ค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก 'ก่อลูกเอียด' ไม้หายาก พบเฉพาะพื้นที่ระนอง-พังงา

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกับ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก “ก่อลูกเอียด” ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา จ.ระนอง และอุทยานแห่งชาติศรีพังงา จังหวัดพังงา

24 มีนาคม 2564 - นายอรุณ สินบำรุง หัวหน้าสวนรุกขชาติเขาพุทธทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า เมื่อปี 2547 ขณะปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้ช่วยนักวิจัยโครงการวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้ระยะยาว สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกับ นายสุคิด เรืองเรื่อ นักพฤกษศาสตร์หอพรรณไม้ ลงพื้นที่วางแปลงสำรวจถาวรเพื่อศึกษาโครงสร้างสังคมพืชป่าดิบชื้นในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา อ.สุขสำราญ จ.ระนอง ได้พบกลุ่มประชากรไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง บริเวณที่ลาดไหล่เขาและใกล้สันเขาในป่าดิบชื้น ท้องที่บ้านบางมัน ต.นาคา อ.สุขสำราญ จ.ระนอง ซึ่งในเบื้องต้นจำแนกได้เป็นไม้ก่อในสกุลก่อหิน (Lithocarpus Blume) ในวงศ์ไม้ก่อหรือไม้โอ๊ค (Fagaceae) แต่ยังไม่สามารถระบุชนิดที่ชัดเจนได้ เนื่องจากขณะนั้นทำการตรวจสอบได้ยากว่าเป็นพืชชนิดใหม่หรือไม่ โดยได้ถ่ายภาพไว้แต่ไม่ได้ทำการเก็บตัวอย่างในขณะนั้น

ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2563 ได้เดินทางไปปฏิบัติงานสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพป่าไม้ ซึ่งเป็นภารกิจหนึ่งของ กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (สุราษฎร์ธานี) ซึ่งพื้นที่สำรวจตามแผนงานคืออุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว จังหวัดระนอง และจังหวัดชุมพร และพบว่ามีกลุ่มประชากรของไม้ก่อชนิดเดียวกันนี้ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาวด้วยเช่นกัน ซึ่งกำลังติดผลในระยะผลแก่พอดี จึงได้ทำการเก็บตัวอย่าง และทำการตรวจสอบในห้องปฏิบัติการโดยละเอียดร่วมกับ รศ.ดร.สราวุธ สังข์แก้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุ์พืช จากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ดร.อัจฉรา ตีระวัฒนานนท์ จากองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ แล้วพบว่าเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก จึงทำการตั้งชื่อและเขียนคำบรรยายทางพฤกษศาสตร์ ตามกฎนานาชาติของการกำหนดชื่อวิทยาศาสตร์ของพืช (ICN) และได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Phytotaxa เล่มที่ 541(1) หน้า 73-78 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 (2022) ซึ่งเป็นการร่วมตีพิมพ์โดยบุคลากรจาก 3 หน่วยงาน คือ นายอรุณ สินบำรุง และ นายสุคิด เรืองเรื่อ จากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกับ รศ.ดร.สราวุธ สังข์แก้ว จากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ดร.อัจฉรา ตีระวัฒนานนท์ จากองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)

ก่อลูกเอียด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lithocarpus eiadthongii Sinbumr., Rueangr. & Sungkaew โดยคำระบุชนิด eiadthongii ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ ผศ. ดร.วิชาญ เอียดทอง อดีตอาจารย์ผู้ล่วงลับ ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลงานของท่านนับเป็นคุณูปการอันใหญ่หลวงแก่วงการวนศาสตร์ เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชารุกขวิทยาป่าไม้ (Forest Dendrology) ให้แก่นิสิตวนศาสตร์จำนวนมากมายนับไม่ถ้วน ท่านนับเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจไม่มากก็น้อยให้ลูกศิษย์ (รุ่นน้อง) หลายๆท่านให้รักในการศึกษาพรรณไม้ ทั้งในการศึกษาต่อและปฏิบัติงานด้านรุกขวิทยาป่าไม้ พฤกษศาสตร์ป่าไม้ และอนุกรมวิธานพืช ทั้งในระดับมหาวิทยาลัย และหน่วยงานราชการ สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

