ภายหลังปรากฏผลคะแนนเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) อย่างไม่เป็นทางการ ค่อนข้างเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า พรรคประชาชน (ปชน.) ได้ผู้ชนะนายก อบจ.เพียง 1 คน จากการส่ง 17 ผู้สมัคร ในการเลือกตั้ง 47 จังหวัด
ขณะที่จำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) ทั่วประเทศ ได้รับความไว้วางใจทั้งหมด 132 คน จาก 33 จังหวัด แบ่งเป็น จังหวัดที่พรรคส่งผู้สมัครนายก อบจ. 80 คน และจังหวัดที่พรรคไม่ได้ส่งผู้สมัครนายก อบจ.อีก 52 คน
โดย นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน เอ่ยคำขอโทษว่า "พวกเราอาจจะยังรณรงค์ในการให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในระดับท้องถิ่น หรือ อบจ. ไม่แข็งขันพอ ทำให้ในวันนี้ เราอาจจะยังมีนายก อบจ.ที่ไม่มากพอ”
พร้อมย้ำความเชื่อมั่นว่า “อบจ.จังหวัดลำพูน จะเป็นสนามแรกที่จะพิสูจน์ให้กับประชาชนเห็น ว่าการทำงานการเมืองท้องถิ่นตามแบบฉบับของพรรคประชาชน จะสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับประชาชนชาวไทยทั่วทั้งประเทศได้"
ด้าน นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้าและอดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ พยายามปลอบใจฐานเสียง "จาก 0 มา 1 ถือว่าชนะเยอะแล้ว แม้ไม่เป็นไปตามเป้าที่คาด แต่หลายคนในพรรคก็ยังรู้สึกดีใจที่มีโอกาสได้ทำงาน เรียกว่าแพ้ไม่ได้แน่นอน"
ก่อนมองภาพใหญ่ในปี 70 ว่า "ผลการเลือกตั้งที่ออกมานี้ คะแนนนิยมเพิ่มขึ้นแน่นอน แต่จะเกิน 250 หรือเปล่า ไม่รู้ เพราะไม่มีจังหวัดไหนที่ได้น้อยกว่าปี 63"
ขณะที่ นายศรายุทธิ์ ใจหลัก เลขาธิการพรรค ปชน. กล่าวถึงปรากฏการณ์ ‘Saturday Effect’ สำหรับการเลือกตั้งในวันเสาร์ ว่าเมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ดู พบสิ่งที่น่าสนใจ คือมีจำนวนสัดส่วนผู้มาใช้สิทธิ์ลดลง จาก 62 เปอร์เซ็นต์ เหลือเพียง 55 เปอร์เซ็นต์ หรือหายไปกว่า 2,100,000 คน ซึ่งจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ที่ลดลงนี้ ก็อาจจะส่งผลต่อคะแนนการเลือกตั้งด้วย
และยกตัวอย่าง จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิ์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ จันทบุรี ภูเก็ต นนทบุรี สมุทรปราการ สุราษฎร์ธานี ชลบุรี และระยอง ซึ่งล้วนแต่เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ของพรรค
โดยเฉพาะเชียงใหม่ นครนายก สมุทรปราการ ตราด และสมุทรสงคราม ที่มีคะแนนห่างกันไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์นั้น
