โหมปิดสวิตช์! ไอลอว์ กางให้ดูจะจะ 50 ส.ว.ตั้งเครือญาติตัวเองเป็นคณะทำงาน

6 ก.ย.2565 - เฟซบุ๊กเพจ iLaw หรือ "ไอลอว์" โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กว่าในขณะที่รัฐสภากำลังพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญยกเลิกอำนาจ ส.ว. เลือกนายกรัฐมนตรี หรือมาตรา 272 ชวนย้อนดูความสัมพันธ์ทางสายเลือดที่นำมาสู่ผลประโยชน์ส่วนตนของเหล่า ส.ว.​ อีกครั้ง

ต้นทุนของการมีวุฒิสภาแต่งตั้งไม่ได้มีเพียงการต้องจ่ายค่าตอบแทนหลักแสนต่อเดือนให้กับสมาชิกทั้ง 250 คนเท่านั้น แต่งบประมาณแผ่นดินจากภาษีประชาชนยังต้องแบกรับค่าใช้จ่ายของ “คณะทำงาน” ของ ส.ว. แต่ละคนด้วย เมื่อได้รับการแต่งตั้งเข้ามาเป็นสมาชิกวุฒิสภาแล้ว ส.ว. แต่ละคนจะมีสิทธิในการแต่งตั้งคณะทำงานของตัวเองเข้ามาช่วยงานได้สูงสุดแปดคน โดยแต่ละคนก็จะได้รับค่าตอบแทนรายเดือนหลักหมื่นบาท ยังไม่นับรวมสวัสดิการอื่น ๆ อีกมากมาย

จากข้อมูลคณะทำงาน ส.ว. ทั้ง 250 คน ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 พบว่า ส.ว. มีการแต่งตั้งเครือญาติของตัวเองเข้ามาเป็นคณะทำงานมากกว่าครึ่งร้อย ไม่ว่าจะผ่านการแต่งตั้งทางตรง คือแต่งตั้งให้ญาติเข้ามาเป็นคณะทำงานของตัวเอง หรือการนำญาติของตัวเองไป “ฝากเลี้ยง” กับ ส.ว. คนอื่น รวมถึงยังพบคนในเครื่องแบบทั้งทหารและตำรวจอีกกว่าครึ่งพัน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับ คสช. และนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลอีกหลากหลายคน เรียกได้ว่าการแต่งตั้งคนใกล้ชิดเพื่อมารับค่าตอบแทนรายเดือนยังคงทำเป็น “อุตสาหกรรม” ขนาดใหญ่ไม่ต่างจากในยุคของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพียงแต่ซ่อนรูปอยู่ใน ส.ว.แต่งตั้ง ที่เครือญาติคนรู้จักยังได้ประโยชน์อย่างมหาศาลอยู่เช่นเดิม

คณะทำงาน ส.ว. มีได้สูงสุดแปดคน รับเงินเดือนหลักหมื่น

ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น ส.ว. จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง เดือนละ 71,230 บาท และได้รับเงินเพิ่มเดือนละ 42,330 บาท รวมเป็นเดือนละ 113,560 บาท ซึ่งเป็นค่าตอบแทนจำนวนเท่ากับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่มาจากการเลือกตั้ง ค่าตอบแทนนี้ยังไม่รวมส่วนที่เป็นเบี้ยประชุมในคณะกรรมาธิการ เบี้ยเลี้ยงในกรณีที่เดินทางไปนอกสถานที่ และสวัสดิการอื่น ๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล นอกจากนี้ ส.ว. จะยังสามารถแต่งตั้งคณะทำงานที่จะเข้ามาช่วยเหลือได้อีกสามตำแหน่งรวมทั้งหมดแปดคน

1. ผู้เชี่ยวชาญประจำตัว มีได้ 1 คน รับเงินเดือน 24,000 บาทต่อคน

2. ผู้ชำนาญการประจำตัว มีได้ 2 คน รับเงินเดือน 15,000 บาทต่อคน

3. ผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัว มีได้ 5 คน รับเงินเดือน 15,000 บาทต่อคน

ทั้งนี้ ส.ว. อาจจะแต่งตั้งให้ครบทุกตำแหน่งหรือไม่ครบทั้งแปดตำแหน่งก็ได้ ส่วนประธานและรองประธานวุฒิสภานั้นจะได้รับเงินประจำตำแหน่งเพิ่มขึ้นจาก ส.ว. ปกติเล็กน้อย และสามารถตั้งคณะทำงานการเมืองและข้าราชการฝ่ายการเมืองเพิ่มได้

ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 ถึงเดือนพฤษภาคม 2565 หรือภายในระยะเวลาสามปีที่ ส.ว.แต่งตั้งทั้ง 250 คนเข้ารับตำแหน่งในวุฒิสภา มีการจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนให้กับ ส.ว. และคณะทำงานไปแล้วอย่างน้อย 2,230,569,000 บาท

