เตือนระดับน้ำเขื่อนเจ้าพระยาสูง เล็งปรับการระบายน้ำท้ายเขื่อน

9 ต.ค.2565-กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เมื่อเวลา 16.00 น. ตรวจวัดปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C.2 จ.นครสวรรค์ อยู่ที่ 3,099 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)/วินาที ซึ่งจะไหลลงมาสมทบกับแม่น้ำสะแกกรังอีก 306 ลบ.ม./วินาที ก่อนจะไหลลงสู่เขื่อนเจ้าพระยาตามลำดับ กรมชลประทาน รับน้ำเข้าระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างเต็มศักยภาพ ก่อนจะเร่งผลักดันน้ำให้ไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทยให้เร็วที่สุด ปัจจุบัน ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา อยู่ที่ +17.71 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง (ม.รทก)

ทั้งนี้ เพื่อควบคุมระดับน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยาในเกณฑ์ที่เหมาะสม กรมชลประทาน มีแผนที่จะปรับการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราไม่เกิน 3,100 ลบ.ม./วินาที ให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ หากในระยะต่อไปปริมาณน้ำทางตอนบนเริ่มลดลง กรมชลประทานจะปรับลดการระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ต่อไป

อย่างไรก็ตาม กรมชลประทาน ได้กำชับให้โครงการชลประทานในพื้นที่รับช่วงต่อการระบายน้ำให้สอดคล้องกัน โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนเป็นหลัก รวมทั้งได้จัดชุดทีมเฉพาะกิจลงพื้นที่ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำผ่านระบบชลประทานต่าง ๆ โดยการขุดลอกเสริมคันดินและแนวป้องกันร่วมกับประชาชนในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการกำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำตลอดเส้นทางน้ำ พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติม เพื่อลดผลกระทบและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้มากที่สุด ที่สำคัญได้เน้นย้ำให้สร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ รวมทั้งแนวทางในการบริหารจัดการน้ำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบอย่างต่อเนื่องด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเดินหน้ารับมือภัยแล้ง หลังพบ 4 แห่ง ต้องเฝ้าระวังน้ำน้อย

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้รับรายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ จากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) โดยขณะนี้ มีปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ 46,027 ล้านลูกบาศก์

อ่างเก็บน้ำโคราช 27 แห่ง เหลือน้ำเพียง 42% 'ผู้ว่าฯชัยวัฒน์' วอนงดทำนาปรัง

นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำกินน้ำใช้ในพื้นที่เขตเมืองนั้นมีระบบประปาอยู่2ระบบคู่กัน ระบบที่ 1 ของเทศบาลนครนครราชสีมามีโรง

‘อนุทิน’ กำชับทุกจว. รับมือภัยแล้ง เร่งให้ข้อมูลสถานการณ์น้ำประชาชน

มท.1สั่งการให้เตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ เครื่องจักรและเครื่องมือของทั้งหน่วยงานพลเรือน ทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ ให้พร้อมสำรหับช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งได้ตลอด 24 ชั่วโมง

รัฐบาลเชิญชวนเกษตรกร-ประชาชน สมัครร่วมโครงการจ้างงาน ช่วงว่างเว้นทำเกษตร

ช่วยเกษตรกรฤดูแล้ง! 'รัฐบาล' เชิญชวนเกษตรกร-ประชาชน สมัครร่วมโครงการจ้างงานกับกรมชลฯ สร้างรายได้ทดแทนช่วงว่างเว้นจากการทำการเกษตร

นักวิชาการชี้โครงการ 'ผันน้ำยวม' มูลค่าแสนล้านเสี่ยงผิดกม. สร้างหนี้รัฐมหาศาล ไม่คุ้มค่า

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรมชลประทาน ซึ่งได้มีการรับฟังความคิดเห็นโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล แนวส่งน้ำยวม โดยมี ดร.ศิตางศุ์ พิลัยหล้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ชาวร้อยเอ็ด จัดเวทีใหญ่ 2.4 พันคนลงชื่อไม่เห็นด้วยสร้างเขื่อนกั้นน้ำชี

ชาวบ้านลุ่มน้ำชีและเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีกว่า 350 คน ได้ร่วมเวทีนำเสนอข้อมูล เพื่อให้กรมชลประทานยกเลิกโครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอาคารบังคับน้ำ-ประตูระบายน้ำ(เขื่อน)กั้นแม่น้ำชี ที่มีแผนดำเนินการศึกษาและก่อสร้างบริเวณหมู่บ้านไชยวาน ต.นาเลิง อ.เสลภูมิ