เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2565 ที่หัวหินสเก็ตพาร์ค (โรงเรียนภัทราวดี หัวหิน) จ.ประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มูลนิธิละครธรรมะในพระสังฆราชูปถัมภ์ เปิดตัวละครออนไลน์ “เสน่ห์รอยรั่ว” Nothing is Impossible กับการใช้ศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาสุขภาวะด้านจิตใจให้ประชาชนทุกวัยในสังคม
นางภัทราวดี มีชูธน ผู้ก่อตั้งมูลนิธิละครธรรมะในพระสังฆราชูปถัมภ์ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ละครเวทีและภาพยนตร์) ประจำปี 2557 และผู้กำกับละครออนไลน์ “เสน่ห์รอยรั่ว” สสส. กล่าวว่า มูลนิธิฯ ร่วมกับ สสส. ริเริ่มโครงการเสน่ห์รอยรั่ว ตั้งแต่ปี 2563 เพื่อเพิ่มพื้นที่สื่อสร้างสรรค์ มุ่งขับเคลื่อนสังคมผ่านกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์กับเยาวชน สำหรับละครออนไลน์ “เสน่ห์รอยรั่ว” ครั้งนี้ เหมาะสำหรับคนทุกเพศ ทุกวัย สะท้อนความคิดต่าง วิธีการแก้ปัญหา และการค้นพบตัวเองและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขของคนในค่ายศิลปะการแสดง N.im.P (Nothing is Impossible) นำแสดงโดย ตั๊ก-นภัสรัญชน์ มิตรธีรโรจน์ ป๊อก-ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ อ้น-สราวุธ มาตรทอง เล้ง-ราชนิกร แก้วดี อุ๋ย-นที เอกวิจิตร (Buddha Bless) และนักแสดงมากความสามารถอีกมากมาย
“ละครเสน่ห์รอยรั่ว ใช้ศิลปศาสตร์เป็น Soft Power ไปอุดรอยรั่วให้กับทุกวัย ทุกความคิดที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน สามารถปรับตัวพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ มีความยาว 15 นาที 16 ตอน รับชมพร้อมแลกเปลี่ยนความเห็นในการเสวนาหลังจบละคร ทุกวันอังคารและพฤหัสบดี เวลา 19.30-20.30 น. ผ่านทางเฟซบุ๊กแฟนเพจและยูทูบช่อง Patravadi Channel ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป” นางภัทราวดี กล่าว
นางญาณี รัชต์บริรักษ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. กล่าวว่า ข้อมูลสถิติความรุนแรงในครอบครัว โดยศูนย์ปฏิบัติการกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เมื่อเดือนตุลาคม 2563 – พฤษภาคม 2564 พบว่า ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 มีผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว 1,492 ราย หรือเพิ่มสูงขึ้นถึง 66% สาเหตุส่วนใหญ่มาจากความเครียดทางเศรษฐกิจ การใช้สารเสพติด และปัญหาเรื่องความไม่เข้าใจกันของสมาชิกในครอบครัว ส่งผลให้เกิดการทะเลาะ ถึงขั้นการใช้ความรุนแรง สสส. เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ โดยละคร “เสน่ห์รอยรั่ว” มุ่งสื่อสารเกี่ยวกับทักษะชีวิต ปรัชญาการมองโลกและชีวิต และสะท้อนปัญหาครอบครัวอันมีผลกระทบต่อสังคม ด้วยงานศิลปศาสตร์ เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ขณะเดียวกันก็มุ่งพัฒนานักสื่อสารสุขภาวะ ทั้งระดับผู้นำ ทางความคิด และระดับบุคคลทั่วไป ที่มาจากตัวแทนจากหลากหลายวัย การสื่อสารผ่านศิลปะการละครจึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยสะท้อนปัญหาครอบครัวและสังคม และมุมมองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาครอบครัวและปัญหาของคนแต่ละช่วงวัย รวมทั้งสอดแทรกองค์ความรู้ด้านศิลปศาสตร์หลากหลายแขนง เพื่อให้เป็นหนึ่งในสื่อสร้างสรรค์ในระบบนิเวศสื่อสุขภาวะ
นายนภัสรัญชน์ มิตรธีรโรจน์ ศิลปินผู้รับบท “ครูซอ” หนึ่งในตัวละครสำคัญของเสน่ห์รอยรั่ว กล่าวว่า ละครจากครูเล็กในวัย 74 ปี ผู้ชมจะได้เห็นผลงานระดับชั้นครูที่ถ่ายทอดอย่างร่วมสมัย สนุกสนาน มีสาระ ทำให้ผู้ชมได้ย้อนกลับมาเห็น “รอยรั่ว” ของชีวิต ที่ไม่มีอะไรที่ซ่อมไม่ได้ ละครเสน่ห์รอยรั่ว สสส. ยังทำให้ศิลปินมืออาชีพหลายคน ได้มีโอกาสถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านการทำงานร่วมกับนักแสดงรุ่นใหม่ ถือเป็นการเพาะบ่มเมล็ดพันธุ์ของศิลปินที่มีคุณภาพ มีสุขภาวะที่สมดุลทั้งกาย ใจ และจิตวิญญาณในการสร้างสังคมแห่งผู้ให้ ส่งต่อทักษะนักสื่อสารสุขภาวะ ส่งสารที่ดีสร้างการเปลี่ยนแปลงให้สังคม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เชียงใหม่คึกคัก! 'ปชน.' เปิดตัวผู้สมัครชิง 'นายกเล็ก'
บรรยากาศการเมืองท้องถิ่นเริ่มคึกคัก โดยเฉพาะที่เทศบาลนครเชียงใหม่ อีกพื้นที่หนึ่งที่ถูกจับตามองทั้งประเทศ ซึ่งนายกเทศมนตรีและสมาชิกเทศบาล (ส.ท.) นครเชียงใหม่
สสส. ร่วมกับ จุฬาฯ ร่วมรณรงค์ World Kidney Day สร้างการรับรู้ควบคู่การดูแล เร่งสื่อสารการใช้ยาเพื่อลดความเสี่ยงโรคไต
“วันไตโลก ปี 68” คนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นจาก 9.8 แสนคน เป็น 1.13 ล้านคน สูญเสียปีสุขภาวะเร็วขึ้น 3.14 เท่า! เหตุบริโภคเค็ม-ใช้ยาไม่ถูกต้อง-เกินความจำเป็น เผยประชาชนเข้าใจเรื่องการใช้ยาที่ถูกต้องแค่ 64.9% สสส. สานพลัง จุฬาฯ สร้างการรับรู้ควบคู่การดูแล เร่งสื่อสารการใช้ยาเพื่อลดความเสี่ยงโรคไต
รวมพลังชุมชน ขับเคลื่อนการจัดการป่า ลดฝุ่นควัน สร้างสุขภาวะที่ดี
กรุงเทพฯ/12 มีนาคม 68 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)หรือ พอช. จับมือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ การขับเคลื่อนการจัดการป่าชุมชนเพื่อลดฝุ่นตวันและสร้างสุข
สสส.-พอช. ผนึกกำลัง 16 จังหวัด เดินหน้าป่าชุมชน ลดเผา-แก้ PM2.5 อย่างยั่งยืน
สสส. จับมือ พอช. และภาคีเครือข่าย เดินหน้าบริหารจัดการป่าชุมชน 60 แห่งใน 16 จังหวัดทั่วประเทศ เร่งแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 เสริมศักยภาพชุมชนลดการเผา พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการจัดการป่าอย่างยั่งยืน มุ่งสู่สังคมอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพประชาชน
เปิด 'ยะลาโมเดล' ชวนฟังเคล็ดลับสร้างเมืองสุขภาพดี จากนายกฯ พงษ์ศักดิ์ ที่งาน Active City Forum
“ยะลา” เป็นพื้นที่พหุสังคม ที่มีความหลากหลายของเชื้อชาติและศาสนา ทั้งยังเป็นพื้นที่ซึ่งเคยเผชิญกับเหตุการณ์ความไม่สงบ ทว่าเมืองยะลาก็สามารถพัฒนาสู่เมืองสุขภาวะ
ไรเดอร์: ฟันเฟืองของสังคมเมือง ต้องการสิทธิและความปลอดภัย
ทุกวันนี้ "ไรเดอร์" หรือแรงงานสองล้อมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตคนเมือง โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ที่มีจังหวะชีวิตเร่งรีบและการแข่งขันสูง อาชีพนี้กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว