‘บัญชีกลาง’ หั่นค่ารักษาโควิด-19

“บัญชีกลาง” ปรับปรุงการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล กรณีผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวเสี่ยงหรือติดเชื้อโควิด-19 ให้สอดรับกับค่าบริการในปัจจุบัน

11 ม.ค. 2565 นางสาวกุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ปัจจุบันการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อยืนยันการติดเชื้อโควิด- 19 (Real Time PCR) และรายการค่ารักษาพยาบาลประเภทอื่น ๆ ปรับลดลง กรมบัญชีกลาง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสำนักงานประกันสังคม จึงได้หารือร่วมกันเกี่ยวกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราจ่ายค่าบริการดูแลผู้ป่วยโรคโควิด -19 เพื่อให้สอดคล้องกับบริการและต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง

โดยมีการปรับปรุงรายละเอียด ดังนี้ 1. การตรวจยืนยันการติดเชื้อโควิด- 19 กรณีการตรวจยืนยันการติดเชื้อด้วยวิธี Real Time PCR โดยการทำป้ายหลังโพรงจมูกและลำคอ ประเภท 2 ยีน ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,300 บาท จากเดิม 1,500 บาท กรณีการตรวจยืนยันการติดเชื้อด้วยวิธี Real Time PCR โดยการทำป้ายหลังโพรงจมูกและลำคอ ประเภท 3 ยีน ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,500 บาท จากเดิม 1,700 บาท

กรณี การตรวจการติดเชื้อด้วยวิธี Antigen test ด้วยเทคนิค Chromatography ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท จากเดิม 450 บาท กรณีการตรวจการติดเชื้อด้วยวิธี Antigen test ด้วยเทคนิค Fluorescent Immuunoassay (FIA) ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 400 บาท จากเดิม 500 บาท และกรณีการตรวจการติดเชื้อด้วยวิธีอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 400 บาท จากเดิม 550 บาท

2. ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล กรณีอาการเล็กน้อย (สีเขียว) ให้เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาทต่อวัน และไม่เกิน 10 วัน กรณีอาการปานกลาง (สีเหลือง) ให้เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 600 บาทต่อชุด และไม่เกิน 5 ชุดต่อวัน กรณีอาการรุนแรง (สีแดง) แบ่งเป็นกรณีใช้ Oxygen High Flow ให้เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 600 บาทต่อชุด ไม่เกิน 15 ชุดต่อวัน และกรณีใส่เครื่องช่วยหายใจ ให้เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 600 บาทต่อชุด ไม่เกิน 30 ชุดต่อวัน

3. ค่าห้องพักสำหรับควบคุมหรือดูแลรักษาผู้ป่วยอาการเล็กน้อย (สีเขียว) ในสถานพยาบาลของทางราชการ หรือสถานที่ที่สถานพยาบาลของทางราชการได้จัดหาไว้เป็นการเฉพาะ ให้เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาทต่อวัน จากเดิม 1,500 บาทต่อวัน ทั้งนี้ เบิกได้ไม่เกิน 10 วัน 4. ค่าทำความสะอาดฆ่าเชื้อบนรถพาหนะและค่าชุดป้องกันส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ ให้เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,400 บาท จากเดิม 3,700 บาท ต่อครั้งที่มีการส่งต่อหรือรับตัวผู้ป่วยแล้วแต่กรณี

5. การเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน (Home Isolation) หรือในสถานที่อื่น ๆ (Community Isolation) ได้แก่ ค่าบริการของสถานพยาบาลและการดูแลผู้ป่วยกรณีพักรอก่อนเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน ให้เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงวันละไม่เกิน 1,000 บาท ทั้งนี้ไม่เกิน 10 วัน จากเดิมไม่เกิน 14 วัน, ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องใช้ในการติดตามอาการผู้ป่วยซึ่งได้รับการรักษาพยาบาลที่บ้าน (Home Isolation) ให้เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,100 บาท และค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องใช้ในการติดตามอาการผู้ป่วยซึ่งได้รับการรักษาพยาบาลในสถานที่อื่น ๆ (Community Isolation) ให้เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 500 บาทต่อราย

อย่างไรก็ดี แนวปฏิบัติในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเสี่ยงหรือติดเชื้อโควิด- 19 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2565 เป็นต้นไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมบัญชีกลางขีดเส้นตาย 29 มี.ค.ให้หน่วยงานเร่งขอขยายเวลาเบิกจ่ายเงินปี 66

กรมบัญชีกลางย้ำให้หน่วยงานรัฐเร่งขอขยายเวลาเบิกจ่ายเงินปี 66 ให้ทันภายใน 29 มี.ค.2567 เพราะใกล้สิ้นสุดระยะเวลาการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีของงบประมาณปี 2566

'สรรพากร' ฟุ้งประชาชนแห่ยื่นภาษีคึกคักกางยอดผ่านออนไลน์เฉียด100%

“สรรพากร” เผยปีนี้แห่ยื่นแบบภาษีเงินได้คึกคัก กางยอดดำเนินการผ่านระบบออนไลน์แล้วเฉียด 100% พร้อมโชว์คืนภาษีแล้วใกล้ 1 ล้านแบบ

กรมบัญชีกลาง เปิดแผนเร่งรัดจ่ายเงินงบปี 67

กรมบัญชีกลางออกแนวทางปฏิบัติในการเตรียมการจัดซื้อจัดจ้างและการเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ปี 67 เพื่อให้หน่วยงานรัฐสามารถเบิกจ่ายงบได้ทันภายในปีงบประมาณ

'สรรพากร' ปักธงรีดภาษี 2.27 ล้านล้านหวังอานิสงส์มาตรการรัฐช่วยหนุน

“สรรพากร” ปักธงรีดภาษีปีงบ 2567 พุ่ง 2.27 ล้านล้านบาท หลังประเมินเศรษฐกิจโตเฉลี่ย3% มองอานิสงส์มาตรการรัฐช่วยหนุนผลงานฉลุยตามเป้าหมาย