สสส.จับมือมูลนิธิเด็กฯเป็นลมใต้ปีกพยุงผีเสื้อโบยบินใหม่

สสส.มูลนิธิเด็กเยาวชนและครอบครัว เปิดตัวหนังสือ“ผีเสื้อขยับปีก” เป็นอุทาหรณ์ร่วมกันต่อสู้เพื่อผดุงความยุติธรรม Stronger Together สะท้อนคดีล่วงละเมิดทางเพศ เหยื่ออับอายสังคม  ไม่กล้าร้องขอความยุติธรรม พบเกิดคดีเฉลี่ย14ราย/วัน ชงออกกฎหมายคุ้มครองเฉพาะ เสริมพลังใจสร้างความเข้มแข็งให้ผู้เสียหาย  สสส.หนุนผลักดันหลายองค์กรช่วยกันถอดบทเรียนคดีล่วงละเมิด  ต้องยืนหยัดต่อสู้ไม่ยอมจำนนต่อปัญหา พัฒนาองค์ความรู้  เพื่อผู้ถูกกระทำมีสุขภาวะยั่งยืน

มูลนิธิเด็กเยาวชนและครอบครัว ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  เปิดตัว  “หนังสือผีเสื้อขยับปีก”เมื่อวันที่4พฤศจิกายน ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เพื่อบอกเล่าความรุนแรงในเด็กและครอบครัว หลายคดีเด็กเลือกที่จะเงียบและกลบเรื่องราว ติดคุกแห่งความรู้สึกทุกข์ เปิดช่องผู้ทำผิดย่ามใจ ทำซ้ำๆกับเหยื่ออีกเป็นเดือนเป็นปี  พร้อมแนะวิธีป้องกันปัญหาทวงคืนความยุติธรรมและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ต่อสู้ด้วยข้อกฎหมายในกระบวนการยุติธรรม

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสสส.กล่าวว่า สสส.ร่วมขับเคลื่อนโครงการปกป้องเด็กและเยาวชนเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ ยาเสพติด การพนัน และอุบัติเหตุต่างๆ ร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง โดยสสส.ได้ผลักดันทุกฝ่ายทำงานให้เกิดการถอดบทเรียนองค์ความรู้ การทำงานข้ามศาสตร์ ข้ามองค์กร เพื่อค้นพบสิ่งต่างๆ  ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินคดีล่วงละเมิดในเด็กและเยาวชน จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องกระบวนการยุติธรรมระหว่างการต่อสู้เพื่อสิทธิโดยสสส. และภาคีเครือข่ายได้พัฒนาจัดทำ “หนังสือผีเสื้อขยับปีกที่สะท้อนเรื่องราวของครอบครัวเด็กผู้หญิงผู้ถูกกระทำที่กล้ายืนหยัด ลุกขึ้นมาต่อสู้ ไม่ยอมจำนนกับปัญหาที่เข้ามาในชีวิต เป็นความท้าทาย ก้าวอย่างมั่นคง คนทำผิดต้องได้รับโทษ ช่วยกันปรบมือและให้กำลังใจเธอและครอบครัวเป็นแกนนำในการต่อสู้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง รวมถึงป้ามล ทิชา ณ นคร ยืนหยัดเคียงข้างเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม”

โดยเนื้อหาในหนังสือได้บอกเล่าเรื่องราวของผู้ที่ถูกกระทำที่กล้าลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิของตัวเอง โดยมีคดีเด็กหญิงอายุ 14 ปี ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศและกระทำความรุนแรงจากคนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงทางภาคใต้มานานนับปี กว่าที่หน่วยงานต้องเข้าไปช่วยเหลือเรียกร้องความยุติธรรมให้ผู้เสียหายนานกว่า 3 ปี ที่ศาลฎีกาได้พิพากษา จำคุกจำเลยทั้ง 11 คน ตั้งแต่ 15 ปี ถึงตลอดชีวิต

