ขบวนองค์กรชุมชน 5 ภาค จ่อยื่น 4 ข้อเสนอถึงนายกฯ ยันไม่เกี่ยวพรรคการเมือง

ขบวนองค์กรชุมชนสุดทนเคลื่อนพลจี้รัฐแก้ไขตัวเองด่วน ชี้บริหารประเทศหนักไปทางใช้อำนาจ-กลายเป็นรัฐราชการจนขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ยื่น 4 ข้อเสนอถึงนายกฯ ระบุรัฐบาลตกอยู่ในภวังค์หวาดวิตกทางการเมืองมากเกินไป

8 พ.ย.2564 - มีรายงานข่าวว่าในวันที่ 9 พฤศจิกายน เวลา 09.00 น. ขบวนประชาชน 5 ภูมิภาค ที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของขบวนองค์กรชุมชนและภาคประชาสังคมทั่วประเทศ 5 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ ภาคกลาง และภาคกรุงเทพปริมณฑลและตะวันออกราว 150-200 คน จะเดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาลเพื่อยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้มีการแก้ไขปัญหาประชาชน 5 ภูมิภาค โดยจัดตั้งกลไกระดับชาติซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

ทั้งนี้เมื่อเดือนตุลาคม 2564 ขบวนประชาชนกลุ่มนี้ได้จัดสมัชชาสภาองค์กรชุมชนที่มีทั้งภาคประชาสังคมและภาควิชาการ และภาคีพัฒนาอื่นๆเข้าร่วมจากทั่วประเทศ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมผ่านระบบการสื่อสารอิเล็คทรอนิคเกือบ 1,000 คน ผลจากเวทีดังกล่าวได้มีการรวบรวมประเด็นปัญหาของประชาชนที่เกิดขึ้นจากทุกภูมิภาคภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งจำแนกเป็นมิติที่สำคัญ 5 ด้าน คือ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม และฐานทรัพยากร ด้านการพัฒนา ด้านการเมืองและสิทธิชุมชน ในแต่ละด้านมีข้อเสนอที่เป็นทั้งประเด็นปัญหาและที่เป็นแนวทางการแก้ไข นอกจากนั้นแล้วยังมีการวิเคราะห์ถึงปัจจัยทางการเมือง ที่ว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเป็นอุปสรรคและเป็นสาเหตุที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาของประชาชนได้อย่างที่ควรจะเป็น โดยมีข้อสังเกตสำคัญ 3 ประการ คือ

1.รัฐบาลมุ่งเน้นการใช้อำนาจและกฎหมายในบริหารประเทศ มากว่าการสร้างความรู้ความเข้าใจและความร่วมมือจากภาคประชาชน ทำให้เห็นถึงความไม่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและการตื่นตัวของประชาชนในโลกสมัยใหม่ 2.รัฐบาลบริหารงานแบบรวมศูนย์ โดยเน้นใช้กลไกของระบบราชการเป็นเครื่องมือหลักในการจัดการกับทุกเรื่องทุกปัญหาและทุกพื้นที่ ซ้ำยังตัดตอนหรือชะลอการกระจายอำนาจให้กับชุมชนท้องถิ่น ทั้งที่รู้ดีว่ากลไกและระบบราชการที่เป็นอยู่นั้นมีความแข็งตัวและมีข้อจำกัดมากมาย จนไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็วได้ 3.รัฐบาลตกอยู่ในภวังค์แห่งความหวาดวิตกทางการเมือง จากการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ จึงสร้างมาตรการเพื่อการควบคุมทางสังคมการเมือง เพียงเพื่อรักษาความมั่นคงมากเกินไป จนไม่เปิดโอกาสหรือละเลยที่จะส่งเสริมสนับสนุนประชาชนและภาคประชาสังคมให้มีความสามารถในการขับเคลื่อนการพัฒนาในชุมชนท้องถิ่นของตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ

“ข้อสังเกตเบื้องต้นนี้ สะท้อนถึงวิสัยทัศน์ในการบริหารประเทศที่อยู่ภายใต้กรอบคิดอันจำกัด และไม่เข้าใจบริบทที่กำลังเปลี่ยนไปของสังคมโลกและสังคมไทย กลายเป็นการปิดกั้นประสิทธิภาพของประชาชนในประเทศโดยรวมอย่างน่าเสียดายยิ่ง ซึ่งยังไม่รวมถึงความไร้เสถียรภาพในการบริหารทางการเมืองภายในของรัฐบาลผสมจากหลายพรรค จนทำให้เกิดช่องว่างระหว่างหัวหน้ารัฐบาลและรัฐมนตรีในกระทรวงต่างๆที่มาจากต่างพรรค ยังให้เกิดการบริหารงานแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย และเป็นการบริหารตามแบบฉบับเฉพาะของรัฐมนตรีแต่ละคน จนไม่สามารถนำพาการบริหารราชการแผ่นดินไปสู่เป้าหมายใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขบวนประชาชน 5 ภูมิภาค จึงไม่สามารถนิ่งเฉยได้อีกต่อไปภายใต้สภาพการณ์ที่เป็นอยู่นี้ จึงนัดหมายรวมตัวกันเดินทางมายังทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอทวงถามถึงความจริงใจของนายกรัฐมนตรี ต่อแนวทางในการบริหารประเทศ และแนวทางการแก้ไขปัญหาของประชาชนที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้” เนื้อหาบางส่วนในหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ระบุ

ในหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ ระบุข้อเสนอว่า 1.รัฐบาลต้องยอมรับการเป็น “หุ้นส่วนการพัฒนาประเทศ” ของประชาชน ที่ไม่ใช่เป็นฝ่ายตรงข้าม หรือเป็นเพียงผู้รอรับการช่วยเหลือจากรัฐเท่านั้น แต่ควรร่วมสร้างสังคมแนวใหม่ ที่ต้องสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนมีบทบาทสำคัญและมีความสามารถในการจัดการแก้ไขปัญหาได้เองในทุกมิติ

2.รัฐบาลต้องสร้างกลไกร่วมระหว่างภาครัฐ(ฝ่ายการเมืองและข้าราชการ) กับภาคประชาชน และภาคีพัฒนาอื่นๆ เพื่อเป็นกลไกในการพัฒนาเชิงรุกที่เท่าทันกับโลกสมัยใหม่ และสามารถเป็นกลไกในการจัดการแก้ไขปัญหาของประชาชนในทุกมิติ ทั้งระดับชาติและระดับภูมิภาค

3.รัฐบาลต้องปฏิรูปกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ให้เป็นองค์กรที่มีความก้าวหน้าทันสมัย เพื่อสร้างสังคมแนวใหม่ให้ปรากกฎ มิใช่แค่การทำงานเชิงสงเคราะห์มิติเดียว หากแต่ต้องส่งเสริมความความเข้มแข็งของสังคม ให้ประชาชนสามารถจัดการแก้ไขปัญหาของตนเองได้ รวมถึงการสร้างความมั่นคงของมนุษย์ให้ดำรงอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี และมีความภาคภูมิใจในความเป็นประชากรของประเทศ

4.รัฐบาล โดย พม.ต้องหยุดการแทรกแซงองค์กรที่สนับสนุนศักยภาพของภาคประชาชน ดังกรณีไม่ยอมแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือ พอช.ชุดใหม่ ซึ่งว่างเว้นมาแล้วกว่า 14 เดือน (อย่างไม่เคยปรากฏมีมาก่อน) ส่งผลให้ พอช. ไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ในการสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของขบวนองค์กรชุมชนกว่า 7,000 ตำบล ทั่วประเทศ

