ศูนย์พึ่งได้OSCCต่อยอดพันธกิจ พัฒนาคนเสริมศักยภาพ"คุ้มครองเด็ก"

โลกเปลี่ยน คนจำเป็นต้องปรับ ..น่าจะใช้อธิบายวิถีชีวิตในยุคดิจิทัล และสถานการณ์ที่เราต้องเผชิญกับวิกฤตแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้อย่างดี

การปรับตัวตามโลกที่เปลี่ยน มิได้หมายถึงการเปลี่ยนแนวคิด หรืออุดมการณ์ ทัศนคติ ความเชื่อดั้งเดิมโดยปราศจากเหตุผล แต่คือการก้าวตามให้ทันกับกระแสของการพัฒนา ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง อีกทั้งนวัตกรรมต่างๆ ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง เฉกเช่นเดียวกับการสื่อสารในโลกโซเชียล ที่เราจำเป็นต้องรู้เท่าทันนั่นเอง

ล่าสุด!! การเปิดตัวโครงการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาและกลไกพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านคุ้มครองเด็ก ของกระทรวงสาธารณสุขและเครือข่าย ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิพัฒนาการคุ้มครองเด็ก ถือเป็นตัวอย่างที่จับต้องได้ว่า ไม่เคยหยุดนิ่ง แต่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีทำ เมื่อโลกเปลี่ยน ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือเด็กที่ถูกทำร้ายและถูกละเลยทอดทิ้งนั้นมีศักยภาพและสอดคล้องกับเป้าประสงค์

"สถานการณ์การทำงานด้านการคุ้มครองเด็ก มีความซับซ้อนและส่งผลกระทบทั้งทางกายและจิตต่อผู้ปฏิบัติงาน เราเห็นภาพข่าวความรุนแรงที่เกิดขึ้น เด็กถูกล่วงละเมิดเกิดความรุนแรง เสมือนหนึ่งเป็นปัญหาอยู่บนยอดภูเขาน้ำแข็ง มีเจ้าหน้าที่จาก อสม. (อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) รับทราบปัญหาที่เกิดขึ้น ช่วยกันคัดกรองเยาวชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงส่งต่อมายังศูนย์พึ่งได้ เพื่อให้คำปรึกษา และเพื่อเด็กที่มีปัญหาจะได้รับการดูแลเยียวยา มีการประสานงานกับกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เพื่อช่วยเหลือเด็กจำนวน 58% ที่ถูกล่วงละเมิดทั้งทางกายและจิตใจ ซึ่งส่วนใหญ่ก็มาจากคนใกล้ชิด” คำบอกเล่าจาก นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ (สำนัก 7) สสส.

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์

เล็งเห็นความสำคัญของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเด็กและเยาวชนว่าควรได้รับการดูแลสนับสนุนทางด้านอารมณ์ จิตใจ รวมถึงการจัดการความเครียด ความกังวล และปัญหาสุขภาพจิต  ทั้งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว สสส.จึงร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้ "ศูนย์พึ่งได้" (One Stop Crisis Center : OSCC) จัดโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ทั้งความรู้ ทักษะ และรูปแบบการทำงานกับเครือข่าย เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนา เสริมสร้างความเข้าใจ เริ่มตั้งแต่ทัศนคติ ความรู้ รวมถึงทักษะในการทำงานเชิงลึกกับเด็กและเยาวชนร่วมด้วย

ทั้งนี้ สสส.เห็นว่าการปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองเด็กควรเน้น 1.การเฝ้าระวัง 2.ป้องกัน 3.การช่วยเหลือ 4.การฟื้นฟูเยียวยาเด็ก แต่สิ่งเหล่านี้จะประสบความสำเร็จได้ ทรัพยากรบุคคลคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุข คือกำลังใจสำคัญในการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงต่อการถูกกระทำรุนแรง สสส.จึงสนับสนุน 1.การพัฒนาศักยภาพ 2.องค์ความรู้ 3.ตลอดจนสร้างกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติงาน โดย สสส.ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และมูลนิธิพัฒนาการคุ้มครองเด็ก พร้อมสนับสนุนการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษา และพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองเด็กของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และเครือข่าย รวมถึงการทำงานเชื่อมโยงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถคัดกรอง ส่งต่อ และร่วมมือในการดูแลเยียวยาปัญหาทางกายและทางจิตใจผู้ที่ถูกกระทำรุนแรงในเบื้องต้นได้ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

