เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2565 ที่สวนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า เทศกาล “บางกอกกำลังดี...ที่ฝั่งธน” ภายใต้แนวคิด “พื้นที่สร้างสรรค์มีชีวิต” ถือเป็น 1 ใน 66 พื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายบางกอกกำลังดี ได้ริเริ่มขึ้น สอดคล้องกับการทำงานของ กทม. ที่มุ่งทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่น่าอยู่ มีดนตรีฟังทั่วเมือง โดยเฉพาะการเพิ่มพื้นที่การเรียนรู้ พื้นที่สร้างสรรค์ให้เด็กเยาวชน ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า กทม. พร้อมผลักดันนโยบายที่ส่งเสริมให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ พัฒนาพื้นที่สาธารณะให้เป็นพื้นที่เรียนรู้อีก 50 แห่งในกรุงเทพฯ ที่ใกล้ชุมชน สะดวก และปลอดภัย โดยบูรณาการการทำงานทุกภาคส่วน จัดตั้งคณะทำงานร่วม (รัฐ เอกชน วิชาการ ชุมชน) ขับเคลื่อนพื้นที่เรียนรู้ได้จริงและยั่งยืน มุ่งสร้างเด็กให้มีคุณภาพ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความก้าวหน้าในชีวิตและสังคมไทย
นางสาวณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. กล่าวว่า การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในสังคมทุกมิติ โดยเฉพาะการเรียนรู้ของเด็ก เนื่องจากการเรียนรู้แบบออนไลน์เข้ามามีความสำคัญ ทำให้การใช้ชีวิตอยู่หน้าจอมากขึ้น การลงมือปฏิบัติ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันน้อยลง สิ่งสำคัญคือ ภาวะการเรียนรู้ถดถอย (Learning Loss) ถือเป็นยุค VUCA World ที่มีความผันผวนอย่างรวดเร็ว ไม่แน่นอน ซับซ้อน และส่งผลกระทบรุนแรง ที่สำคัญคือ ขาดสถานที่เอื้อต่อการส่งเสริมพัฒนาการด้วยกิจกรรมกลางแจ้ง ทั้งพื้นที่เล่นพื้นที่เรียนรู้ที่ปลอดภัยในชุมชนและกิจกรรมสร้างสรรค์ที่จะทำให้เด็กพัฒนาทั้งร่างกาย สติปัญญา และทักษะทางสังคม สสส. มุ่งให้ความสำคัญต่อการสร้างประสบการณ์จริงในการเรียนรู้ ด้วยการลงมือปฏิบัติ มีประสบการณ์จริงนอกห้องเรียน เพื่อสร้างทักษะที่พร้อมจะรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ และสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนให้มีภูมิคุ้มกันในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
“สสส. สนับสนุนให้เกิดพื้นที่ต้นแบบและรูปแบบความร่วมมือของทุกภาคส่วน เทศกาล “บางกอกกำลังดี...ที่ฝั่งธน” มีการจัดการให้เกิดพื้นที่การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) เรียนรู้ผ่านฐานชุมชน การเรียนรู้ภาคปฏิบัติเรื่องศิลปวัฒนธรรมในชุมชนที่น่าสนใจและสร้างชีวิตชีวาสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัวในชุมชน ถือเป็นต้นแบบการทำงานที่สามารถนำไปขยายผลให้เด็กๆ ได้รับประโยชน์อย่างถ้วนหน้า สอดรับกับทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ที่ให้ความสำคัญของการพัฒนาทักษะชีวิต” นางสาวณัฐยา กล่าว