ทำให้หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตมุมกลับว่า ควรจะย้อนกลับมามอง ‘การทำงานภายในพรรค’ เองมากกว่าหรือไม่ เนื่องจากหากจะอ้างเพียงจำนวนผู้ใช้สิทธิ์ ก็คงยังไม่เพียงพอ ‘สำหรับความพ่ายแพ้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า’
อาทิ ‘เปิดตัวผู้สมัคร อบจ.ช้า’ เนื่องจากกระบวนการคัดสรร จนมีเวลาแนะนำตัวไม่มากพอ ทำคะแนนสู้คู่แข่งในพื้นที่ไม่ได้ โดยเฉพาะการปิดจุดบอดใน ‘เขตรอบนอกเมือง’
‘การสื่อสาร’ เข้าไม่ถึงคนส่วนใหญ่ ที่ยังคงเป็นปัญหามาโดยตลอด ทั้ง ‘นโยบาย’ ที่ตัวผู้สมัครซึ่งเป็นคนนำเสนอเอง ยังเข้าใจไม่เท่ากัน และ ‘ประชาชนไม่มีส่วนร่วม’ เข้าไม่ถึงข้อมูล ไม่แม้กระทั่งรับรู้ รับทราบ เนื่องจากไม่มีการเผยแพร่ปราศรัย หรือผลงานของผู้สมัครเพียงพอ
‘ส่วนกลางดูแลไม่ทั่วถึง’ ทั้งด้านประสานงาน ตารางการลงพื้นที่ ไม่มีความชัดเจนแน่นอน หรือแม้แต่รายละเอียดเล็กน้อย อย่างป้าย จนหนีไม่พ้นการถูกแอบอ้าง
‘แย่งพื้นที่สื่อไม่ได้’ ซึ่งเห็นได้ชัดที่สุด ในวันที่ ‘นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี’ ลงพื้นที่
'ไม่มีการตลาดในการหาเสียง’ ใช้แนวทางเดิมๆ ตามการเลือกตั้งใหญ่ อาศัยพึ่งพาแกนนำหน้าเก่าลงพื้นที่ โดยเฉพาะ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ซึ่งเป็นบุคคลเดียวที่ยังคงรักษาสปอตไลต์ได้มากที่สุดในพรรค
จุดใหญ่ที่สุดคือ ‘พรรคคุมคนตัวเองไม่อยู่’ เนื่องจากการมีหลายกลุ่มก้อนของ สส. ทำให้ไม่มีความเป็นเอกภาพภายใน ตลอดจนความไม่กินเส้นกัน ระหว่างทีม อบจ.และ สส.เขต เนื่องจากแคนดิเดตที่ตัวเองหามา พรรคไม่เลือก จึงไม่ลงไปช่วย
เพราะหากมองเจาะไปในพื้นที่ 'นายวีระเดช ภู่พิสิฐ ว่าที่นายก อบจ.ลำพูน' เป็นหนึ่งในคนที่ได้ร่วมเดินทางมาตั้งแต่สมัยพรรคอนาคตใหม่ เคยอยู่ในทีมจังหวัด จนได้มาเป็นผู้สมัครของพรรคประชาชน จากการต่อสายตรงของ นายชัยธวัช ตุลาธน อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล
แต่ นายวีระเดช ก็ยังมีพื้นฐานจาก 'ตระกูลท้องถิ่น' เช่นเดียวกับคู่แข่ง เนื่องจากเป็น ‘บุตรชายของอดีตนายก อบจ.’ ซึ่งทำให้ได้แต้มต่อมากกว่าผู้สมัครคนอื่นมาก และทำให้การฟาดฟันในครั้งนี้ อาจจะใช้คำว่า 'โค่นบ้านใหญ่' ได้ไม่ถนัดปากนัก
สวนทางกับจังหวัดอื่นๆ ที่ผู้สมัครไม่ได้มีพื้นฐานทางการเมือง หรือได้รับแรงสนับสนุนมากเพียงพอ ทำให้แนวทาง ‘ขายนโยบาย’ เพียงอย่างเดียว ไม่สัมฤทธิผล เนื่องจากคนในพื้นที่ ‘ไม่ซื้อ’ ตัวผู้สมัคร