คุณหมอพงศ์เทพให้ข้อมูลว่า คนทำงานโรงพยาบาลชุมชนจะมีความชำนาญในบทบาทภารกิจ เมื่อได้รับมอบงานจากจังหวัด มีนักสังคมสงเคราะห์ให้ความช่วยเหลือด้วยระบบบริการดูแลเด็ก มีโรงเรียนอยู่ใกล้บ้าน เมื่อเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศกลายเป็นแม่วัยใส เมื่อเจาะลึกพบว่า 80% เกิดจากพ่อแม่แยกทางกัน ไม่ได้ดูแลลูกอย่างใกล้ชิด เด็กหญิงเจอผู้ชายถูกล่วงละเมิดทางเพศได้ง่าย อีกทั้งอยู่กับพ่อเลี้ยงก็มีโอกาสถูกล่วงละเมิด อสม.ทำหน้าที่สอดส่องปัญหาด้วยการนำเด็กมาอยู่ในระบบที่มีหน่วยงานทำงานเป็นเครือข่ายช่วยกันดูแลเด็กให้ปลอดภัย กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กระทรวงสาธารณสุข

“เด็กที่มีบาดแผลได้รับการเยียวยาเพื่อไม่ให้เด็กไปละเมิดสิทธิคนอื่น เด็กที่ยังไม่มีบาดแผลก็ต้องได้รับการเยียวยาไม่ให้มีบาดแผล ถ้าเราอยากเป็นสังคมสุขภาวะที่ดี ก็ต้องร่วมมือกัน ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง มิฉะนั้นเขาจะแก้แค้นสังคม” ผู้อำนวยการ สสส. (สำนัก 7) ตอกย้ำ

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต

ในการเปิดตัวโครงการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาและกลไกพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองเด็กและให้กับบุคลากรศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข ครั้งนี้ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยด้วยว่า เรื่องเด็กเป็นงานสำคัญของกระทรวงสาธารณสุข ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เด็กเกิดน้อยด้อยคุณภาพ โดยเฉพาะปีที่ผ่านมามีเด็กเกิดใหม่เพียง 5 แสนคน เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไปมีจำนวนถึง 20% ของจำนวนคนไทยทั้งหมด ทำให้การพัฒนาประเทศมีข้อจำกัด เด็กกลายเป็นเหยื่อถูกกระทำให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวด้วยหลายสาเหตุ ดังที่เราได้ยินได้ฟังเป็นระยะๆ  เด็กไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองไทยไม่ต่างไปจากในต่างประเทศ  ปัญหาความรุนแรงในสังคมไทยเป็นปัญหาที่มีมานานแล้ว มีความพยายามในการแก้ไขปัญหานี้ กระทรวงสาธารณสุขจัดตั้งศูนย์พึ่งได้ตั้งแต่ปี 2547 เพื่อให้บริการช่วยเหลือเด็กและสตรีในภาวะวิกฤตจากความรุนแรงในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ

การให้บริการของศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข ยังมีข้อจำกัดโดยเฉพาะระบบการให้คำปรึกษาแก่บุคลากรที่กำลังให้บริการหน้างาน เด็กและสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรงขาดโอกาสได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ และบุคลากรเกิดความเครียดในการดูแล ผู้ปฏิบัติงานควรได้รับการพัฒนาศักยภาพในด้านองค์ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และอารมณ์ จิตใจในการปฏิบัติงาน ระบบการให้คำปรึกษาจะช่วยให้กลุ่มเด็กและสตรีได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ และบุคลากรหน้างานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 "ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของศูนย์พึ่งได้ เป็นหน่วยงานที่มีโอกาสพบเจอกลุ่มเด็กที่เข้ารับความช่วยเหลือจากการถูกทำร้ายและละเลยทอดทิ้ง ดังนั้นผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะเกี่ยวกับกระบวนการปฏิบัติงานคุ้มครองเด็ก ดังนั้นโครงการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาและกลไกพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองเด็กของกระทรวงสาธารณสุขและเครือข่าย จึงเป็นช่องทางเพื่อให้บุคลากรผู้รับผิดชอบงานศูนย์พึ่งได้ ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ และเครือข่ายทางสังคม ได้มีองค์ความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิในการให้ข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งมีความเข้าใจ ในการดำเนินงานด้านการคุ้มครองเด็ก และสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานทางด้านอารมณ์ จิตใจ ในการปฏิบัติงาน ปัญหาความเครียด ความกังวล และปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ" ปลัดกระทรวงสาธารณสุขยืนยันเช่นเดียวกัน

ดังนั้น โครงการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาและกลไกพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านคุ้มครองเด็ก จึงนับเป็นการ "ต่อยอด" พันธกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเด็กให้มีศักยภาพ และมีดุลยภาพที่สอดคล้องกับโลกที่หมุนไม่หยุด อันถือเป็นหัวใจสำคัญในการก้าวให้ทันกับปัญหาสังคมทุกยุคทุกสมัยนั่นเอง.

