กัดเซาะชายฝั่ง ภัยคุกคาม'ลันตา'ยุคโลกเดือด

ทุกปีประเทศไทยสูญเสียงบประมาณพันล้านบาทเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ทั้งกำแพงกันคลื่น เขื่อนกันคลื่น เติมทรายชายหาด หรือรอดักทราย แต่มาตรการโครงสร้างเชิงวิศวกรรมไม่สามารถหยุดยั้งการสูญเสียพื้นที่ริมชายฝั่งทะเล  ปัจจุบันปัญหารุนแรงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระดับน้ำทะเล ความสูงคลื่น พายุรุนแรงตลอดจนกิจกรรมการใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น

มีการคาดการณ์อนาคตของพื้นที่ชายฝั่งทะเลไทยเมื่อต้องเผชิญกับการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลจากภาวะโลกเดือด แม้ในสถานการณ์ที่ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มน้อยที่สุด หาดทรายจะหายไป 45 %  และถ้าเลวร้ายที่สุดจะหายไปถึง 71%  ภายในปี 2643 หรือ 67 ปีจากนี้

สำรวจมาตรการป้องกัดกัดเซาะชายฝั่งเกาะลันตา จ.กระบี่

จังหวัดกระบี่ที่มีแนวชายฝั่งรวมกว่า 200 กิโลเมตร เป็นพื้นที่มีแนวโน้มต่อภัยคุกคามสูง มีความจำเป็นต้องเพิ่มขีดความสามารถและบทบาทของชุมชนบริเวณชายฝั่งทะเลเพื่อติดตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของชายหาด  นำมาสู่การขับเคลื่อนโครงการ”วิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง เพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการกัดเซาะชายฝั่ง” โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)  ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ซึ่งจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้และภาคปฏิบัติตรวจวัดชายหาดด้วยอุปกรณ์ตรวจวัดรูปตัดชายหาดและบันทึกผลลงระบบติดตามด้วยเทคโนโลยี BEACH MONITORING (BMON) ที่ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่  มี ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดี ทช. ผู้แทน สสส. ผู้แทนชุมชนชายฝั่ง ผู้ประกอบการท่องเที่ยวเกาะลันตา ผู้แทน อปท. เกาะลันตา เจ้าหน้าที่มูลนิธิอันดามัน เข้าร่วม

ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี-ดร. ชาติวุฒิ วังวล ติดตามปัญหากัดเซาะชายฝั่ง

ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี กล่าวว่า ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลยาว 3,151 กิโลเมตร ใน 23 จังหวัด ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งถึง 1 ใน 4 ส่งผลกระทบ ทั้งระบบนิเวศ เศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชน อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ เป็นอีกพื้นที่ได้รับผลกระทบกัดเซาะชายฝั่ง จุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาที่ถูกวิธี จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลชายหาดที่มีความถูกต้อง มีความรู้ ความเข้าใจกระบวนการทางธรรมชาติของชายหาด ความสมดุลชายฝั่งทะเล และวิธีป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ดังนั้น ชาวลันตาผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงต้องได้รับความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง ติดตามข้อมูลชายหาดด้วยตนเอง เพื่อนำใช้ในการตัดสินใจเลือกวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะที่ถูกต้องและเหมาะสมกับพื้นที่

 “ เกาะลันตาเป็นหมุดหมายของนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ มาสัมผัสทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ ชายหาดที่สวยงาม การถ่ายทอดองค์ความรู้ในโครงการนี้เติมเต็มความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์ชายหาดหน้าบ้าน จากที่มีความรู้เรื่องคลื่นลมมรสุมจากวิถีชุมชนชายฝั่ง สร้างการมีส่วนร่วมให้คนลันตากำหนดทิศทางในการดูแลรักษาชายหาดอย่างยั่งยืน สร้างภูมิต้านทานเลือกมาตรการหยุดกัดเซาะ   จากเดิมส่วนกลางคิดและทำโครงการลงมา  ซึ่ง ทช. ร่วมกับ สสส. เครือข่ายชุมชนชายฝั่งทั้ง 24 จังหวัด และเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทะเลทั่วประเทศกว่า 880 คน พัฒนากลไกบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมทางทะเล  เราให้ความสำคัญกับการปรับตัว  ทุกวันนี้โลกเดือดส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล ภาคประชาชนต้องช่วยกันสอดส่องดูแลตั้งแต่ชายฝั่งทะเล ป่าชายเลน และทะเล รวมถึงการทำลายปะการัง หญ้าทะเล สัตว์ทะเลหายากเกยตื้น การทำประมงผิดกฎหมาย บุกรุกตัดไม้ป่าชายเลน และการจัดการขยะทะเล” อธิบดี ทช. กล่าว

