ดุสิตโพล ชี้คนไทยมอง 'นักการเมือง' เทียบ 5 ปีก่อนหน้า ยังเหมือนเดิม-แย่ลง

18 ธ.ค. 2565 – สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,157 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 11-14 ธันวาคม 2565 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมองว่านักการเมืองไทย ณ วันนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับ 5 ปีที่ผ่านมาก็ยังเหมือนเดิม ร้อยละ 47.02 และแย่ลง ร้อยละ 44.68 โดยนักการเมืองที่ประชาชนอยากได้ คือ มีความรับผิดชอบ มีผลงาน ทำงานเร็ว แก้ปัญหาเร็ว ร้อยละ 79.22 พฤติกรรมนักการเมืองแบบที่เบื่อหน่ายหรืออยากให้หมดไป คือ การพูดแต่ทำไม่ได้ ไม่รักษาสัญญา พูดให้ร้าย ใส่ร้ายป้ายสี ร้อยละ 87.50

ทั้งนี้คิดว่านักการเมืองทุกคนควรสังกัดพรรคการเมือง ร้อยละ 40.71 และจะสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ก็ได้ ร้อยละ 39.07 ส่วน “พรรคการเมือง” ที่ประชาชนต้องการ คือ เป็นพรรคการเมืองที่โปร่งใส ดำเนินกิจการของพรรคอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ร้อยละ 91.57 ปัญหาเร่งด่วนที่อยากให้นักการเมืองช่วยแก้ไข คือ ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่น ร้อยละ 76.78 รองลงมาคือ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ร้อยละ 68.17 สุดท้ายแนวทางที่คิดว่าจะทำให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยมากกว่าที่ผ่านมา คือ ต้องมีการเลือกตั้งที่โปร่งใส ยุติธรรม มาจากเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง ร้อยละ 76.65

จากผลการสำรวจเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มเจนเนเรชั่น พบว่า กลุ่มคนเจน Z หรือ New Voter ในการเลือกตั้งครั้งหน้ามองว่านักการเมืองที่ต้องการต้องเป็นนักบริหาร มีประสบการณ์ และเบื่อหน่ายนักการเมืองที่ “ดีแต่พูด” ทั้งนี้นักการเมืองจะสังกัดพรรคหรือไม่ก็ได้ ส่วนกลุ่มบูมเมอร์มองว่านักการเมืองต้องเป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต และควรต้องสังกัดพรรคการเมือง ถึงแม้ทั้งสองเจนจะมีมุมมองต่อนักการเมืองที่ต่างกัน แต่ก็ต้องยอมรับว่าต่างก็ต้องการนักเมืองที่มีคุณภาพและเน้นการทำงานเพื่อพัฒนาประเทศเหมือนกัน ไม่ใช่นักการเมืองที่เล่นการเมืองไปวัน ๆ

ดร.พัชราพรรณ นาคพงษ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ผลจากการเสวนากลุ่มเรื่อง “นักการเมืองไทยไปทางไหนดี กับ 91 ปีของประเทศที่เรียกตัวเองว่าประชาธิปไตย” พบว่า การเมืองไทยยังยึดติดอยู่กับผลประโยชน์ที่มีผลต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน นักการเมืองยังมีบทบาทในภาพลักษณ์ที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริบทของสังคม เช่น สังคมเมืองประชาชนคาดหวังการทำหน้าที่ในสภาเพื่อสนองตอบตามนโยบายพรรคที่ได้หาเสียงไว้ ในสังคมที่ห่างจากสังคมเมือง ประชาชนต้องการให้นักการเมืองเข้ามาดูแลทุกข์สุขทุกเรื่อง

สำหรับประเทศไทยอาจกล่าวไม่ได้ว่าเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบนัก และก็ไม่เคยมีประเทศใดกล่าวอ้างเรียกว่าตนเองเป็นประชาธิปไตย เพราะประชาธิปไตยหาใช่เพียงนิยาม แต่ต้องทำให้เป็นจึงจะเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ ประชาธิปไตยของประเทศไทยยังคงให้สิทธิประชาชนได้เลือกตั้ง แต่ประชาชนจะได้ในสิ่งที่ตอบสนองกับความต้องการของตนเองหรือไม่ ก็ไม่เป็นที่แน่ใจได้ และหากประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ใช่ ก็คงไม่ต้องมาสงสัยว่าประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยหรือไม่เป็น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ด็อกเตอร์ป้ายแดง 'ขวัญ อุษามณี' ลุ้นอนาคตลงเล่นการเมือง!

ตำนานแฮชแท็กดัง #ขวัญรักโรงเรียน สานต่อด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดนางเอกหน้าแขก "ขวัญ-อุษามณี ไวทยานนท์" จุดพลุฉลองตำแหน่งด็อกเตอร์จบการศึกษาปริญญาด้านการเมืองเรียบร้อยแล้ว งานนี้ตั้งโต๊ะเคลียร์ผ่านรายการดัง โต๊ะหนูแหม่ม กับพิธีกรตัวแม่ หนูแหม่ม สุริวิภา ถึงเส้นทางอนาคตที่แว่วว่ามีลุ้นลงสนามการเมือง

ดัชนีการเมืองไทย มี.ค. 'พิธา' เรตติ้งนำ 'เศรษฐา' ปชช.เห็นใจปมยุบพรรค

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ดำเนินการสำรวจดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนมีนาคม 2567 โดยสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,254 คน

‘นิพิฏฐ์’ เล่าทานข้าว ‘ชวน’ เปรยสมัยนี้คนกล้าพูด เพื่อความถูกต้องมีไม่กี่คน

นิพิฏฐ์เล่าแวะไปทานข้าวมื้อเที่ยงกับท่านชวน หลีกภัย ที่บ้านของท่าน ที่จ.ตรัง เพื่อรายงานเรื่องบางเรื่องให้ท่านทราบ

แฉ!ใกล้เลือกตั้งท้องถิ่น นักการเมืองฉวยใช้งบภาษี ปชช. แฝงสร้างคะแนนนิยม

นับถอยหลังเลือกตั้งท้องถิ่น นักการเมืองที่ทำการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน เพื่อปกป้องธุรกิจที่มีอยู่

ห่วงรีบร้อน 'MOU 44' เค้นคอนักการเมือง อย่าเห็นแก่ได้ทุรยศแผ่นดิน

นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และอดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อย่าทุรยศแผ่นดิน

'หมอวรงค์' เปิดใจ! ทำไมต้องมี 'พรรคไทยภักดี'

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ทำไมต้องมีพรรคไทยภักดี คำถามที่หลายคนต้องการคำตอบ เพื่อความชัดเจนว่า ทำไมต้องมีพรรคไทยภักดี ตั้งใจอ่านให้จบนะครับ