“ด้วยบทบาทสสส.สนับสนุนงานเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสังคมที่จะถูกกระทำต่อเด็ก เยาวชน เหล้า บุหรี่ การพนันที่ถูกกระทำ คนตัวใหญ่กว่ามีความได้เปรียบ เด็กจมอยู่ในความทุกข์ เรามีหน้าที่ดูแลไม่ให้เด็กถูกละเมิดด้วยการใช้ความรุนแรง ปรับเปลี่ยนคนเป็นเหยื่อ ทวงคืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อยู่ในสังคมและมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะน้องฟ้ามีความเข้มแข็งมากเป็นต้นเรื่อง ดร.ผุสดี ตามไทเป็นแรงหนุนให้น้องฟ้าเข้มแข็งทำงานด้วยใจ ก้าวข้ามผ่านอุปสรรคต่างๆ ขอส่งแรงใจถึงผู้ที่ถูกกระทำจากปัจจัยเสี่ยงทางสังคมที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อให้พลังใจจากสสส.ส่งไปถึงทุกคนให้ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อความถูกต้องเป็นธรรม สู่การเปลี่ยนแปลงตัวเองในประเทศนี้ ให้สามารถยืนหยัดและหนักแน่นในการต่อสู้ โดยขอให้เชื่อว่ามีหน่วยงานภาคีเครือข่ายส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่พร้อมให้ความช่วยเหลือและยืนหยัดเคียงข้างอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้มีใครโดดเดี่ยวหรือต่อสู้ลำพัง” ดร.สุปรีดากล่าว

นางสาวนริศา อดิเทพวรพันธุ์ ผู้แทนรัฐมนตรีว่ากระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวว่า จากคดีเด็กหญิงอายุ14ปี ทางภาคใต้ที่ถูกคนในชุมชนและใกล้เคียงล่วงละเมิดทางเพศ ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าคดีจะสิ้นสุดถือเป็นช่วงเวลาแห่งความทุกข์ใจของผู้ถูกกระทำและครอบครัว แต่ก็ได้รับการช่วยเหลือประคับประคองครอบครัวจนก้าวผ่านมาได้ ทั้งนี้ความช่วยเหลือจากกระทรวงพม. หน่วยงาน มูลนิธิที่เกี่ยวข้องเปรียบเสมือนลมใต้ปีกช่วยพยุงผีเสื้อบาดเจ็บให้โบยบิน กลับมามีชีวิตใหม่อย่างมีคุณค่า แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่เข้าไม่ถึงกระบวนการช่วยเหลือ ทั้งนี้จากข้อมูลปี2561 มีเด็กและเยาวชนถูกกระทำความรุนแรงและถูกล่วงละเมิดทางเพศ14,237ราย ปี2562จำนวน15,797ราย ในจำนวนนี้เป็นความรุนแรงทางเพศ5,191ราย คิดเป็น32.9%เฉลี่ยวันละ14ราย ส่วนใหญ่ผู้กระทำส่วนใหญ่เป็นคนใกล้ชิดที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาเสพติด หากใครพบเห็นสามารถโทรแจ้งได้ที่สายด่วน1300 หรือขอคำปรึกษาช่วยเหลือได้ที่บ้านพักเด็กและครอบครัวทั่วประเทศ

ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า กฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญาในแง่ที่เป็นการคุ้มครองเหยื่อหรือผู้เสียหายในปัจจุบันถือว่าดี เพราะสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้ด้วยตัวเอง มีมาตรการคุ้มครองเหยื่อ แต่คดีทางเพศเป็นคดีที่มีความอ่อนไหวจึงต้องอาศัยผู้ที่มีองค์ความรู้เฉพาะทางวางแนวทางแก้ปัญหา เพราะคดีลักษณะนี้เกิดกับคนเปราะบาง กระทบจิตใจและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ บั่นทอนกำลังใจผู้ถูกกระทำระหว่างต่อสู้คดี นอกจากนี้จะเห็นว่าหลักฐานต่างๆจะอยู่ในที่ลับบนเนื้อตัวของผู้เสียหาย การจะได้มาซึ่งหลักฐานพยานจึงยุ่งยาก ซับซ้อน อาจถูกทำลายได้ง่าย