นายเชษฐา มั่นคง ผู้แทนภาคีเครือข่ายบางกอกกำลังดี...ที่ฝั่งธน กล่าวว่า กิจกรรม “บางกอกกำลังดี...ที่ฝั่งธน” มุ่งพัฒนาและสร้างทักษะของเด็กและเยาวชน ผ่านการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในชุมชน มีลานดนตรี เวทีวัฒนธรรม รำโทน เชิดสิงโต กลองยาว นิทานใบไม้ รวมถึงเวิร์กช็อปศิลปะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ เน้นฟื้นฟูภาวะความรู้และพัฒนาการที่ถดถอยในเด็ก สอดรับกับทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ที่ให้ความสำคัญของการพัฒนาทักษะชีวิต โดยกิจกรรมเกิดขึ้นจากความร่วมมือของเครือข่ายฝั่งธน ทั้งบางกอกนี้ดีจัง คลองเตยดีจัง เครือข่ายคนไร้บ้าน มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก สำนักงานเขตบางกอกน้อย มุ่งเป้าหมายเดียวกันในการขับเคลื่อนเรื่องพื้นที่เรียนรู้ สร้างสรรค์ และกิจกรรมสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชน ทำให้เกิดแกนนำชุมชน เยาวชนวัดโพธิ์เรียง เยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง กลุ่มฝั่งธน ร่วมสานพลังทำงานพัฒนาชุมชนให้เป็นพื้นที่เรียนรู้และสร้างสรรค์ที่มีชีวิตชีวา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อึ้ง! โรค Stroke คร่าชีวิตคนไทยสูงเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็ง สสส. สานพลัง อบจ.ขอนแก่น ปักหมุด ชุมชนบ้านกุดโง้ง แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 17 มี.ค. 2568 ที่วัดเหนือสำโรง ชุมชนบ้านกุดโง้ง ต.หนองโน อ.กระนวน จ.ขอนแก่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สสส. ร่วมกับ จุฬาฯ ร่วมรณรงค์ World Kidney Day สร้างการรับรู้ควบคู่การดูแล เร่งสื่อสารการใช้ยาเพื่อลดความเสี่ยงโรคไต
“วันไตโลก ปี 68” คนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นจาก 9.8 แสนคน เป็น 1.13 ล้านคน สูญเสียปีสุขภาวะเร็วขึ้น 3.14 เท่า! เหตุบริโภคเค็ม-ใช้ยาไม่ถูกต้อง-เกินความจำเป็น เผยประชาชนเข้าใจเรื่องการใช้ยาที่ถูกต้องแค่ 64.9% สสส. สานพลัง จุฬาฯ สร้างการรับรู้ควบคู่การดูแล เร่งสื่อสารการใช้ยาเพื่อลดความเสี่ยงโรคไต
รวมพลังชุมชน ขับเคลื่อนการจัดการป่า ลดฝุ่นควัน สร้างสุขภาวะที่ดี
กรุงเทพฯ/12 มีนาคม 68 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)หรือ พอช. จับมือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ การขับเคลื่อนการจัดการป่าชุมชนเพื่อลดฝุ่นตวันและสร้างสุข
สสส.-พอช. ผนึกกำลัง 16 จังหวัด เดินหน้าป่าชุมชน ลดเผา-แก้ PM2.5 อย่างยั่งยืน
สสส. จับมือ พอช. และภาคีเครือข่าย เดินหน้าบริหารจัดการป่าชุมชน 60 แห่งใน 16 จังหวัดทั่วประเทศ เร่งแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 เสริมศักยภาพชุมชนลดการเผา พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการจัดการป่าอย่างยั่งยืน มุ่งสู่สังคมอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพประชาชน
เปิด 'ยะลาโมเดล' ชวนฟังเคล็ดลับสร้างเมืองสุขภาพดี จากนายกฯ พงษ์ศักดิ์ ที่งาน Active City Forum
“ยะลา” เป็นพื้นที่พหุสังคม ที่มีความหลากหลายของเชื้อชาติและศาสนา ทั้งยังเป็นพื้นที่ซึ่งเคยเผชิญกับเหตุการณ์ความไม่สงบ ทว่าเมืองยะลาก็สามารถพัฒนาสู่เมืองสุขภาวะ
ไรเดอร์: ฟันเฟืองของสังคมเมือง ต้องการสิทธิและความปลอดภัย
ทุกวันนี้ "ไรเดอร์" หรือแรงงานสองล้อมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตคนเมือง โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ที่มีจังหวะชีวิตเร่งรีบและการแข่งขันสูง อาชีพนี้กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว