จับตา โควิด 'ซุปเปอร์แวเรียนท์' สายพันธุ์ XBB.1.5 ระบาดพุ่งในอเมริกา

Virus variant, coronavirus, spike protein. Omicron. Covid-19 seen under the microscope. SARS-CoV-2, 3d rendering

2 ม.ค. 2566 – ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี โพสต์ข้อมูล 18 คุณสมบัติสำคัญของโควิด “ซุปเปอร์แวเรียนท์ (super-variant): XBB.1.5” ที่ควรทราบ

ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention, CDC)เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2565 แถลงว่าได้เกิดการแพร่ระบาดของโอมิครอน “XBB.1.5” ในสหรัฐอเมริกาเป็นสองเท่าในเวลาเพียง 1 สัปดาห์ ปัจจุบันมีส่วนแบ่งการระบาดในผู้ติดเชื้อรายใหม่ถึง 40.5%

คาดว่าโอมิครอนลูกผสม XBB.1.5 จะกลายเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดรเร็วในปี 2566
(ภาพ 1)

1. ทางศูนย์จีโนมฯ รพ. รามาธิบดีขอสรุป 18 คุณสมบัติสำคัญของโอมิครอน XBB.1.5 ที่น่าสนใจดังนี้

2.ต้นตระกูลของ XBB.1.5 คือโอมิครอน BA.2, เป็นสายพันธุ์ลูกผสม (recombinant) ระหว่างโอมิครอนสองสายพันธุ์คือ BJ.1 และ BM.1.1.1 (ภาพ2)

3.มีวิวัฒนาการกลายพันธุ์ต่างจาก XBB.1 ในส่วนของโปรตีนหนาม 1 ตำแหน่งคือ “F486P” (ภาพ3)เป็นสายพันธุ์ที่หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุดสายพันธุ์หนึ่งในปัจจุบัน (ภาพ4 แกนตั้ง)

4.จับยึดกับผิวเซลล์บริเวณโปรตีน ACE-2 ของผู้ติดเชื้อได้แน่นที่สุดสายพันธุ์หนึ่ง ทำให้เป็นสายพันธุ์ที่แทรกรุกรานเข้าสู่เซลล์ได้ดีที่สุดในปัจจุบัน (ภาพ4 แกนนอน)

5. XBB.1.5 หลบเลี่ยงต่อภูมิคุ้มกันแบบผสม (hybrid immunity) อันเกิดจากการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อตามธรรมชาติ) ได้ดีกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม, อู่ฮั่น ถึง 104 เท่า (ภาพ5)

6. ภูมิคุ้มกันแบบผสมจาก“การฉีดวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอตามด้วยการติดเชื้อโอมิครอน BA.4/BA.5 ตามธรรมชาติ” สามารถป้องกันการติดเชื้อ XBB* ได้ดีกว่าการฉีดวัคซีนแบบเอ็มอาร์เอ็นเอตามด้วยการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีนสองสายพันธุ์ (bivalent) (ภาพ5)

7. ภูมิคุ้มกันแบบผสมจาก“การฉีดวัคซีนเชื้อตาย 3 เข็มตามด้วยการติดเชื้อโอมิครอน BF.7 ตามธรรมชาติ” สามารถป้องกันการติดเชื้อ XBB, XBB.1, XBB.1.5 ได้ใกล้เคียงกัน แต่ต่ำกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม, อู่ฮั่น อย่างมีนัยสำคัญ (ภาพ6A)

8. ภูมิคุ้มกันแบบผสมจาก“การฉีดวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ 3 เข็มตามด้วยการติดเชื้อโอมิครอน BA.5 ตามธรรมชาติ” สามารถป้องกันการติดเชื้อ XBB, XBB.1, XBB.1.5 ได้ใกล้เคียงกัน (ภาพ6B) และใกล้เคียงกับกลุ่มผู้ที่ได้รับฉีดวัคซีนเชื้อตาย 3 เข็มตามด้วยการติดเชื้อโอมิครอน BF.7 ตามธรรมชาติ (ภาพ6A) แต่ยังคงต่ำกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม, อู่ฮั่น อย่างมีนัยสำคัญ

9.แม้ว่า XBB.1.5 จะหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ใกล้เคียงกับ XBB และ XBB.1 แต่พบว่า XBB.1.5 สามารถจับกับตุ่มโปรตีน ACE-2 บนผิวเซลล์ผู้ติดเชื้อได้แน่นกว่า BA.2.75, BQ.1.1 และ XBB ทำให้ผลรวมสามารถแพร่ระบาดได้เหนือกว่า XBB, XBB.1 และโควิดทุกสายพันธุ์ที่กำลังระบาดในหลายประเทศ ทั่วโลก

10.การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เอ็มอาร์เอ็นเอรุ่นที่สอง(สองสายพันธุ์-bivalent booster) จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อ XBB ได้ดีกว่าการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นรุ่นแรก(สายพันธุ์เดียว monovalent booster) จำนวนสองเข็ม และการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นรุ่นแรก(สายพันธุ์เดียว monovalent booster) เพียงเข็มเดียวตามลำดับ (ภาพ7)

11.จากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของ XBB.1.5 ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาพบว่า XBB.1.5 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่าโอมิครอนทุกสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดในขณะนี้ ประมาณ 109 % (ภาพ8)

12.จากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของ XBB.1.5 ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาพบว่า XBB.1.5 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่าโอมิครอน BA.5.2.1 (ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักแพร่ระบาดในหลายประเทศขณะนี้)ประมาณ 217 % (ภาพ9)

13.ATK และ PCR ยังใช้ตรวจโอมิครอน XBB.1.5 ได้ดี ไม่แตกต่างจากโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยอื่นอย่างมีนัยสำคัญ

14. อาการความรุนแรง (severity) ไม่ต่างจาก XBB* อื่นอย่างมีนัยสำคัญ

15.จากฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” ยังไม่พบโอมิครอน XBB.1.5 ในประเทศไทย

16.ยา(เม็ด)โมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir), ยา(เม็ด)แพกซ์โลวิด (Paxlovid: nirmatrelvir/ritonavir), ยา(ฉีด)เรมเดซิเวียร์ (remdesivir) ยังใช้ต้านโควิดทุกสายพันธุ์ได้ดีแม้จะมีการกลายพันธุ์บนส่วนหนามแหลมก็ตาม ปัจจุบันยังไม่พบเชื้อดื้อยา (ภาพ10)

17.XBB.1.5 ดื้อต่อยาฉีดสร้างภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปทุกชนิดที่หลายประเทศมีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน (ภาพ10)

18.ยังไม่มีข้อมูลทางคลินิกบ่งชี้ว่า XBB.1.5 ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง (severity) แตกต่างไปจากโอมิครอนสายพันธุ์อื่นอย่างมีนัยสำคัญ

โดยสรุป XBB.1.5 แพร่ได้รวดเร็วกว่าโควิดทุกสายพันธุ์ที่ระบาดในปัจจุบัน หลบเลี่ยงภูมิคุ้มทั้งจากการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อตามธรรมชาติได้ดีที่สุด ส่วนโปรตีนหนาม (spike protein) มีแรงยึดเกาะกับผิวเซลล์ผู้ติดเชื้อได้แน่นมากที่สุดทำให้แพร่ติดต่อเข้าสู่เซลล์ได้โดยง่าย ดื้อ (resistant) ต่อยาฉีดสร้างภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปทุกชนิดที่หลายประเทศมีใช้กันอยู่ ถูกยับยั้งหรือทำลาย(susceptible) ได้ด้วยยาต้านไวรัสทั้งชนิดเม็ดและชนิดฉีด ปัจจุบันยังไม่พบเชื้อดื้อยา ยังสามารถตรวจคัดกรองได้ดีด้วย ATK และ PCR
“รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งก็จะไม่พ่ายแพ้ในทุกครั้ง”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โควิดพุ่งตามคาด! สายพันธุ์ไม่เปลี่ยน อาการคล้ายหวัด

กรมควบคุมโรคเผยสถานการณ์โรคโควิด 19 พบแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นหลังเทศกาลสงกรานต์ เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี สายพันธุ์ไม่เปลี่ยนอาการคล้ายหวัด แนะ กลุ่มเสี่ยง 608 ระมัดระวังหากมีอาการสงสัยป่วยควรปรึกษาแพทย์

โควิดสงกรานต์พุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 849 ราย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 7 - 13 เมษายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 849 ราย

โควิดยังพุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 728 ราย ผู้สูงอายุดับ 2 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 24 - 30 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่

โควิดพุ่ง! ไทยติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 630 ราย ดับเพิ่ม 5 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 17 - 23 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 630 ราย

ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 501 ราย ดับเพิ่ม 4 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 10 - 16 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 501 ราย