ผศ.ดร.ปารีณากล่าวต่อว่า กฎหมายที่มีอยู่ในแง่ของการคุ้มครองผู้เสียหาย ถ้าเป็นผู้หญิงการคุ้มครองมีเพียงให้สอบสวนโดยพนักงานหญิง หากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า18ปี ก็จะมีสหวิชาชีพซึ่งไม่เพียงพอ อีกทั้งยังทำคดีแยกส่วนถือเป็นช่องว่างของการทำคดีทางเพศที่ไม่ได้เอาตัวผู้เสียหายมาร่วมดำเนินคดีเต็มตัว ทั้งนี้จากการอ่านหนังสือผีเสื้อขยับปีกคิดว่ามีอีกหลายคดีที่ไม่ได้ต่อสู้ เพราะผู้ถูกกระทำหรือครอบครัวไม่รู้ข้อกฎหมาย ขณะที่บางส่วนอาจไม่มั่นใจกระบวนการยุติธรรม เพราะไม่รู้ว่าสังคมจะมองอย่างไร ถูกมองมีมลทินหรือไม่โดยเฉพาะถูกกระทำจากคนในครอบครัว คนใกล้ชิด คนที่มีอำนาจเหนือกว่า

“หนังสือผีเสื้อขยับปีกนี้ เรามีกลไกหลายอย่างที่สามารถสร้างพลังของผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดให้คดีสำเร็จ และออกกฎหมายคดีทางเพศใหม่ที่สามารถคุ้มครองผู้ถูกกระทำทุกคน เพื่อให้ผู้เสียหายกล้าเรียกร้องความยุติธรรม ช่วยให้เขามีชีวิตปกติ หรือใกล้เคียงปกติที่สุด และยังมีกฎหมายอีกหลายอย่างที่เกี่ยวเนื่องกันนั้นต้องมีการปรับแก้ให้สอดคล้องกันด้วย” ผศ.ดร.ปารีณา กล่าว

ขณะที่ นางทิชา ณ นคร ที่ปรึกษามูลนิธิเด็ก เยาวชนและครอบครัว กล่าวว่า การที่ผีเสื้อขยับปีกมองเห็นความสวยงาม ความบอบบางของปีกก็เหมือนกับเด็กๆถูกทำให้ปีกหักไม่สามารถโบยบิน ต้องใช้เวลาซ่อมปีก การใช้เอ็มพาวเวอร์เพื่อให้เด็กที่ถูกละเมิด ต้องถูกเนรเทศรู้สึกว่าตัวเองมีมลทินทำความผิด ถ้าเราไม่เยียวยาเพื่อให้เด็กเห็นคุณค่าในตัวเอง เพื่อเขาจะได้เป็นพยานที่สำคัญเมื่อมีการสืบพยานเห็นความชัดเจนของการถูกกระทำ เพื่อให้รู้ว่ากระบวนการยุติธรรมนั้นศักดิ์สิทธิ์ คนที่ทำความผิดละเมิดต่อเด็ก ไม่รอดพ้นความผิดทางด้านกม. “นาทีที่คำพิพากษาลงโทษผู้กระทำผิดมันเป็นนาทีแห่งการเยียวยาผู้ถูกกระทำที่จิตแพทย์ก็ทำให้ไม่ได้ การสร้างหมุดหมายเพื่อทวงคืนความยุติธรรมให้กับเด็ก”  ด้วยการเปลี่ยนวิธีคิดเจ้าหน้าที่ของรัฐเกือบทั้งหมด รัฐไม่มีสิ่งที่เรามี แต่ในขณะเดียวกันเราก็ไม่มีในสิ่งทีรัฐมี เรามีกระบวนการเอ็มพาวเวอร์ช่วยกันทำงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นความโชคดีที่เรามีสสส.เป็นพลังขับเคลื่อนให้ประสบความสำเร็จได้

ภาพรวมการข่มขืนสังคมไทยสะท้อนปัญหาสังคม2ภาพพร้อมกันคือ ตัวผู้กระทำที่ขาดสำนึกผิดชอบชั่วดีอย่างรุนแรง ภาพที่ซ้อนใต้ภาพนี้คือ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างผู้กระทำกับผู้ถูกกระทำหรือจะเรียกว่าโครงสร้างในเชิงมิติชายเป็นใหญ่ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีเกาะแรด พังงาคือความเป็นชุมชน สังคม เครือญาติที่รู้จักคุ้นเคยใกล้ชิด เมื่อ3ภาพนี้หมุนอยู่ในพิกัดเดียวกัน ผู้กระทำกลุ่มที่เป็นข่าว จึงกระทำต่อเด็กหญิงอย่างยาวนาน ข้ามเดือน ข้ามปีด้วยความลืมตัว ฮึกเหิม คนที่มีอำนาจน้อยตกเป็นเหยื่อ เราต้องช่วยปรับสมดุล ทำให้ผู้มีอำนาจน้อยมีอำนาจเพิ่มรับมือหรือต่อสู่กับคนที่มีอำนาจเหนือกว่าได้ ให้เหยื่อเผชิญหน้ากับเหตุการณ์เลวร้ายในอดีต บอกเล่าเรื่องราวความเจ็บปวดแต่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินคดีได้ในที่สุด