 

รู้จัก OSCC

รศ.พญ.วนิดา เปาอินทร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ชี้แจงว่า งานศูนย์ OSCC เป็นงานที่ให้คำปรึกษาปัญหาความรุนแรงในครอบครัว การล่วงละเมิดทางกายและใจ การดูแลสุขภาพจิตเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ด้วยการงบประมาณจาก สสส. นำศูนย์ OSCC ไปสานพลังกับกระทรวงสาธารณสุข ใช้จุดแข็งแต่ละหน่วยงาน มหาวิทยาลัยหนุนเสริมทำมาแล้ว 2 ปี พัฒนาโครงการแพลตฟอร์มที่ผู้สนใจเปิดเว็บไซต์เข้าไปกรอกข้อมูลสมัครเป็นสมาชิก

เมื่อเด็กตกอยู่ในสภาพอึดอัด มีบาดแผล ต้องได้รับการเยียวยาอย่างทันท่วงทีจากผู้เชี่ยวชาญ ในขณะนี้มีทั้งหมด 7 คน และยังมีอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้อยู่เป็นประจำ ผู้เชี่ยวชาญส่วนหนึ่งเป็นข้าราชการที่เกษียณอายุแล้ว ใช้องค์ความรู้และทักษะเฉพาะตัว ต้องสร้างความรู้สึกที่ดีให้มั่นใจว่าเขาปลอดภัย ในบางครั้งมีความจำเป็นต้องแยกเด็กออกจากครอบครัว การช่วยเหลือเด็กต้องทำได้จริง ด้วยการใช้สื่อความรู้ผ่านทางบทความ วิดีโอ

ขณะนี้ศูนย์ OSCC จัดทำหลักสูตรอบรมทางออนไลน์ 30 หลักสูตร ตลอดทั้งปี มีทั้งหลักสูตรวันเดียว หลักสูตรอบรมหลายวัน (5 วัน, 10 วัน, 1  เดือน) ที่ต้องมีการทำ workshop ใครสมัครก่อนย่อมมีสิทธิก่อน เพื่อให้เกิดความรู้และมีทักษะ เพื่อให้เกิดความมั่นคงในการดูแลครอบครัว เราต้องเฝ้าระวังเด็กบางคนที่ฆ่าพ่อแม่ได้อย่างที่เราเห็นเป็นข่าวทางทีวีมาแล้ว คนแก้ไขปัญหาเหล่านี้ต้องคอยเฝ้าระวัง ให้คำปรึกษาตลอด 48 ชั่วโมง ถ้ายังไม่กระจ่างชัด ก็สามารถซูมถามปัญหากับผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะได้อีก  เมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้วสามารถเลือก Counselor ได้ฟรี ติดต่อกันผ่าน inbox เราพร้อมเป็นเพื่อนร่วมทางเพื่อให้ครอบครัวเข้มแข็ง  แก้ไขปัญหาไปด้วยกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ขณะเดียวกันเราสร้างผู้เชี่ยวชาญรุ่นใหม่เข้ามาทำงานในชุมชน เป็นการขยายเครือข่ายสร้างระบบพัฒนาต่อไป เราเริ่มสร้างผู้เชี่ยวชาญที่เป็นพี่เลี้ยงทำงานหน้างาน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสส.สานพลัง สธ เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย สร้างพื่นที่ปลอดภัยปัญหายาเสพติด

เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2567 ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ติดตามการดำเนินงานและให้กำลังใจผู้ป่วยยาเสพติด ที่รับการบำบัดที่มินิธัญญารักษ์ รพ.อุทัย และชุมชนล้อมรักษ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลลุมพลี อำเภอ

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ไขคำตอบ..ออกกำลังกายเป็นนิจ ตัวช่วยอายุยืนยาวห่างไกล NCDs

อุบัติการณ์โรคในยุคนี้ปรากฏว่า "โรคไม่ติดต่อ (NCDs)" กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็น 75% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด หรือเกือบ 4 แสนคนต่อปี

เปิดผลสำรวจวัยโจ๋ ขีดเส้นสนามกีฬาฟุตซอล ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน

เครือข่ายงดเหล้า และสสส. ส่งเสริมกีฬาเยาวชนจัดฟุตซอล No-L ชิงถ้วยพระราชทานฯ รร. ราชวินิต มัธยม คว้าแชมป์ไปครองสมัยที่ 2 ด้วยสกอร์ 6:0 ในขณะที่ผลสำรวจร้อยละ 90 ต้องการให้สนามแข่งไม่ดื่ม ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน และร้อยละ 84.8 คิดว่ากีฬาฟุตซอลทำให้เยาวชนเห็นคุณค่าของตัวเอง