สสส. ผนึกภาคีฯ เสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ทางรอด ‘แรงงานข้ามชาติ’ ฝ่าโควิด-19

ทุกคนที่พักอาศัยในประเทศไทยจะได้รับการดูแลและการคัดกรองโรคเป็นอย่างดี ทั้งก่อนและหลังฉีดวัคซีนอย่างปลอดภัย โดยบุคลากรทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญ  สสส.จัดกิจกรรมลงพื้นที่ ชุมชนแรงงานข้ามชาติ ชุมชนเทียนทะเล26ซอย9 เขตบางขุนเทียน รับชุด Isolationเพื่อนกันวันติดโควิด  ส่งต่อความห่วงใย ให้กำลังใจ จากเพื่อนถึงเพื่อน เพื่อให้คนไทยผ่านช่วงสถานการณ์โควิด-19ไปได้อย่างปลอดภัย ท่ามกลางบรรยากาศแรงงานข้ามชาติอุ้มลูกจูงหลานยืนและนั่งกลางลานพื้นที่โล่งระหว่างอาคารคอนกรีต5ชั้นล้อมรอบ  มีช่องลูกกรงที่เจ้าของโผล่หน้าสังเกตการณ์ดูจากมุมสูงและตามระเบียงอาคาร

ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการ สำนัก9 สสส.ที่หน้าแฟลตชุมชนเทียนทะเล

คุณภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ(สำนัก9) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พร้อมด้วย ภาสวรรณ สังฆสุบรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์กิจการสร้างสุข สสส. ลงพื้นที่มอบชุด Home Isolation เพื่อนกันวันติดโควิด 850 ชุด ให้แก่ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.) มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย และมูลนิธิเพื่อเยาวชนชนบท (มยช.) เพื่อนำไปส่งต่อกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ขาดโอกาสเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันจำเป็นในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ชุมชนแรงงานข้ามชาติเทียนทะเล ซอย 26 เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯเมื่อเร็วๆ นี้

ในโอกาสนี้ คุณภรณีได้กล่าวทักทายว่า “มิงกาลาบา” และเปิดเผยว่า แรงงานข้ามชาติในประเทศไทย จัดอยู่ในกลุ่มประชากรกลุ่มเปราะบางที่ต้องได้รับการดูแลด้านสุขภาวะเทียบเท่ากับคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากการสำรวจของ สสส. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล เกี่ยวกับ "สถานการณ์ทางสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ" โดยวัดจากเครื่องมือวัดระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ 3อ2ส. พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 92.71 และเข้าไม่ถึงการรักษาในโรงพยาบาล ส่วนใหญ่แรงงานข้ามชาติเจ็บป่วยจะซื้อยามารับประทานเอง

ภรณี ภู่ประเสริฐ  ภาสวรรณ สังฆสุบรรณ์  เพ็ญศิริ บุญปิยะวงศ์  ประธานชุมชนวงแหวนแสงประทีป  ลัดดาวัลย์ หลักแก้ว  มูลนิธิเพื่อเยาวชนชนบท(มยช.) สำเริง สิงห์ผงาด  เจ้าหน้าที่ภาคสนาม มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.)

"จะเห็นได้ว่าในย่านนี้จะมีร้านขายยาเป็นจำนวนมาก ก่อนหน้านี้สสส.และภาคีเครือข่ายมูลนิธิเพื่อเยาวชนชนบท(มยช.)มูลนิธิศุภนิมิตฯเข้ามาในพื้นที่เพื่อช่วยเหลือการสร้างโอกาสทางด้านการศึกษาให้กับลูกๆของแรงงานข้ามชาติ เพราะเด็กไม่ได้เข้าโรงเรียน อ่านและเขียนหนังสือไม่ได้" ผอ.ภรณีกล่าวและว่า

สสส. เห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น จึงสานพลังกับ มยช. มูลนิธิศุภนิมิตฯ และภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคมกว่า 20 องค์กร พัฒนากลไกระบบบริการสุขภาพสำหรับแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามในสถานประกอบการกว่า 170 แห่ง และชุมชนแรงงานข้ามชาติใน 13 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรสาคร ราชบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง กาญจนบุรี ตาก ระนอง ตราด ชุมพร และเชียงราย มุ่งเป้าให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและเท่าเทียม ในกรณีที่ป่วยโควิด-19มาแล้วต้องระวังไม่ให้ป่วยซ้ำสองอีก

ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี 2563 สำหรับชุมชนเทียนทะเล ซอย 26 เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ มีแรงงานข้ามชาติอาศัยอยู่กว่า 5,000 คน จากการตรวจสองรอบ พบผู้ติดเชื้อในเดือนสิงหาคม686คน โดยขณะนี้ยังมีผู้ติดเชื้ออีก41คน สถานการณ์ที่เกิดขึ้นสสส.จึงร่วมกับมยช. มหาวิทยาลัยมหิดล และภาคีเครือข่าย เข้ามาจัดกระบวนการให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องการป้องกันโรคโควิด-19 โดยจัดทำสื่อรณรงค์ให้ความรู้ 10 ภาษา แบ่งเป็นภาษาแรงงานข้ามชาติ 4 ภาษา ได้แก่ เมียนมา ลาว กัมพูชา อังกฤษ และภาษาชาติพันธุ์ 6 ภาษา ได้แก่ ปกาเกอะญอ ม้ง อูรักลาโว้ย ลาหู่ อาข่า ไทใหญ่ พร้อมพัฒนามาตรการการดูแลผู้ป่วย ทั้งในชุมชนและสถานประกอบการ

