ผลติดตาม 6 โครงการ รอบ 6 เดือน แผนแม่บทย่อยเกษตรชีวภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินการขับเคลื่อนแผนแม่บทย่อยเกษตรชีวภาพ ภายใต้แผนแม่บทประเด็นการเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2565 ซึ่งแผนแม่บทย่อยเกษตรชีวภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มจากเกษตรชีวภาพไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง รวมถึงการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพในการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตร ประกอบด้วย  6 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสมุนไพร 2) โครงการสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรชีวภาพสู่เชิงพาณิชย์  3) โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรเศรษฐกิจชีวภาพตามความต้องการของตลาด 4) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแมลงเศรษฐกิจ 5) โครงการผลิตและขยายสัตว์น้ำพันธุ์ดี  กระจายพ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำพันธุ์ดีสู่ภาคการผลิต และ 6) โครงการศึกษาวิเคราะห์เชิงเศรษฐกิจของการนำผลพลอยได้และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องและพลังงานทางเลือก โดยทั้ง 6 โครงการ เป็นการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมประมง และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งจากการติดตามผลการดำเนินงานของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในรอบ 6 เดือน (ตุลาคม 2564 – มีนาคม 2565)  ภาพรวมทั้ง 6 โครงการ ดำเนินการแล้ว ร้อยละ 42  ของเป้าหมาย โดยมีการปรับแผนการดำเนินงาน เช่น ใช้วิธีการจัดอบรมด้วยสื่อออนไลน์ให้แก่เกษตรกรมากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด - 19

ด้าน ดร.ทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการ สศก. กล่าวในรายละเอียดของผลการดำเนินโครงการ ว่า สำหรับโครงการที่สามารถดำเนินการไปได้อย่างรวดเร็ว ได้แก่ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแมลงเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้และศึกษาดูงานให้เกษตรกรในการผลิตแมลงเศรษฐกิจได้ 560 ราย คิดเป็นร้อยละ 93 ของเป้าหมาย 600 ราย มีการจัดทำจุดเรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าการผลิตแมลงเศรษฐกิจ 4 ศูนย์ คิดเป็นร้อยละ 80 ของเป้าหมาย 5 ศูนย์  โครงการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสมุนไพร ซึ่งดำเนินการพัฒนาความรู้และศักยภาพเกษตรกรบริหารจัดการการผลิตพืชสมุนไพร รวม 960 ราย คิดเป็นร้อยละ 86 ของเป้าหมาย 1,110 ราย  และ โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรเศรษฐกิจชีวภาพตามความต้องการของตลาด ดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลสมุนไพรและแผนการผลิตตามความต้องการตลาด 28 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 88 ของเป้าหมาย 32 จังหวัด ก่อสร้างโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ต้นทุนต่ำในเขตปฏิรูปที่ดิน 34 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 85 ของเป้าหมาย 40 แห่ง และการฝึกอบรมหลักสูตรการใช้ประโยชน์และการดูแลรักษาโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ต้นทุนต่ำ 151 ราย คิดเป็นร้อยละ 101  ของเป้าหมาย 150 ราย  

ขณะที่ อีก 3 โครงการจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องในไตรมาส 3 และ ไตรมาส 4 เนื่องจากบางกิจกรรมต้องใช้ระยะเวลาในการเพาะขยายพันธุ์ กระจายพันธุ์ให้อยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ประกอบด้วย โครงการผลิตและขยายสัตว์น้ำพันธุ์ดี  ขณะนี้ ได้ผลิตพันธุ์สัตว์น้ำพันธุ์หลัก และพ่อแม่พันธุ์ขยายแล้วจำนวน 487,600 ตัว คิดเป็นร้อยละ 36 ของเป้าหมาย 1,339,000 ตัว และผลิตและสนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำพันธุ์ดี ให้แก่เกษตรกร 401,400 ตัว คิดเป็นร้อยละ 33 ของเป้าหมาย 1,207,200 ตัว  โครงการสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรชีวภาพสู่เชิงพาณิชย์ ดำเนินการกระจายพันธุ์พืชสมุนไพร 12,303 ต้น/กิโลกรัม/หัว คิดเป็นร้อยละ 40 ของเป้าหมาย 30,526 ต้น/กิโลกรัม/หัว และโครงการศึกษาวิเคราะห์เชิงเศรษฐกิจของการนำผลพลอยได้และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องและพลังงานทางเลือก ซึ่งดำเนินการโดยสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตรของ สศก. มีดำเนินการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลงานวิจัยในพื้นที่แล้วร้อยละ 57 ทั้งนี้ สศก. มีแผนจะลงพื้นที่ในเดือน กรกฎาคม – สิงหาคม 2565 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พิ้นที่จังหวัด  ศรีสะเกษ และภาคกลาง พื้นที่จังหวัดนครนายก สระบุรี ปทุมธานี เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลชวนเกษตรกร โหลดแอปฯ 'บอกต่อ' จบทุกเรื่อง

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาล โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)

สศก.ดัชนีความผาสุกเกษตรกร ปี 65 ยืนระดับ 80.46 ทุกภาคมีความสุขดี 

สศก. เผย ดัชนีความผาสุกของเกษตรกร ปี 65 อยู่ที่ระดับ 80.46 พัฒนาในระดับดี ด้านสุขอนามัย-สังคม พัฒนาในระดับดีมาก ขณะที่สิ่งแวดล้อม-การศึกษา ต้องปรับปรุง เร่งแก้ไข

สศก. คาดผลผลิตสินค้าเกษตรหลายชนิดปีนี้ ยังคงเพิ่มขึ้น พร้อมติดตามสถานการณ์ต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงค่าพยากรณ์ให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

นายวินิต อธิสุข รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญในปี 2566

รุกแนวทางพัฒนาระบบประกันภัยเกษตร สศก. ลงพื้นที่สำรวจความต้องการระบบประกันภัย ของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ประมง และทุเรียน

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ

สศก. ร่วมเวที คณะมนตรีขององค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียน+3 ครั้งที่ 11 ร่วมยกระดับการดำเนินงาน APTERR เสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาคอาเซียน +3

นายวินิต อธิสุข รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะมนตรีขององค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม

สศก. ลงพื้นที่กำแพงเพชร ดูงาน อายิโนะโมะโต๊ะ ศึกษาแนวทางใช้นวัตกรรม จัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้ประโยชน์สูงสุดตาม BCG Model

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สศก. โดยสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ด้านเทคนิคและนวัตกรรม