ลงภาคสนามตรวจวัดชายหาดด้วยอุปกรณ์ตรวจวัดรูปตัดชายหาด-บันทึกผลลงระบบ BMON 

ด้าน ดร.ชาติวุฒิวังวล ผอ.สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. กล่าวว่า สสส.ให้ความสำคัญกับการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง สานพลังภาคีเครือข่ายพัฒนานวัตกรรม “เครื่องวัดความลึกน้ำทะเลชายฝั่ง” อย่างง่าย ที่ใช้วัสดุท่อ PVC ให้คนในพื้นที่สามารถใช้งานด้วยตนเอง และเรียนรู้ระบบตรวจวัดรูปตัดชายหาดด้วยเทคโนโลยี BMON ที่เป็นฐานข้อมูลการเปลี่ยนแปลงชายหาด ถือเป็นครั้งแรกของไทยที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตามหลักวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง (Citizen Science) ทำให้ชุมชนในพื้นที่เกิดความรู้ ความเข้าใจ สร้างความตื่นตัวถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการกัดเซาะชายฝั่ง เรียนรู้ต่อการปรับตัวต่อภัยคุกคามได้อย่างถูกต้อง

“ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีความซับซ้อน มีการคาดการณ์ในอนาคตอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น จะสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งมากขึ้น ต้องเตรียมความพร้อมระดับพื้นที่ หัวใจสำคัญ คือ  สร้างนำซ่อม เพราะถ้าเสียหายแล้วซ่อมแซมยาก โดยเฉพาะชุมชนชายฝั่งที่มีรายได้จากการท่องเที่ยว ชายหาดเป็นทรัพยากรสำคัญ หาดหายไป รายได้หายไป กระทบท่องเที่ยว กระทบอาชีพ ไม่รวมการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ โครงการนี้หาทางออกผ่านการอบรม ตอบโจทย์การสร้างสุขภาวะที่ดีที่บูรณาการความร่วมมือกับรัฐ อปท. ภาคประชาชน ภาคเอกชน สู่การรักษาทรัพยากรที่ดีให้รุ่นลูกหลาน  “ ดร.ชาติวุฒิ กล่าว

โครงสร้างทางวิศวกรรมป้องกันกัดเซาะที่ อ.เกาะลันตา

ผศ.ดร.สมปรารถนา  ฤทธิ์พริ้ง  คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้พัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัด BMON กล่าวว่า การติดตามตรวจสอบชายหาดทรัพยากรสิ่งแวดล้อมหน้าบ้านของตนเองมีความสำคัญและเกิดประโยชน์ต่อการวางแผนเพื่อจัดการพื้นที่ชายหาดในระดับชุมชนได้ ข้อมูลที่บันทึกอย่างเป็นระบบยังเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับชุมชนชายฝั่งในพื้นที่กรณีที่ต้องการคัดค้านกิจกรรมที่ทำบนชายฝั่งทะเลอีกด้วย กระบี่ชายหาดยาว 200 กม.  เม็ดทรายแต่ละหาด แต่ละพื้นที่ต่างกัน   ทรายชายหาดเป็น DNA ชายหาก ไม่มีมาตรการเดียวจัดการทุกหาดได้  ตั้งแต่ปี 2558-2566 กระบี่สร้างกำแพงกันคลื่นป้องกันกัดเซาะแล้ว 1.2 กม. และมีโครงการขุดลอกปากร่องน้ำ  ใช้งบไป 129 ล้านบาท ภาพรวมประเทศปี 2567 งบป้องกันกัดเซาะทะเลจาก 3 กรม เกือบ 800 ล้านบาท ในจำนวนนี้ 60% เป็นงบกรมโยธาฯ  ก่อนหน้านี้เราสูญเสียงบ1,000 ล้านบาททุกปี แต่ยังกัดเซาะไปเรื่อย ตราบใดที่คลื่นปะทะชายหาด เม็ดทรายเคลื่อนตัว ส่งผลให้ชายหาดเปลี่ยนแปลงในรูปแบบต่างๆ ทั้งทับถม คงสภาพ และกัดเซาะ  เพราะชายฝั่งทะเลเป็นพื้นที่ที่มีพลวัตรและการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด

“ ชายฝั่งทะเลไทย 3,151 กม. รัฐสร้างกำแพงกันคลื่นไปแล้ว 190 กม. เขื่อนกันคลื่น 112 กม. เติมทรายชายหาด 2.8 กม. แล้วก็รอดักทรายอีก 29 กม. เวียนใช้ 4 มาตรนี้ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันป้องกันกัดเซาะชายฝั่ง ที่เกาะลันตา จ.กระบี่ ก็ทำกำแพงกันคลื่นในหลายจุด  ซึ่งมีอีกหลายพื้นที่เกิดปัญหากัดเซาะขึ้น หากตัดสินใจใช้มาตรการที่ไม่เหมาะสมในพื้นที่ จะอาจส่งผลให้ชายหาดหายไป เทคโนโลยีที่ถ่ายทอดให้ชุมชน จะทำให้รู้สุขภาพชายหาด เท่ากันต่อการเปลี่ยนแปลง  เอื้อต่อการวางแผนอนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนา ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงชายหาดภาคสนามที่สำคัญ เช่น รูปตัดชายหาด ภาพถ่ายมุมเดิมๆ ความลาดชันชายหาดในแต่ละช่วงเวลา เป็นการต่อสู้ด้วยข้อมูลยับยั้งโครงสร้างทางวิศวกรรม อุปกรณ์ตรวจวัดต้นทุนต่ำ  สามารถประดิษฐ์และซ่อมแซมได้เองในท้องถิ่น  แต่มีความถูกต้องระดับที่ยอมรับได้ ทำงานร่วมกับแอป BMON  เพื่อติดตามชายฝั่งผ่านสมาร์ทโฟน ทั้งยังสร้างความตระหนักชุมชนเป็นเจ้าของพื้นที่ ” ผศ.ดร.สมปรารถนา กล่าว

นักวิชาการ มก. ระบุภาวะโลกเดือด โลกรวน ทำให้ชายหาดเกิดการเปลี่ยนแปลงมากกว่าเดิม โดยเฉพาะภัยคุกคามการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อด้านขวานของไทย ถ้าไม่ทำอะไรเลย เผชิญกับสถานการณ์เลวร้ายที่สุดระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นมากที่สุด เราจะสูญเสียพื้นที่ริมชายหาดถึง 80% มาพร้อมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของกำแพงกันคลื่น  ซึ่งไม่ใช่คำตอบทั้งหมดของการการจัดการพื้นที่ชายหาดในชุมชนอย่างยั่งยืน

ชุมชนชายฝั่งลันตาร่วมตรวจวัดชายหาดด้วยอุปกรณ์วัดรูปตัดชายหาด

หนึ่งในชุมชนชายฝั่งกระบี่ เรืองเดช คล่องดี ประธานกลุ่มชุมชนชายฝั่ง ต.เกาะกลาง อ.เกาะลันตา  พาชาวบ้านหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 9  ต.เกาะกลาง ร่วมฟังการบรรยายและสาธิตภาคสนาม กล่าวว่า ชุมชนชายฝั่งทะเล พบปัญหากัดเซาะรุนแรงตั้งแต่ปี 2549 นำมาสู่การวางกติกาดูแลระบบนิเวศป่าชายหาดระยะทาง 1 กม.  อนุรักษ์หญ้าทะเลใต้น้ำ พัฒนาจนเป็นชายหาดที่คงความสมดุลร่วมกับรัฐ  หากรัฐหรือผู้ประกอบการจะสร้างกำแพงกันคลื่น จะต้องผ่านการยอมรับชุมชน สำหรับเทคโนโลยี BMON ที่นำมาถ่ายทอดจะเติมเต็มการเก็บข้อมูลสภาพชายหาดของชุมชนให้สมบูรณ์มากขึ้น และจะแนะนำเทคโนโลยีนี้ให้กับเพื่อนบ้านในการจัดการชายหาดหน้าบ้าน ช่วยกันพัฒนาพื้นที่เกาะลันตาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสีเขียวอย่างยั่งยืน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสส. ปลื้ม ครบรอบ 4 ปี ThaiHealth Academy พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรสุขภาวะ 82 หลักสูตร

เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567 ที่โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ หรือ ThaiHealth Academy

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

อธิบดี ทช. เยี่ยมชมโครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตที่จังหวัดชลบุรี

เมื่อเร็วๆ นี้ ดร. ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (อทช.) พร้อมคณะผู้บริหารของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