เป็นลูกหลานก็ต้องช่วยกัน ส.ว. ตั้ง 50 เครือญาติตัวเองเป็นคณะทำงาน

ไอลอว์ได้ทำการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 เพื่อขอข้อมูลล่าสุดของรายชื่อผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ และผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัวของ ส.ว. ทุกคนจากสำนักเลขาธิการวุฒิสภา แต่ได้รับการปฏิเสธ โดยสำนักเลขาธิการอ้างว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ที่ถูกเปิดเผยเสียก่อน

อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีข้อมูลล่าสุด แต่ไอลอว์ก็ได้รับเอกสารคณะทำงานของ ส.ว. ทั้ง 250 คน ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 และพบสิ่งที่น่าสนใจหลายประการ

จากข้อมูลคณะทำงานของ ส.ว. ทั้ง 250 คน ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 มีคณะทำงานของ ส.ว. ทั้งหมด 1,830 คน พบว่ามีจำนวน 50 คนที่เป็นญาติหรือมีนามสกุลเดียวกับ ส.ว. ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ ณ ขณะนั้น โดยมีทั้ง ส.ว. ที่แต่งตั้งญาติเป็นคณะทำงานของตัวเองโดยตรง และยังมีกรณีที่ “ฝากเลี้ยง” คือ ส.ว. คนอื่นแต่งตั้งญาติของ ส.ว. อีกคนเป็นคณะทำงานด้วย รายชื่อของ ส.ว. ที่แต่งตั้งญาติของตนเองและ ส.ว. คนอื่นเป็นคณะทำงานของตัวเองมีดังนี้

1. พลเอก กนิษฐ์ ชาญปรีชญา แต่งตั้ง พลเอก โอม สิทธิสาร (ญาติของ ส.ว. พลเอก พิสิทธิ์ สิทธิสาร) เป็นผู้ชำนาญการ

2. กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ แต่งตั้ง พันธวัสย์ รัตนวราหะ เป็นผู้ชำนาญการ

3. กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ แต่งตั้ง ลักษ์คณา รัตนวราหะ เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

4. กรรณภว์ ธนภรรคภวิน แต่งตั้ง กิตติชัย รัตนวราหะ (ญาติของ ส.ว. กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

5. จเด็จ อินสว่าง แต่งตั้ง ปฤษฎี เจนครองธรรม (ญาติของ ส.ว. ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

6. จิรดา สงฆ์ประชา แต่งตั้ง ประภัสสร ศรีทอง (ญาติของ ส.ว. เพ็ญพักตร์ ศรีทอง) เป็นผู้ชำนาญการ

7. พลเอก จิรพงศ์ วรรณรัตน์ แต่งตั้ง กิตติภัฏ มาลากุล ณ อยุธยา (ญาติของ ส.ว. หม่อมหลวงสกุล มาลากุล) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

8. เฉลา พวงมาลัย แต่งตั้ง นิติวัฒน์ พวงมาลัย เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

9. จัตุรงค์ เสริมสุข แต่งตั้ง เอกชัย แสวงการ (ญาติของ ส.ว. สมชาย แสวงการ) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

10. พลตำรวจเอก ชัชวาล สุขสมจิตร์ แต่งตั้ง พลตำรวจตรี ไพโรจน์ เกษตรสุนทร (ญาติของ ส.ว. ฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร) เป็นผู้ชำนาญการ

11. เชิดศักดิ์ สันติวรวุฒิ แต่งตั้ง พฤฒิพงศ์ สันติวรวุฒิ เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

12. ถาวร เทพวิมลเพชรกุล แต่งตั้ง ทศพร เทพวิมลเพชรกุล เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

13. ถาวร เทพวิมลเพชรกุล แต่งตั้ง ธนพล เทพวิมลเพชรกุล เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

14. ถาวร เทพวิมลเพชรกุล แต่งตั้ง กัญชัญญา เทพวิมลเพชรกุล เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

15. ธานี สุโชดายน แต่งตั้ง ชัยวัฒน์ สุโชดายน เป็นผู้ชำนาญการ

16. ธานี สุโชดายน แต่งตั้ง อธิพร สุโชดายน เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

17. พลเอก ธีรเดช มีเพียร แต่งตั้ง ฐิติมา ธนภรรคภวิน (ญาติของ ส.ว. กรรณภว์ ธนภรรคภวิน) เป็นผู้ชำนาญการ

18. พลเอก ปัฐมพงศ์ ประถมภัฏ แต่งตั้ง พลเรือเอก ประสาน สุขเกษตร (ญาติของ ส.ว. พลเอก ประสาท สุขเกษตร) เป็นผู้เชี่ยวชาญ

