับร่องกับรอย

ทั้งนี้มีประเด็นดราม่าอยู่เหมือนกัน กับกรณีที่กกต.ไม่เห็นชอบระบบการรายงานผลการเลือกตั้งส.ส.อย่างไม่เป็นทางการ และระบบรับสมัครเลือกตั้งออนไลน์ โดยกกต.มองว่าเมื่อเกิดปัญหาระบบรายงานผลล้ม มีการโจมตีระบบ ไม่มีผู้รับผิดชอบกลายเป็นปัญหาตกมาที่กกต.เสียเอง ซึ่งเกิดปัญหาดังกล่าวเมื่อปี 2562 จึงเป็นสังเกตของประชาชนว่าอาจจะทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือไม่

หลังจากนี้จะต้องจับตาว่ากกต.จะมีวิธีไหนที่จะสามารถรายงานผลอย่างไม่เป็นทางการได้บ้าง เพราะทุกเรื่องที่เตรียมการมาถือว่าทำได้ดี แต่ในส่วนนี้จะต้องติดตามกันต่อไปว่าประชาชนจะสามารถลุ้นผลได้แบบเรียลไทม์ได้หรือไม่.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘บิ๊กโจ๊ก’ดิ้นสู้หัวชนฝา ยื้อแผน‘ฆ่าให้ตาย’

ความเคลื่อนไหวของ บิ๊กโจ๊ก-พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เที่ยวล่าสุด ถือเป็นการเขย่าวงการการเมือง ตำรวจ และองค์กรอิสระ

กองทัพโดดเดี่ยวในวงล้อม การเมืองไล่บี้ ผ่านปฏิรูป-แก้กม.

มีความเห็นและปฏิกิริยาทางการเมืองตามมา หลังมีการออกมาเปิดเผยจาก “จำนงค์ ไชยมงคล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกลาโหม (สุทิน คลังแสง) รับผิดชอบงานด้านกฎหมายและประชาสัมพันธ์” ที่เปิดเผยว่า ที่ประชุมสภากลาโหมเมื่อ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา รับทราบร่างแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่...) พ.ศ...

'ทักษิณ-โจ๊ก'ย่ามใจ! จุดจบเส้นทาง'สีเทา'

ช่วงเทศกาลสงกรานต์มีความเคลื่อนไหวของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ระหว่างการพักโทษ เดินทางมาร่วมเทศกาลสงกรานต์ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีรัฐมนตรี แกนนำพรรคเพื่อไทย (พท.) และ สส.ของพรรค ร่วมรับประทานอาหารกับนายทักษิณอย่างคึกคัก

ประธาน กกต. แจงความคืบหน้าเลือก สว. ชุดใหม่

นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกกต. กล่าวถึงความคืบหน้าของระเบียบ และประกาศกกต. เกี่ยวข้องกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ว่า เสร็จไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ โดยมี 1 ฉบับที่ส่งไปแล้ว และอยู่ระหว่างการ

7 เดือน ‘รัฐบาลเศรษฐา’ เผชิญแรงบีบรอบด้าน!

แม้จะยังไม่ผ่านโค้งแรกในการบริหารประเทศของรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่เริ่มต้นทำงานได้เพียง 7 เดือน แต่ก็เหมือนถูกบีบจากสถานการณ์รอบด้าน ที่เข้ามาท้าทายความสามารถของผู้นำประเทศ อีกทั้งยังมีภาพนายกฯ ทับซ้อนที่ทำให้นายกฯ นิดดูดร็อปลงไป