ก่อลูกเอียด เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 18-35 เมตร ในเรือนยอดชั้นกลาง และชั้นรองเด่น ในป่าดิบชื้นที่ระดับความสูง 60-260 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มักพบตามไหล่เขา ลำต้นมักพบเป็นพูอน มีลักษณะเด่นที่ช่อผลค่อนข้างสั้น ยาว 4-10 ซม. ผลมีขนาดเล็ก ถ้วยผลมีก้านชูยาว 3-6 มม. เรียงเป็น 2-3 วงเห็นได้ชัดเจน ถ้วยผลเป็นลักษณะคล้ายวงแหวนเรียงกัน (5)6-9 วงเห็นได้ชัดเจน ตัวผลเป็นรูปไข่กลับหรือรูปไข่ มีสัดส่วนของความยาวมากกว่าความกว้างอย่างชัดเจน

คำว่า “เอียด” เป็นภาษาทางภาคใต้ที่หมายความว่า มีขนาดเล็ก ซึ่งก่อลูกเอียดเป็นก่อที่มีผลขนาดเล็ก น่ารัก กระจุ๋มกระจิ๋ม และเป็นการสอดคล้องเหมาะสมกับนามสกุลของท่านอาจารย์วิชาญ เอียดทอง นอกจากนี้ยังได้พบกลุ่มประชากรก่อลูกเอียดมีการกระจายพันธุ์ต่อเนื่องมาถึงพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีพังงา ท้องที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ด้วยเช่นกัน จึงจัดได้ว่าก่อลูกเอียดเป็นไม้ต้นหายากพบเฉพาะจังหวังระนองและพังงา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หมู่เกาะสุรินทร์คึกคัก ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ก่อนปิดฤดูกาลท่องเที่ยว 15 พ.ค.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าบรรยากาศของการท่องเที่ยวทางทะเลของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ต.เกาะพระทอง อ.คุระบุรี จ.พังงา ในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลวันสงกรานต์ปีนี้ มีบรรดานักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ แห่เล่นน้ำสงกรานต์ ถนนข้าวดอกข่า เขาหลัก จ.พังงา

ผู้สื่อข่าวรายงาน ที่บริเวณ หนองมูลตะกั่ว ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงานายกลวัชร ทรัพย์ส่งสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ร่วมทำพิธีรดน้ำขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ ก่อนฉีดโฟมเปิดอุโมงค์น้ำในงานประเพณีสงกรานต์ ถนนข้าวดอกข่า เ

เกาะหูยง อุทยานฯสิมิลัน แหล่งอนุรักษ์เต่าทะเล เผยสถิติเต่าวางไข่กว่า 1 หมื่นฟองต่อปี

กองทัพเรือ ได้จัดทำโครงการ อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลฝั่งอันดามัน โดยมอบให้ ทัพเรือภาคที่ 3 จัดตั้งศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล เมื่อปี 2538 ซึ่งกำหนดจุดอนุบาลเต่า ทะเลจำนวน 2 จุดพื้นที่แรกเป็นการอนุรักษ์เพราะฟักไข่เต่าในพื้นที่เกาะ

อ.อ.ป. ผสานความร่วมมือ กรมป่าไม้ และ ม.เกษตรฯ ลงนามความร่วมมือ “โครงการขยายผลงานวิจัยไม้เศรษฐกิจพันธุ์ดีสู่ประชาชน”

วันนี้ (29 มีนาคม 2567) นายสุกิจ จันทร์ทอง ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ และ นายดำรง ศรีพระราม รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ

คณะเศรษฐศาตร์ ม.เกษตร ดึงเจ้าของรางวัลโนเบล สร้างแรงบันดาลใจ นักศึกษา ผลิตงานวิจัยสู่สากล

คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตร จัดบรรยายพิเศษ เรื่อง“สันติภาพและการพัฒนาเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์” หวังสร้างแรงบันดาลใจอาจารย์-นิสิต

พบเต่ามะเฟืองวางไข่ หาดไม้ขาวภูเก็ต​ เจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง 24 ชั่วโมง

นายวัชระ ส่งสีอ่อน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติสิรินาถ เปิดเผยว่า​ เมื่อเวลา​ 06.50 น.​ ได้รับแจ้งจากชาวบ้านในพื้นที่บ้านไม้ขาว ว่าพบร่องรอยการขึ้นวางไข่ของเต่าทะเล บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ สน.2 (ท่าฉัตรไชย) จุดชมเครื่องบิน ขึ้น-ลง (หาดไม้ขาว)