ชวน 'ตากแดด' เดินหมื่นก้าว สุขภาพดีสู้ได้สารพัดโรค

‘หมอธีระวัฒน์’ ชวนตากแดด เปรียบเหมือนยาอายุวัฒนะ เดินวันละหมื่นก้าว เข้าใกล้มังสวิรัติ เสริมสร้างสุขภาพดี ป้องกันสารพัดโรค

7 มี.ค. 2568 – ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ประธานศูนย์ความเป็นเลิศด้านการแพทย์บูรณาการและสาธารณสุขและที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า มาตากแดดกันดีกว่า

แดด แข็งแรงสู้โควิดและรักษาลองโควิด และต้องเข้าใกล้มังสวิรัติ ถั่ว งด ลด สัตว์บก ลดแป้ง เน้น ปลา กุ้งหอย ปู ปลาหมึกก็ได้ ขิง ข่า ตะไคร้ โหระพา ผักชี กระชายขาว ขมิ้นชัน พริก เป็นต้น อารมณ์ดี อากาศดี อาหารดี ออกกำลังกายดี แอลกอฮอล์แต่พองาม

เป็นที่ประจักษ์ว่าแสงแดดมีคุณประโยชน์นานัปการ โดยการติดตาม รวมทั้งมีการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่าแสงแดด เปรียบเสมือนกับเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้มีชีวิตยืนยาวขึ้นและยังสามารถป้องกันโรคหัวใจและเส้นเลือดทั้งร่างกาย รวมกระทั่งถึงสาเหตุการตายต่างๆ จนถึงมะเร็ง

ทั้งนี้ยังปรับสมดุลการทำงานของตับ ทำให้ต้านพิษได้เก่งขึ้น และทำให้โรคที่เรียกว่าโรคเมตาบอลิค อ้วน ลงพุง เบาหวาน ไขมันความดันสามารถชะลอหรือควบคุมได้ง่ายขึ้น

แสงแดดกับสุขภาพที่ดีนั้นไม่สามารถอธิบายได้จากการที่แสงแดดทำให้เกิดการสังเคราะห์วิตามินดี เนื่องจากพิสูจน์แล้วว่าการเสริมวิตามินดี ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงในการตายและการป้องกันการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดต่างๆ รวมกระทั่งถึงมะเร็ง

ผิวหนังเป็นอวัยวะที่เชื่อมโยงกับระบบต่อมไร้ท่อ ทั้งนี้ โดยที่มีเซลล์ที่เป็นตัวรับฮอร์โมนหลายชนิด และยังมีการสร้างสารเอนโดฟิน วิตามินดี และฮอร์โมนเอสโตรเจน เป็นตัน

รวมทั้งฮอร์โมน ghrelin โดยตัวที่ผลิตฮอร์โมนนี้มาจากเซลล์ adipocytes ที่ผิวหนัง เมื่อกระทบกับแสงยูวีบี โดยผ่านกลไกของ p53 หรือ ที่เราเรียกว่า เป็นโปรตีนที่เป็นเทวดาอารักษ์ของจีโนม (guardian of genome) คือ ควบคุมวงจรชีวิตของเซลล์ให้มีการซ่อมแซม ดีเอ็นเอ เมื่อเจอกับอันตราย และที่จะก่อมะเร็ง รวมทั้งความแก่ชรา และในความสั้น ยาวของเส้นทีโลเมียร์ (telomere) ที่เกี่ยวกับอายุและควบคุมความเสถียรของยีน (genomic stability)

และถ้ามีความเสียหายเกินที่จะเยียวยาได้ ก็จะกำหนดให้เซลล์ตาย (programmed cell death) และยังเกี่ยวพันกับ ระบบการควบคุมการคลี่และบิดเกลียวของโปรตีน ที่จะเป็นพิษทำให้เซลล์ตาย (unfolded protein response และ ubiquitinylation)

ผลของแสงแดดยังทำให้มีการเพิ่มเมตาบอลิซึมของไขมันและสเตียรอยด์ และเป๊ปไทด์ที่เกี่ยวข้องกับเมตาบอลิซึม ในวงจรยูเรีย apolipoprotein ไขมันดี HDL PPAR signaling ในการรับและส่งสัญญาณอันตรายของเซลล์

ในอดีตนั้น เราเข้าใจว่า ghrelin ถูกสร้างจากกระเพาะ แต่ก็เป็นเพียงในจำนวน 60% เท่านั้น และจากข้อมูลในรายงานต่างๆ ทำให้มีความกระจ่างชัด ขึ้นว่า p53 จะปฏิบัติตัวเป็นฟัลครัม หรือเหมือนจุดคานงัดไม้กระดก และไม่เพียงแต่เป็นเทวดาอารักขา การอยู่ หรือตายของเซลล์ และการป้องกันการเกิดเนื้องอกหรือมะเร็งเท่านั้น ยังมีตัว ghrelin เป็นตัวกระตุ้นให้มีการซ่อมแซมดีเอ็นเอที่เสียหายไป ในส่วนของสมดุลในระดับเซลล์นี้ยังเกี่ยวพันกับฮอร์โมน leptin ซึ่งออกฤทธิ์ตรงข้ามกับ ghrelin

วงจรของผิวหนังฮอร์โมนยังเชื่อมโยงประสานกับสมองผ่านทางกลูตาเมท ซึ่งกระตุ้นการเรียนรู้ของสมอง และ ghrelin ยังมีการเชื่อมกับระบบที่ทำให้ผ่อนคลายความวิตกกังวล รวมกระทั่งปกป้องสมองจากภยันตรายต่างๆ มีฤทธิ์ในการต่อต้านการอักเสบช่วยปกป้องหัวใจและควบคุมความดันทำให้ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคทางหัวใจและเส้นเลือด รวมกระทั่งบรรเทาภาวะดื้ออินซูลิน ในโรค เมตตาบอลิค ซินโดรม ต่างๆ และระบบภูมิคุ้มกัน

ถ้ามีการออกกำลัง เคลื่อนไหวร่วมด้วย จะเพิ่มหรือเปล่งประสิทธิภาพของแสงแดดขึ้นไปอีก

และเราคงจะได้คำขวัญของ ”แสงแดด เดินวันละ 10,000 ก้าว และเข้าใกล้มังสวิรัติ” ก็จะอายุยืน สุขภาพดี ไม่มีโรค ไปทั้งหมดนะครับ

ล้างพิษ ด้วยแดด อาหาร อากาศ อารมณ์ ออกกำลัง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' แนะผู้ปกครองเตรียมลูกหลาน รับมือ 6 โรคทางเดินหายใจ ก่อนเปิดเทอม

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "การเตรียมลูกไปโรงเรียน ก่อนเปิดเทอม"

'หมอยง' ไขข้อโต้แย้ง 'วัคซีนไข้หวัดใหญ่' กับ Hippocratic Oath

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ข้อโต้แย้งวัคซีนไข้หวัดใหญ่ กับ Hippocratic Oath

เช็กเลย! อาหารอะไรบ้าง 'ช่วยชีวิต' หรือ 'ทำลายสุขภาพ'

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ประธานศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านการแพทย์บูรณาการและสาธารณสุข และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อาหารเพื่อตนเองและชีวิตอื่น

'หมอยง' แจงการระบาด 'โควิด' ช่วงเทศกาลสงกรานต์

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 การระบาดในช่วงสงกรานต์