ในฐานะผู้ติดตามข่าวเราเห็น3ภาพนี้ชัดเจน โดยเฉพาะความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่ากันระหว่างผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ ซึ่งเป็นจุดบอดที่ต้องถูกช่วย ถูกเสริมพลัง เมื่อตัดสินใจว่าต้องทำอะไรมากกว่าแค่การติดตามข่าวเราก็ขยับและเคลื่อนไหวโดยนำประสบการณ์จากคดีค้ามนุษย์น้ำเพียงดิน แม่ฮ่องสอนมาทบทวนต่อยอดเดินหน้า หากหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบคดี ซึ่งมีทั้งบ้านพักเด็ก กระทรวงพม. และทีมคุ้มครองพยาน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพกระทรวงยุติธรรม ทั้งนี้ งานข้ามศาสตร์ ข้ามองค์กรในคดีเกาะแรด พังงา ชัดเจนว่า ลงตัว ราบรื่นกว่าคดีค้ามนุษย์น้ำเพียงดิน แม่ฮ่องสอนโดยเฉพาะรัฐมีในสิ่งที่ภาคประชาสังคมไม่มี เช่น การบังคับใช้กฎหมายบ้านพัก เซฟเฮาส์ แต่ภาคประชาสังคมก็มีในสิ่งที่รัฐไม่มี เช่น การเสริมพลังใจเหยื่อ และเปลี่ยนเหยื่อเป็นพยาน จนนำไปสู่การสืบพยานที่ได้ความจริงเชิงลึก และชัดเจน สามารถลงโทษผู้กระทำได้ ดังคำพิพากษาศาลฎีกาที่ทุกคนได้ทราบแล้ว โทษของผู้กระทำคือการเยียวยาผู้ถูกกระทำได้ในระดับหนึ่ง

“สิ่งที่จะเยียวยาผู้ถูกกระทำในคดีที่สร้างบาดแผลใจอย่างลึกซึ้ง คือสิทธิที่จะถูกลืม หรือการได้ชื่อ นามสกุล เลข13หลักใหม่โดยอัตโนมัติ รวมถึงการเริ่มต้นในถิ่นฐานใหม่อย่างมั่นคง ซึ่งหมุดหมายแรกของสิทธิที่จะถูกลืมต้องมาจากฝ่ายกฎหมายจะเขียนอย่างไร จะผลักดันผ่านช่องทางใด และประกาศใช้เมื่อไหร่ เพราะนั่นคือมาตรการการเยียวยาที่ดีที่สุด” นางทิชากล่าวในฐานะเป็นบรรณาธิการ สำหรับผู้ที่สนใจหนังสือ“ผีเสื้อขยับปีก”ที่ถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน กรณีคดีละเมิดทางเพศเด็กหญิงบ้านเกาะแรด จังหวัดพังงา จำหน่ายในราคา250บาทโดยรายได้จากการจำหน่ายหนังสือมอบให้เป็นทุนในการดำเนินชีวิตของครอบครัวผู้เสียหายคดีเกาะแรด สามารถสอบถามสั่งซื้อได้ที่เพจ มูลนิธิเด็กเยาวชนและครอบครัว โทร.02-0481950.

 

 

 

“งานเขียนชิ้นนี้เปรียบเสมือนทำงานอยู่ในวงดนตรีออเคสตร้าจับตามจังหวะ”                

