ยื่น ‘เลี้ยงควาย-เกษตรเชิงนิเวศ’ ทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง เป็นมรดกทางการเกษตรโลก

รองโฆษกรัฐบาล เผย กระทรวงเกษตรญ ยื่น ‘เลี้ยงควาย-เกษตรเชิงนิเวศ’ ทะเลน้อย จ.พัทลุง เป็นมรดกทางการเกษตรโลก สอดรับนโยบาย Soft Power

9 พ.ค.2565-น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมเป็นอีกหน่วยงานหลักในการส่งเสริม Soft Power ตามนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ที่ต้องการส่งเสริมให้อาหารไทย แหล่งท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต เป็นที่เลื่องลือและยอมรับทั่วโลก ซึ่งนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯ ได้สั่งการให้ขับเคลื่อนเรื่องการส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมด้านการเกษตรที่ประเทศไทยมีความโดดเด่น โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นเอกสารขอรับรอง “วิถีการเลี้ยงควายและเกษตรเชิงนิเวศในพื้นที่ทะเลน้อย” จ.พัทลุง ที่สืบทอดกันมากว่า 250 ปี เป็น “มรดกทางการเกษตรโลก” (Globally Important Agricultural Heritage System หรือ GIAHS) จากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO

ทั้งนี้ พื้นที่ดังกล่าวมีความสำคัญเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมากจนได้รับการประกาศให้เป็นเขตพื้นที่ชุ่มน้ำโลก หรือ “Ramsar site” และมีความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของ FAO ในการเป็นมรดกทางการเกษตร ที่เน้นการอนุรักษ์มรดกทางการเกษตรโลก เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและพัฒนาเศรษฐกิจ ปกป้องและส่งเสริมการใช้ทางชีวภาพให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและยั่งยืนบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย มีวิถีชีวิตที่มีความเชื่อมโยงกับควายน้ำทะเลน้อย

น.ส.รัชดา กล่าวว่า เกษตรกรในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยมีรายได้หลักจากการขายควาย ประกอบกับการทำประมง ปลูกข้าว และแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกระจูด ด้านระบบนิเวศ เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำในทะเลน้อยมีปริมาณสูง ควายน้ำจะดำน้ำลงไปกินหญ้าใต้น้ำและพืชน้ำอย่างสายบัว ใบบัว หรือสาหร่าย กระจูด ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบนิเวศในการกำจัดวัชพืช และมูลของควายยังเป็นอาหารให้กับพืชและแพลงตอน ซึ่งเป็นอาหารปลา และในส่วนของด้านวัฒนธรรม ควายเป็นศูนย์รวมของความเชื่อ มีพิธีกรรมและประเพณีที่เกี่ยวข้องกับควาย และทางเดินของควาย นอกจากจะสร้างภูมิทัศน์ที่สวยงามยังช่วยป้องกันการเกิดไฟป่าอีกด้วย

“หากพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางการเกษตรโลก จะทำให้เกษตรกรและชุมชนได้รับประโยชน์ในด้านการท่องเที่ยว โอกาสทางการเกษตร การจ้างงานเพิ่มขึ้น รายได้เพิ่มขึ้น และการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งจะต้องผ่านหลักเกณฑ์ 5 ข้อ ได้แก่ 1) ความมั่นคงด้านอาหาร/ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี 2) ความหลากหลายทางชีวภาพการเกษตร 3) ระบบความรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีมาแต่ดั้งเดิม 4) วัฒนธรรม ระบบคุณค่า และองค์กรทางสังคม และ 5) ลักษณะภูมิทัศน์/และภูมิทัศน์ทางทะเล”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'รัชดา' ทักนายก เพ้อเจ้อ! ตั้งเป้าขายทุเรียน 1 ล้านล้าน

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก อดีตรองโฆษกรัฐบาล และอดีต ส.ส พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัววิจารณ์นายก กับเป้าหมายทุเรียน 1ล้านล้านบาท ในสิบปี

สาวหลงเสน่ห์ควายยักษ์ ทุ่มซื้อ 5 ตัว 4 ล้าน หวังนำไปพัฒนาสายพันธุ์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่หมู่ 5 ต.ลานหอย อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย มีอดีตนายตำรวจกับภรรยาสาวได้พากันหันหลังให้กับชีวิตข้าราชการ เพื่อมาเริ่มต้นประกอบอาชีพใหม่เป็นคนเลี้ยงควายยักษ์ หลังทั้งคู่เกิดตกหลุมรักหลงเสน่ห์จนยอมทุ่มเงินซื้อ 5 ตัว ในราคา 4,000,000 บาท

'ดร.รัชดา' ติงกรมประชาสัมพันธ์ ไม่ควรตัดต่อพาดหัว 'เดอะ เซลส์แมน' เศรษฐาขึ้นปกนิตยสารไทม์

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก อดีต สส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ภาพพร้อมข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ฝากถึง #กรมประชาสัมพันธ์ เพราะ NBT World News เป็นสื่อภายใต้การกำกับของรัฐ

"รมว.พิพัฒน์" ลุย พัทลุง เพิ่มการจ้างงาน วัยเรียน แรงงานอิสระ กระตุ้นเศรษฐกิจ ผู้สนใจกว่า 3 หมื่นคน เพื่อบรรลุเป้าหมาย 1 ล้านอัตรา ในปี 2567

วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดงานสร้างงาน และเส้นทางสู่อาชีพ ณ จังหวัดพัทลุง โดยมี นายภุชงค์ วรศรี ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ร่วมเป็นเกียรติในพิธี นายสมชาย