สพฐ.ถือโอกาส'รุก'ทำแนวทางพัฒนาจัดการเรียนรู้ เติมเต็มการ'ถดถอย'จากช่วงเรียนออนไลน์

26 เม.ย.65-นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้ประชุมจัดทำแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หรือ Active Learning สู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ และการพัฒนาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) ของผู้เรียน ร่วมกับรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่เราได้เผชิญกับสถานการณ์ของโรคโควิด-19 ทำให้นักเรียนจำนวนมากพบกับภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ ซึ่งจากการวิจัยของสภาการศึกษา พบว่า นักเรียนในระดับต่างกัน จะพบภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เช่น ในระดับประถมศึกษา พบภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ในด้านความรู้ การอ่าน คณิตศาสตร์ และคุณลักษณะของนักเรียน ส่วนในระดับมัธยมศึกษา พบว่า มีความถดถอยทั้งในด้านความรู้ การเชื่อมโยงความรู้ สภาวะทางอารมณ์ สัมพันธภาพ โดยมีสาเหตุที่หลากหลาย

นางเกศทิพย์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สพฐ.ยังมีแนวคิดที่จะลดช่องว่างปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน ทั้งด้านความรู้พื้นฐานที่จำเป็น กระบวนการเรียนรู้ ทักษะชีวิต โดยดำเนินการเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรก เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้และเติมเต็มด้วยตนเองนอกห้องเรียน ด้วยการทำกิจกรรมในรูปแบบที่สนุกสนาน ส่วนที่สอง สร้างความเข้าใจและส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูผู้สอนในลักษณะของ Active Learning ที่ให้ความสำคัญกับสมรรถนะของผู้เรียน ซึ่งที่ประชุมได้มีการวิเคราะห์ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ ของนักเรียน และวิเคราะห์กรอบแนวคิดสำคัญของ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และภาษาต่างประเทศ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาถึงชั้นมัธยมศึกษา เพื่อออกแบบกิจกรรมสำหรับนักเรียน และจัดทำแนวทางการจัดการเรียนรู้ Active Learning ให้เกิดสมรรถนะ พร้อมทั้งเชื่อมโยงเนื้อหาให้มีความหมาย ทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าต่อสิ่งที่เรียนรู้และสามารถนำไปใช้ได้จริง

อีกทั้ง การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาด้วยการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนของครู ให้คำนึงว่าเราจะสอนอย่างไร โดยจัดการเรียนการสอนในแนวทางที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนและนักเรียน เช่น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการตัวชี้วัด บูรณาการข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพิ่มทัศนคติและคุณค่า ด้วยกระบวนการ Active Learning, การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Active Learning โดยเริ่มจากตัวอย่างที่ง่ายที่สุด ใกล้ตัวนักเรียนมากที่สุด มีความหมายกับนักเรียนมากที่สุด ให้เวลานักเรียนได้จัดระบบความคิดของตนเองต่อยอดจนเกิดความคิดสร้างสรรค์ และเกิดนวัตกรรมในที่สุด


“อย่างไรก็ตาม สพฐ. พยายามหาแนวทางที่หลากหลายให้กับครูในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว อย่างเช่นครั้งนี้ที่ทำในมิติของการเชื่อมโยงกับหลักสูตรให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เสมือนเป็นการเปิดโลกให้กับการเติม Learning Loss โดยสิ่งที่ต้องการเน้นย้ำ คือ การใช้วิกฤตให้เป็นโอกาสในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานการณ์ปัจจุบัน ถือเป็นช่วงนาทีทองที่จะพัฒนาคุณภาพนักเรียนตามเป้าหมายทั้งในระดับชาติและระดับสากล ผ่านกระบวนการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วย Active Learning”รองเลขาฯ กพฐ. กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"เสมา1" มอบ สพฐ. ใช้ระบบไอทีทำใบ ปพ.5 ช่วยลดขั้นตอนเอกสารของครูผู้สอน ใบสำคัญด้านการศึกษา หวังก้าวสู่องค์กรดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

เมื่อวันที่ 21 มี.ค. นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ตามที่ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ ได้มีนโยบายลดภาระครู ซึ่งจะเร่งผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หลุดกรอบการทำเอกสารของครูผู้สอนแบบเดิม

"รมช.สุรศักดิ์" ผนึกกำลัง​ สพฐ. ลงพื้นที่กระบี่ ย้ำโรงเรียนต้องปลอดภัย อาหารกลางวันต้องได้คุณภาพ พร้อมดันนโยบาย "เรียนดี มีความสุข" ต่อเนื่อง

เมื่อวันอาทิตย์​ที่ 21 มกราคม 2567 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ จ.กระบี่