19. พลตำรวจโท พิสัณห์ จุลดิลก แต่งตั้ง ศศวิมล เกิดผล (ญาติของ ส.ว. พลเอก อักษรา เกิดผล) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

20. นิอาแซ ซีอุเซ็ง แต่งตั้ง พรรณวีนินทร์ รัตนวานิช (ญาติของ ส.ว. พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช) เป็นผู้เชี่ยวชาญ

21. บรรชา พงศ์อายุกูล แต่งตั้ง ชมภัสสร พงศ์อายุกูล เป็นผู้ชำนาญการ

22. ประมาณ สว่างญาติ แต่งตั้ง นพดล สว่างญาติ เป็นผู้ชำนาญการ

23. พลเอก โปฎก บุนนาค แต่งตั้ง บวรวิชญ์ บางท่าไม้ (ญาติของ ส.ว. พลตำรวจโท วิบูลย์ บางท่าไม้) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน)

24. พลเดช ปิ่นประทีป แต่งตั้ง วณี ปิ่นประทีป เป็นผู้เชี่ยวชาญ

25. เพ็ญพักตร์ ศรีทอง แต่งตั้ง นัทธมน ศรีทอง เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

26. ไพโรจน์ พ่วงทอง แต่งตั้ง ฐิติ พ่วงทอง เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

27. ภัทรา วรามิตร แต่งตั้ง สมบัติ วรามิตร เป็นผู้ชำนาญการ

28. ภาณุ อุทัยรัตน์ แต่งตั้ง พิษณุ ศรีทอง (ญาติของ ส.ว. เพ็ญพักตร์ ศรีทอง) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

29. พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ แต่งตั้ง ณัฐภรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา (ญาติของ ส.ว. หม่อมหลวงสกุล มาลากุล) เป็นผู้ชำนาญการ

30. พลเอก เลิศฤทธิ์ เวชสวรรค์ แต่งตั้ง วัชรชนก วงษ์สุวรรณ (ญาติของ ส.ว. พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ น้องชายของพลเอกประวิทย์ วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

31. พลเอก วัฒนา สรรพานิช แต่งตั้งพลตรี สำเริง เกิดผล (ญาติของ ส.ว. พลเอก อักษรา เกิดผล) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

32. วุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ แต่งตั้ง พรพล สุวรรณมาศ (ญาติของ ส.ว. พลเอก ชยุติ สุวรรณมาศ) เป็นผู้ชำนาญการ

33. หม่อมหลวง สกุล มาลากุล แต่งตั้ง มานพ มาลากุล ณ อยุธยา เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

34. พลตำรวจโท ศานิตย์ มหถาวร แต่งตั้ง ชนิกานต์ วงเวียน (ญาติของ ส.ว. พันตำรวจเอก ยุทธกร วงเวียน) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

35. ศิรินา ปวโรฬารวิทยา แต่งตั้ง วงเดือน จินดาวัฒนะ (ญาติของ ส.ว. อำพล จินดาวัฒนะ) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

36. พลเอก ศุภรัตน์ พัฒนาวิสุทธิ์ แต่งตั้ง เจษฎา รณฤทธิวิชัย (ญาติของ ส.ว. พลตำรวจโท ตรีทศ รณฤทธิวิชัย) เป็นผู้เชี่ยวชาญ

37. สถิต ลิ่มพงศ์พันธุ์ แต่งตั้ง ประพล มิลินทจินดา (ญาติของ ส.ว. พลตำรวจโท สมบัติ มิลินทจินดา) เป็นผู้เชี่ยวชาญ

38. สม จาตุศรีพิทักษ์ แต่งตั้ง กิตติ ศรีสวัสดิ์ (ญาติของ ส.ว. พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

39. สมชาย แสวงการ แต่งตั้ง อามาจรี เสริมสุข (ญาติของ ส.ว. จัตุรงค์ เสริมสุข) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

40. พลตำรวจโท สมบัติ มิลินทจินดา แต่งตั้ง ณรรท เปลี่ยนสี (ญาติของ ส.ว. ถวิล เปลี่ยนสี) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

41. พลเอก สมเจตน์ บุญถนอม แต่งตั้ง พลเอก ชูศักดิ์ สันติวรวุฒิ (ญาติของ ส.ว. เชิดศักดิ์ สันติวรวุฒิ) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

42. สมชาย ชาญณรงค์กุล แต่งตั้ง เยาวรัตน์ สุระโคตร (ญาติของ ส.ว. บุญมี สุระโคตร) เป็นผู้ชำนาญการ