ทั้งนี้ การเลือกตั้งท้องถิ่น ระบบอุปถัมภ์ ยังฝังแน่น ประชาชนจะเลือกผู้สมัครที่มีความผูกพันกันในพื้่นที่ มากกว่าเลือกพรรคการเมืองหรือนโยบายทางการเมืองเหมือนการเลือกตั้งระดับชาติ แต่ปัจจัยภายในพรรคก็มีส่วนสำคัญในการเพิ่มคะแนนเสียง
ความหวังสุดท้ายคงต้องฝากไว้ที่จังหวัดลำพูน เมื่อได้อำนาจบริหารในมือแล้ว จะทำอะไรได้บ้าง โดยเฉพาะนโยบาย ‘น้ำประปาดื่มได้’ เพราะหากทำได้ไม่ดี หรือไม่สามารถทำผลงานจนเป็นที่ประจักษ์ได้จริง
จะทำให้ฐานเสียงเสียศรัทธามากกว่าเดิม และจะพาลกลายเป็น Butterfly Effect ในการเลือกตั้งครั้งต่อๆ ไปเช่นเดียวกัน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สแกนข้อมูล‘ฝ่ายแค้น’ แตกหักหรือแบล็กเมล
นอกจากบทบาทของพรรคประชาชน (ปชน.) ในการซักฟอกระหว่างวันที่ 23-24 มี.ค. ต่อ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ภายใต้ธีม “ดีลแลกประเทศ” ว่า สุดท้ายจะทำหน้าที่สมศักดิ์ศรีหรือไม่
โหมโรงศึกซักฟอก “ดีลแลกประเทศ”
ภายหลังที่ประชุม ‘วิป 3 ฝ่าย’ ได้ข้อยุติกรอบเวลาใน ‘การอภิปรายไม่ไว้วางใจ’ ทั้งหมด 37 ชั่วโมง ซึ่งจะเริ่มต้นในวันที่ 24 มี.ค. แบ่งเป็น ฝ่ายค้าน 17 ชั่วโมง ฝ่ายรัฐบาลรวมกับคณะรัฐมนตรี 3.5 ชั่วโมง และประธานในที่ประชุม 1 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 21.5 ชั่วโมง คาดว่าหากมีการเริ่มอภิปรายในเวลา 08.00 น. จะเลิกในเวลา 05.30 น. ของวันที่ 25 มี.ค.
ส่งกลับ“อุยกูร์”เกมเสี่ยงหวังผลสูง คว้ากระแสลมเปลี่ยนทิศ
เหตุผลสำคัญที่รัฐบาลพยายามอธิบายเรื่องการส่งชาวอุยกูร์กลับคืนให้ทางการจีน คือ “แรงบีบจากจีน”
จับตาศึกซักฟอก ไม่เอ่ยชื่อก็รู้ว่าใคร ตามต่อ “ฝ่ายค้าน” ขอเวลา จะสมหวังดั่งใจหรือไม่
เริ่มจะมีความชัดเจนขึ้นสำหรับเวทีอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 151 หรือที่รู้จักกันว่า เวทีซักฟอกรัฐบาล เพราะล่าสุด เมื่อวันที่ 17 มี.ค. “เท้ง” ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชน และผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ ได้แก้ญัตติซักฟอก โดยขีดทับชื่อ “ทักษิณ ชินวัตร” และคำว่า "ผู้เป็นบิดา" ออก และเปลี่ยนเป็นคำว่า "บุคคลในครอบครัว" แทน
โหวต 2 ตุลาการศาลรธน. สิริพรรณ-ชาตรี ลุ้นฝ่าด่าน สว.สีน้ำเงิน
การประชุมวุฒิสภาวันอังคารที่ 18 มีนาคม มีวาระการประชุมที่น่าสนใจคือ การโหวต
‘ทักษิณ’โวยใส่ฝ่ายค้าน ทิ้งปริศนาสายสัมพันธ์ ‘ผู้ก่อตั้งพรรคส้ม’
ต้องไปตามลุ้นกันอีกในสัปดาห์นี้ พุธที่ 19 มีนาคม ว่าสุดท้ายผลการเจรจาพูดคุยระหว่างแกนนำพรรคฝ่ายค้าน-วิปรัฐบาล เรื่องกรอบเวลาในการ