เสรีภาพการนำเสนอข่าวในวงล้อม ’ดิจิทัล’

สงครามข่าวสารผ่านหน้าจอ  สื่อจะธำรงเสรีภาพ ความจริง และสันติภาพได้อย่างไร? นี่เป็นคำถามที่เราได้ยินมาตลอด ท่ามกลางข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ภายใต้สถานการณ์สงครามข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ความขัดแย้งที่สะสมในสังคมไทย  สื่อมวลชนมีบทบาทความสำคัญอย่างยิ่งในการรับและส่งข่าวสารที่ถูกต้องให้สังคม รวมถึงทำหน้าที่เสนอทางออกให้ก้าวพ้นปัญหาอย่างสันติ

เพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบนิเวศสื่อที่สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีสู่สังคมไทย โคแฟคและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับพหุภาคี จัดเสวนานักคิดดิจิทัล ครั้งที่ 21 ในวาระวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก  ซึ่งตรงกับวันที่ 3 พ.ค. ของทุกปี เปิดพื้นที่ให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ตัวแทนสื่อมวลชนไทย นักวิชาการที่มีประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนและจุดประกายให้สังคมขับเคลื่อนหาทางออก

ดร.จิรพร วิทยศักดิ์พันธุ์

ดร.จิรพร วิทยศักดิ์พันธุ์ กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกในปีนี้ ทางองค์การยูเนสโกกำหนดประเด็นความท้าทายเกี่ยวกับบทบาทของสื่อมวลชนในหัวข้อ Journalism under Digital Siege  หรือ วารสารศาสตร์ที่ตกอยู่ในวงล้อมดิจิทัล ด้วยเหตุผลว่า การเติบโตของสื่อสังคมออนไลน์ และการที่ทุกคนสามารถเป็นผู้ผลิตเนื้อหาในสื่อได้ ทำให้ข้อมูลข่าวสารเต็มไปด้วยข้อมูลทั้งที่เป็นข้อเท็จจริงและข้อมูลบิดเบือน อีกทั้งความท้าทายจากเทคโนโลยีที่สามารถดัดแปลงข้อความ รูปภาพ และคลิปวิดีโอได้อย่างเสมือนจริงมากขึ้น เกิดปฏิบัติการในการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อจูงใจผู้คนในมิติทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะในยุคที่มีความขัดแย้งทั้งในระดับประเทศและระดับโลก รวมถึงความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ ศาสนา และการเมือง ทำให้เกิดสงครามข้อมูลข่าวสารผ่านหน้าจอมือถือ ก่อความสับสน ความเข้าใจผิด ความเกลียดชัง หรือยั่วยุให้เกิดความรุนแรง

 

     “ ท่ามกลางสถานการณ์สงครามข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นนี้ สื่อมวลชนในฐานะที่เป็นองค์กรที่สังคมมีความคาดหวังสูงจำเป็นต้องทบทวนว่า จะธำรงบทบาทของตนอย่างไรในภาวะท้าทายนี้ให้สมกับคำประกาศของคณะกรรมการรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี ค.ศ. 2021 ที่ระบุเหตุผลในการมอบรางวัลให้แก่สื่อมวลชนคือ Maria Ressa และ Dmitry Muratov ว่า “สำหรับความพยายามที่จะปกปักษ์รักษาเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของประชาธิปไตยและสันติภาพที่ยั่งยืน” ถ้าปราศจากเสรีภาพสื่อ ยากที่สื่อจะค้นหาความจริงได้ ขณะเดียวกันการใช้เสรีภาพเสนอข้อมูลเท็จที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดก็ส่งผลร้ายต่อสังคม เป็นคำถามชวนขบคิดว่า สื่อมวลชนจะปฏิบัติหน้าที่อย่างไรในการค้นหาข้อเท็จจริงตามหลักเสรีภาพ และจะกลั่นกรองข้อเท็จจริงอย่างไรให้ผู้รับสารได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยเฉพาะข่าวสารอันละเอียดอ่อนเกี่ยวกับภาวะสงคราม “  ดร.จิรพร กล่าว

รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล

กรรมการกองทุน สสส. กล่าวด้วยว่า ภาคประชาชนไม่ควรปล่อยให้เป็นภาระหน้าที่ของสื่อมวลชนในการแสวงหาความจริงและตรวจสอบข้อมูลแต่ฝ่ายเดียว ต้องช่วยหนุนเสริมและกระตุกเตือนให้สื่อมวลชนทำหน้าที่ให้เต็มกำลังโดยการทบทวนว่าการเป็นพลเมืองยุคดิจิทัลควรต้องมีคุณสมบัติอย่างไรเพื่อให้รู้เท่าทันข้อมูลข่าวสาร มีทักษะตรวจสอบข้อเท็จจริง และสามารถรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิ เสรีภาพ ความจริง และสันติภาพได้อย่างเหมาะสม