43. พลตำรวจโท สมหมาย กองวิสัยสุข แต่งตั้ง นพปฎล กองวิสัยสุข เป็นผู้ชำนาญการ

44. สัญชัย จุลมนต์ แต่งตั้ง โชติพงศ์ จุลมนต์ เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

45. สาธิต เหล่าสุวรรณ แต่งตั้ง โสภณ เหล่าสุวรรณ เป็นผู้ชำนาญการ

46. สำราญ ครรชิต แต่งตั้ง มนัส ศรีสุข (ญาติของ ส.ว. พลเอก อาชาไนย ศรีสุข) เป็นผู้ชำนาญการ

47. สุรเดช จิรัฐิติเจริญ แต่งตั้ง ปาลิดา จิรัฐิติเจริญ เป็นผู้ชำนาญการ

48. พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว แต่งตั้ง ธนา รัตนานุกูล (ญาติของ ส.ว. ณรงค์ รัตนานุกูล) เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

49. อนุมัติ อาหมัด (ปัจจุบันลาออกจาก ส.ว. แล้ว) แต่งตั้ง ฮาริส อาหมัด เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

50. อมร นิลเปรม แต่งตั้ง รดิศ นิลเปรม เป็นผู้ช่วยดำเนินงาน

สำหรับ ส.ว. ที่มีญาติตัวเองเป็นคณะทำงานมากที่สุดคือ กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ และถาวร เทพวิมลเพชรกุล ซึ่งมีสามคนเท่ากัน โดยกิตติศักดิ์แต่งตั้งญาติตัวเองสองคนและนามสกุลรัตนวราหะหนึ่งคนอยู่ในคณะทำงานของกรรณภว์ ธนภรรคภวิน ในขณะที่ถาวรแต่งตั้งญาติทั้งสามคนเป็นคณะทำงานของตนเองทั้งหมด ส่วนญาติของ ส.ว. ที่ #ฝากเลี้ยง นั้นก็มีหลายราย เช่น พรรณวีนินทร์ รัตนวานิช ญาติของพลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในคณะทำงานของนิอาแซ ซีอุเซ็ง หรือยังมีกรณี “แลกกันเลี้ยง” เช่น เอกชัย แสวงการ ญาติของสมชาย แสวงการ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยดำเนินงานของจัตุรงค์ เสริมสุข ในขณะที่ อามาจรี เสริมสุข ญาติของจัตุรงค์ เสริมสุข ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยดำเนินงานของสมชาย แสวงการด้วย

คนหนึ่งที่น่าสนใจคือ วัชรชนก วงษ์สุวรรณ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะทำงานของพลเอก เลิศฤทธิ์ เวชสวรรค์ โดยวัชรชนกเป็นลูกชายของพลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ ส.ว. ซึ่งเป็นน้องชายของพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ทำให้ตนเองมีศักดิ์เป็นหลานของเจ้าพ่อให้แห่งป่ารอยต่อ ทั้งนี้ วัชรชนกยังมีตำแหน่งแต่งตั้งอื่น ๆ นอกจากการเป็นคณะทำงานของ ส.ว. ด้วย โดยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ปฏิบัติงานประจำกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ของพลอากาศโท ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สุวัจน์' หวนคืนชื่อเดิม 'พรรคชาติพัฒนา' แต่งตั้ง สส.แจ้ เป็นรองหัวหน้าพรรค

พรรคชาติพัฒนากล้า เปิดการประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี 2567 นำโดยนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานพรรคชาติพัฒนากล้า , นายเทวัญ ลิปตพัลลภ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ,

'ชัยเกษม' ออกตัวไม่เกี่ยวปรับครม. ผู้บริหารพรรคจะใช้ให้ทำอะไรก็ได้ สบายๆ

นายชัยเกษม นิติสิริ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย เดินทางมาไหว้ศาลพระภูมิเจ้าที่ ศาลตา ศาลยาย โดยผู้สื่อข่าวได้สอบถามว่า การเดินทางมาไหว้วันนี้เกี่ยวอะไรกับการปรับ ครม.หรือไม่

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 20: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 24 กันยายน 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า

'เผ่าภูมิ' ปัดนายกฯ ส่งสัญญาณนั่งเก้าอี้รัฐมนตรี

นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวได้เดินทางมารับเอกสารกรอกแบบฟอร์มตรวจสอบคุณสมบัติรัฐมนตรี เรียบร้อยแล้ว ว่า ตนไม่ให้คอมเมนท์ ยืนยันว่าขณะ

ประธานสภาเตือนสติอย่าดันทุรังชงแก้ รธน.รอผลประชามติก่อน

'วันนอร์' ยันร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญยังนำเข้าพิจารณาไม่ได้ เหตุต้องมีการทำประชามติก่อน เตือนหากดันทุรังแล้วถูกยื่นตีความเสียเวลาเปล่าๆ