กรรณจริยา สุขรุ่ง ผู้เขียน/เรียบเรียง หนังสือผีเสื้อขยับปีก

งานเขียนชิ้นนี้เปรียบเสมือนทำงานอยู่ในวงดนตรีออเคสตร้าจับตามจังหวะมีคนทำงานอยู่ตรงกลางด้วยความร่วมมือของป้ามล-ทิชา ณ นคร แห่งมูลนิธิเด็กเยาวชนและครอบครัวทำหน้าที่ได้อย่างดี  เป็นการทำงานแบบบูรณาการทุกฝ่ายจนประสบความสำเร็จ ภาครัฐเปิดประตูให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วม ด้วยข้อจำกัดของกฎระเบียบ คน งบประมาณด้วยการยึดหลักเราต้องช่วยกันทำงาน ไม่ให้เป็นภาระ ทำให้หัวใจเดียวกันเดินหน้าไปได้ดี ขณะเดียวกันคุณแม่เอเปิดใจกว้างอย่างไม่มีเงื่อนไข เสมือนหนึ่งเป็นเรื่องดีใจที่ได้เหยียบทะเล

เรื่องนี้เป็นเหตุการณ์ของครอบครัวหนึ่งประสบเหตุอย่างไม่คาดคิด ปกติแล้วเด็กหญิงเป็นเด็กดีตั้งใจเรียนหนังสือ แต่ความเลวร้ายที่ไม่ปกติบังเกิดขึ้นในครอบครัวได้เสมอ เราต้องมีวิธีการป้องกัน เรื่องนี้เป็นบทเรียนสำหรับครอบครัว เพื่อช่วยประคับประคองลูกในสภาวะที่เขาเกิดความย่ำแย่ในชีวิตมีการล่วงละเมิดทางเพศ  ด้วยเส้นทางการทำหนังสือเล่มนี้ใช้เวลา4เดือนไม่ได้เป็นการลงพื้นที่ พูดคุยกับคนในครอบครัวโดยตรง แต่เป็นการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารในระหว่างการดำเนินคดีระหว่างการพิจารณาคดีในศาล ตลอดจนข้อมูลจากหัวหน้าบ้านพักเด็ก เจ้าหน้าที่สำนักงานคุ้มครองพยาน แม่เอได้รับเชิญในวงสนทนาพูดคุย มีคลิปเสียง นำข้อมูลมาเขียนโดยไม่สัมภาษณ์เพิ่มเติม

“การที่เด็กวัย14ปีชนะคดีได้นั้น อยู่ที่คำให้การของเด็ก กว่าจะเริ่มต้นสืบสาวราวเรื่องทั้งๆที่เวลาผ่านไปแล้ว9เดือน พยานหลักฐานหายไปหมดแล้ว คำพูดของเด็กเป็นพยานสำคัญเพราะพูดกี่ครั้งๆก็เหมือนเดิม ทางจิตใจบอกได้ด้วยการซักถามพยานก็คือตัวเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ ไม่มีข้อสงสัยว่าโกหกแต่อย่างใด ไม่ว่าจะถามย้อนถามแย้งก็ได้คำตอบเดิม เด็กไม่ได้คิดจินตนาการขึ้นเองแต่อย่างใด ยังมีพยานเด็กวัย8-9ขวบอีกคนหนึ่งก็ให้การอย่างเดียวกันแสดงว่าเป็นเหตุการณ์จริง ตามกระบวนการยุติธรรมจะต้องให้เด็กเล่าจนจบเพื่อสืบคดี เด็กพูดโดยเห็นหน้าจำเลยการสืบพยานทำต่อเนื่อง4วันรวด แต่จำเลยพูดไม่เห็นหน้าเด็ก ขณะนี้เด็กเรียนหนังสือระดับปวส.และทำงานควบคู่ไปด้วย”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ไขคำตอบ..ออกกำลังกายเป็นนิจ ตัวช่วยอายุยืนยาวห่างไกล NCDs

อุบัติการณ์โรคในยุคนี้ปรากฏว่า "โรคไม่ติดต่อ (NCDs)" กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็น 75% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด หรือเกือบ 4 แสนคนต่อปี

เปิดผลสำรวจวัยโจ๋ ขีดเส้นสนามกีฬาฟุตซอล ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน

เครือข่ายงดเหล้า และสสส. ส่งเสริมกีฬาเยาวชนจัดฟุตซอล No-L ชิงถ้วยพระราชทานฯ รร. ราชวินิต มัธยม คว้าแชมป์ไปครองสมัยที่ 2 ด้วยสกอร์ 6:0 ในขณะที่ผลสำรวจร้อยละ 90 ต้องการให้สนามแข่งไม่ดื่ม ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน และร้อยละ 84.8 คิดว่ากีฬาฟุตซอลทำให้เยาวชนเห็นคุณค่าของตัวเอง