แผ่นปลิวความรู้ภาษาต่างๆ

“มาตรการการดูแลผู้ป่วยในชุมชนและสถานประกอบการ สสส. ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย เสริมศักยภาพแกนนำแรงงานข้ามชาติ หรืออาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.) 99 คน ให้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องมาตรการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ด้วยระบบกักตัวที่บ้านและชุมชน (Home-Community Isolation) พร้อมวิธีการตรวจหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 เชิงรุก เพื่อให้ผู้ติดเชื้อเข้าถึงการรักษาเร็วที่สุด ลดการแพร่ระบาดในชุมชมแรงงานข้ามชาติวงกว้าง โดยชุมชนเทียนทะเล ซอย 26 ถือเป็นพื้นที่ต้นแบบที่มีมาตรการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพ โดย สสส. เตรียมถอดบทเรียนเพื่อนำไปสู่การปรับใช้เป็นมาตรการเฝ้าระวังในชุมชนอื่นๆ ในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ ให้ครอบคลุมแรงงานข้ามชาติและครอบครัว 30,000คนขณะเดียวกันยังจัดทำแผ่นปลิวเอกสารให้ความรู้188รายการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพ  เขายังรับประทานอาหารรสจัดใส่ผงชูรส ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ” คุณภรณีกล่าว

ภาสวรรณ สังฆสุบรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์กิจการสร้างสุข สสส.

คุณภาสวรรณ สังฆสุบรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์กิจการสร้างสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)กล่าวว่า ศูนย์กิจการสร้างสุข หรือ SOOK Enterprise สสส. จัดทำชุด Home Isolation เพื่อนกันวันติดโควิด โดยคัดเลือกอุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรคที่มีคุณภาพได้มาตรฐานจากความร่วมมือของภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ รวม12ชิ้น อาทิ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ปรอทวัดไข้ดิจิทัล หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ น้ำยาทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค ถุงขยะสีแดงสำหรับใส่ขยะติดเชื้อ ทั้งนี้สสส.เตรียมชุด Home Isolation เพื่อนกันวันติดโควิด 3,700 ชุด ให้ภาคีเครือข่ายนำไปกระจายให้ประชากร กลุ่มเฉพาะที่มีความต้องการ อาทิ กลุ่มคนไร้บ้าน กลุ่มคนพิการ

แรงงานต่างด้าวพร้อมเด็กๆหน้าบริเวณที่พักชุมชนเทียนทะเล26

เด็กๆลูกแรงงานพม่า

สื่อสารทำความเข้าใจกับแรงงานต่างด้าวถึงการดูแลตัวเอง

 

 

หนังสือนิทานเรายังรักกันทุกวันจ้ะ

คู่มือดูแลสุขภาพในรูปแบบหนังสือนิทานเรื่อง "เรายังรักกันทุกวันจ้ะ"

เรื่อง:ระพีพรรณ พัฒนาเวช  

ภาพ:วชิราวรรณ ทับเสือ  กฤษณะ กาญจนาภา 

แปล:องมาอู

คุณยายไปเล่นทรายกัน อ๊ะ อ๊ะ ช่วงนี้สนามเด็กเล่นปิดจ้ะ อ๊ะอ๊ะ ยังเล่นด้วยกันไม่ได้จ้ะ  พ่อหมีกลับมาแล้วจ้ะ  อ๊ะอ๊ะอย่าเพิ่งกอดกันนะ แง แง เล่นก็ไม่ได้ แง แง กอดก็ไม่ได้ ทำไม ทำไมทำไมกอดด้วยไม่ได้ล่ะ  โอ๋โอ๋ มานี่มา พ่อหมีมีหนังสือมาฝาก คุณยายอ่านนิทานให้ฟังนะจ๊ะ หมีเล็กรู้ไหม ตอนนี้มีโรคระบาด ชื่อโรคโควิด-19 เด็กๆต้องระวังมากๆ  ถึงแม้จะกอดชื่นใจไม่ได้ แต่ลูกหมียังเตรียมขนมชื่นใจให้พ่อหมีได้ แล้วยังเตรียมบอกรักพ่อหมี แบบไม่ต้องกอดกันได้ด้วยนะ  พ่อหมีกลับมาแล้วจ้ะ  เมื่อโรคโควิด-19หายไป พ่อหมีไม่ต้องทำงานหนัก ไม่ต้องกลัวติดเชื้อโรค และจะได้กอดลูกหมีเล็กแน่นๆเหมือนเดิม เมื่อโรคโควิด-19หายไป หมีเล็กจะได้เล่นกับกระต่ายน้อย เล่นด้วยกันทุกๆวันเหมือนเดิม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสส. ปลื้ม ครบรอบ 4 ปี ThaiHealth Academy พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรสุขภาวะ 82 หลักสูตร

เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567 ที่โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ หรือ ThaiHealth Academy

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ไขคำตอบ..ออกกำลังกายเป็นนิจ ตัวช่วยอายุยืนยาวห่างไกล NCDs

อุบัติการณ์โรคในยุคนี้ปรากฏว่า "โรคไม่ติดต่อ (NCDs)" กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็น 75% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด หรือเกือบ 4 แสนคนต่อปี