ด้าน รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) กล่าวว่า เหตุการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน โดยทั่วไปการนำเสนอข่าวต่างประเทศจะพึ่งพาสำนักข่าวต่างประเทศเพียงไม่กี่สำนัก ซึ่งไม่เพียงพอ คำถาม คือ แล้วจะตรวจสอบกับแหล่งข่าวอื่นๆ ได้อย่างไร สื่อสังคมออนไลน์เป็นอีกแหล่งข่าวสำคัญที่สื่อหลายสำนักใช้กันอยู่ แต่สงครามครั้งนี้มีการทำสงครามบนโลกเสมือน (Virtual Front) กันด้วย คนทำงานสื่อกระแสหลักต้องเข้มงวดกับตนเองมากขึ้น เช่น ในห้องข่าวของไทยพีบีเอสมีกระบวนการทบทวนหลังปฏิบัติงาน (After Action Review-AAR) กันแทบทุกวัน ไม่ได้มีเฉพาะประเด็นสงครามรัสเซีย-ยูเครน แต่ทุกประเด็นที่มีความขัดแย้ง คนทำงานต้องทบทวนตนเองอยู่เสมอ อาทิ ข้อมูลที่ได้มาถูกต้องเพียงใด ได้กลายเป็นผู้เผยแพร่ข้อมูลบิดเบือนบ้างหรือไม่ หากเผยแพร่ไปแล้วจะแก้ไขอย่างไร หรือการตีความสถานการณ์ต่างๆ ใช้มุมมองแบบใด เป็นต้น ต้องให้เวลาทำความเข้าใจประเด็นมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องที่มีความอ่อนไหว

“ ยิ่งเราเข้าใจและรู้เท่าทันที่มาของความขัดแย้งไม่ว่าในระดับชาติหรือระดับโลกได้มากแค่ไหน คนทำงานสื่อจะสามารถรับมือกับความท้าทายและเตรียมตัวป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบรุนแรงที่เราไม่อยากเห็นได้มากขึ้น ” รศ.ดร.วิลาสินี กล่าว   

อเล็กซานเดอร์ ดักลาส

ด้าน  อเล็กซานเดอร์ ดักลาส จาก  Centre for Humanitarian Dialogue (HD)  กล่าวว่า มนุษยชาติเผชิญกับความท้าทายสำคัญเกี่ยวกับระบบนิเวศสื่อ ทุกคนสื่อสารตลอดและระบบมีการพัฒนาตลอดเวลา สื่อที่มีหลากหลายประเภท ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เราได้รับข้อมูลข่าวสารตลอดเวลา การสื่อสารทำให้คนใกล้กันและการส่งผ่านข้อมูลง่ายดาย หากมีข้อมูลผิดพลาดจะกระจายได้อย่างรวดเร็ว ข้อมูลเท็จอาจเตะตาและดึงดูดคน จนเกิดความแบ่งแยก เรียกได้ว่า เป็นขยะของข่าวสาร เสริมความขัดแย้งและความรุนแรงเพิ่มขึ้น สื่อมีบทบาทสำคัญช่วยลดความรุนแรง ไม่บิดเบือนคำพูด หรือแพร่กระจายประทุษวาจา (hate speech) จำเป็นต้องธำรงความจริงและเสรีภาพไว้   การหยุดยั้งข้อมูลเท็จจะลดความขัดแย้ง ไม่รบกวนกระบวนการสันติภาพในโลก

“ ข่าวลวงกลายเป็นอุตสาหกรรมไปแล้ว หากวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทาน การผลิต การแพร่กระจายเนื้อหาผ่านโซเชียลมีเดีย คนบริโภคข้อมูลเกิดการเปลี่ยนความคิดเห็น หากจะแก้ปัญหาขยะข้อมูล องค์กรสื่อควรมีบทบาทและทักษะกลั่นกรองข่าวจริงและข่าวปลอม ค้นหาความจริง รวมถึงแจ้งแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อถอนข่าวลวงออกจากระบบ การธำรงระบบนิเวศสื่อสารเป็นหน้าที่ของทุกคน ช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ข้อเสนอจากเวทีนี้จะเป็นแนวทางที่เกิดประโยชน์ต่อไป” อเล็กซานเดอร์ กล่าว

ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต

การทำข่าวในภาวะสงคราม ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการ  กสทช. กล่าวว่า ข่าวสงครามรัสเซีย-ยูเครนของสื่อไทยเน้นการพัฒนาของเหตุการณ์ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นตามมุมมองของสำนักข่าวต่างประเทศ ที่เป็นแหล่งที่มาของข่าว  การแสวงหาความจริงจากการตรวจสอบไม่ค่อยปรากฎให้เห็นมาก การเล่าเรื่องเน้นความรุนแรงเหตุการณ์ เทคโนโลยีสู้รบ ความสูญเสียมากกว่าวิเคราะห์สาเหตุและที่มาของปัญหาความขัดแย้ง  รวมถึงแนวทางแก้ปัญหาแบบไม่ตอบสนองต่อความรุนแรง ที่เห็นชัดเจนการทำสงครามให้เป็นดราม่า และคนดูให้เป็นผู้ชมเหมือนดูแข่งกีฬามีแพ้ชนะ หรือพระเอก ผู้ร้าย  ส่วนข่าวออนไลน์ที่ปรากฏบน Facebook แพลตฟอร์มยอดนิยมของไทย มี 4,500 กว่าโพสต์ ประเด็น 4 อันดับแรก  ได้แก่ ผลกระทบ รองลงมาการรายงานสถานการณ์ การวิเคราะห์มิติต่างๆ เกี่ยวกับสงคราม และการอัพเดทสถานการณ์จากหน่วยงานรัสเซีย

“ สื่อมีเสรีภาพในการนำเสนอตามจุดยืนของสำนักข่าวนั้น แต่ควรมีท่าทีและอยู่ในกรอบจริยธรรมสื่อมวลชน อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ที่ข้อมูลข่าวสารท่วมท้น สื่อมวลชนทำงานยากขึ้น มีทางแก้ ทั้งการตรวจสอบข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การใช้เทคโนโลยีเอไอตรวจจับข้อมูล  แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือ การเสริมแรงให้กับสื่อมวลชนที่มีคุณภาพ มีจรรยาบรรณ มีมาตรฐานในการทำงานสามารถอยู่รอดได้ พ.ร.บ.กสทช. วางกรอบทำงานเพื่อประโยชน์สาธารณะ หมายถึง รักษาสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการแสดงออก  ส่วนปฏิบัติการข่าวสาร หรือ ไอโอ มีหน่วยงานรัฐหรือกฎหมายกำกับดูแลอยู่แล้ว  แต่อนาคตจะต้องมีความร่วมมือมากขึ้นเพื่อให้สื่อปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้อง  “ ศ.ดร.พิรงรอง  กล่าว

กวี จงกิจถาวร

ในส่วนของ กวี จงกิจถาวร กรรมการสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ กล่าวว่า สังคมไทยเผชิญสถานการณ์ข้อมูลที่เยอะ แต่ข้อเท็จจริงน้อย  และขาดการคัดกรองข้อเท็จจริง ยิ่งโซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทในสงครามข่าวสารปัจจุบันมากเท่าไหร่ คนทำข่าวแบบดั้งเดิมต้องรักษาไว้ เพราะเน้นความถูกต้องมากกว่าแข่งความเร็ว

“ สงครามรัสเซีย-ยูเครนมีลักษณะพิเศษ มีการต่อสู้ทุกรูปแบบและทุกวินาที เพราะสองฝ่ายมีขีดความสามารถ เป็นสิ่งท้าทายการทำงานของสื่อ   หน้าที่สำคัญของสื่อ คือ อย่าด่วนตัดสินใจข้อมูลที่ได้มาทันที โดยเฉพาะข้อมูลบนออนไลน์  ต้องเปิดรับข้อมูลจากสำนักข่าวที่หลากหลายเพื่อให้ได้ความจริงมากที่สุด เช่นเดียวกับข่าวสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ของไทย สื่อมวลชนต้องทำงานด้วยความรับผิดชอบ นอกจากนี้ ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาชีพสื่อมวลชนในมหาวิทยาลัยด้วย และเปิดโอกาสให้สื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจเฉพาะด้าน รวมถึงบรรณาธิการข่าวควรวางแนวทางนำเสนอข่าวสร้างสันติภาพ ไม่ใช่เน้นข่าว ดราม่า” กวี เน้นย้ำบทบาทสื่อ ในวาระวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสส. ปลื้ม ครบรอบ 4 ปี ThaiHealth Academy พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรสุขภาวะ 82 หลักสูตร

เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567 ที่โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ หรือ ThaiHealth Academy

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

ปชป. ขย่ม 'เศรษฐา' มีแค่อำนาจทิพย์ ทำไทยไม่ติดอันดับประเทศน่าลงทุน

ปชป. จี้รัฐบาลเร่งแก้ไข หลังผลจัดอันดับ EIU ไทยไม่ติดประเทศน่าลงทุน เหตุไร้เสถียรภาพการเมือง 'เศรษฐา' มีแค่อำนาจทิพย์ โดน 'อดีต-อนาคต' นายกฯ ประกบตลอด

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