นายสมบูรณ์ คำแหง ผู้แทนขบวนประชาชนภาคใต้ กล่าวว่า ภาคประชาสังคม เอ็นจีโอและชาวบ้าน ได้จัดประชุมสมัชชาและมีมติร่วมกันที่จะขับเคลื่อนปัญหาร่วมกันในระดับภูมิภาคโดยใช้ตกลไกร่วมเพื่อเอาข้อเสนอ 5 ภาคแก้ไขระดับภูมิภาคให้ได้ที่ผ่านมารัฐบาลชุดนี้บริหารโดยใช้อำนาจและกฎหมายนำทำให้ยิ่งสร้างปัญหาโดยเฉพาะปัญหาของชาวบ้าน รัฐบาลใช้แต่กลไกข้าราชการ จนทำให้กำลังเป็นเมืองข้าราชการ และไม่เห็นควาสำคัญของการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนซึ่งมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนา และความหวาดวิตกทางการเมืองของรัฐบาลได้สร้างเงื่อนไขในการควบคุมภาคประชาชน บวกกับความพยายามของรัฐบาลที่กำลังร่างกฎหมายควบคุมภาคประชาชน ทำให้ปัญหาชาวบ้านไม่ถูกแก้ไขและหนักขึ้นทุกวัน

ผู้สื่อข่าวถามว่าขบวนประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหวอาจถูกมองว่าเป็นเครื่องมือของพรรคการเมืองขั้วใดขั้วหนึ่งหรือไม่ นายสมบูรณ์กล่าวว่า ไม่ใช่แน่นอน เพราะเราได้คุยกับมาอย่างน้อย 6 เดือน โดยหารือกันชัดว่าต้องขมวดปัญหาของ 5 ภาคให้ได้ และเมื่อได้แล้วจึงต้องการนำไปยื่นเสอนนำร่องก่อนโดยเอามติที่ประชุมสมัชชาดำเนินการ เราหวังผลให้เกิดกลไกแก้ไข และเรื่องนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องของพรรคการเมือง

อนึ่ง สภาองค์กรชุมชนเป็นองค์กรที่จัดขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551โดยมีเจตนารมณ์สำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชน ซึ่งเป็นสังคมรากฐานมีความเข้มแข็งสามารถจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นตามความหลากหลายของวิถีชีวิต วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของท้องถิ่น และเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ โดยมีโครงสร้างตั้งแต่ระดับหมู่บ้านและตำบล ไปถึงการประชุมระดับชาติ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วันครูที่เงียบเหงา 'ประธานผู้ลี้ภัย' คารวะ 'คาร์ล มาร์ก' ครูยิ่งใหญ่

นายจรัล ดิษฐาอภิชัย อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ประธานสมาคมนักประชาธิปไตยชาวไทยไร้พรมแดน ซึ่งลี้ภัยในประเทศฝรั่งเศส โพสต์เฟซบุ๊กถึงวันครู

ภาคประชาชนยื่น 14,000 ชื่อ เสนอร่างพ.ร.บ.กัญชา กัญชง หวังไทยเป็นเซ็นเตอร์ 'นวัตกรรม -สุขภาพ'

ที่รัฐสภา ภาคีเครือข่ายกัญชา กัญชง ม่าง (ภาคประชาชน) สมาคมสร้างสรรค์เกษตรกรไทย สมาคมม้ง สมาคมพ่อค้าม้ง สมาคมม้ง กรุงเทพฯ

ต้านสร้างเขื่อน 7 แห่ง ชี้สูญเสียป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ 1.6 หมื่นไร่

นางสาวอรยุพา สังขะมาน เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร เปิดข้อมูลสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของโครงการเขื่อนในพื้นที่ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ครอบคลุม 2 จังหวัด

เอ็ดดี้ ติงอย่าดึงสถาบันฯไทย ไปเกี่ยวข้องความขัดแย้ง ‘อิสราเอล-ปาเลสไตย์’

ในภาคประชาชน อาจจะมีการสนับสนุนกันไปต่างๆ นานา ย่อมสามารถทำได้ ในแง่ของสิทธิมนุษยชนและความเป็นประเทศเสรีนิยม แต่…ต้องไม่มีการนำภาพพระบรมฉายาลักษณ์ไปร่วมขบวนแบบนั้น