ถอดรหัสกุญแจแห่งความสำเร็จ สร้างคุณภาพเด็กปฐมวัยในชุมชน

จากงานเวที "สานพลัง สร้างนวัตกรรม สู่สุขภาวะชุมชนที่ยั่งยืน" เมื่อเร็วๆ นี้ จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อสานพลังเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ และภาคีสร้างเสริมสุขภาพด้วยทุนทางสังคมและศักยภาพชุมชนท้องถิ่น แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีปฏิบัติการสุขภาวะชุมชนสู่เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ อันเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความยั่งยืน ชุมชนเข้มแข็งแม้ในภาวะวิกฤตต่างๆ นั้น

ปรากฏมีหัวข้อเสวนาที่น่าสนใจ ถือเป็นการถอดรหัสมุ่งเน้นการสร้างคุณภาพเด็กปฐมวัยในชุมชน โดยเป็นการรวมพล "คนรักษ์เด็ก" .. สานพลัง สร้างคุณภาพเด็กปฐมวัยในชุมชน ด้วยแนวคิดที่ว่า "การลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คุ้มค่าที่สุดอยู่ในช่วงเด็กปฐมวัย ทุกๆ บาทของการลงทุนสำหรับเด็กปฐมวัย มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 7-14 เท่า"  

นางสาวณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว (สำนัก 4 สสส.) กล่าวว่า ผลการศึกษานี้เป็นข้อสรุปแล้วทั่วโลก ช่วงปฐมวัยเป็นช่วงสำคัญ สมองได้รับการพัฒนาถึง 80% วัยนี้หากเด็กได้รับเรื่องสะเทือนอารมณ์ มีแผลในใจ เกิดความเครียด เห็นพ่อแม่ทะเลาะกันใช้ความรุนแรงเป็นปีๆ เป็นเรื่องยากมากที่เด็กจะมีความสุขได้ ดังนั้นช่วงปฐมวัยเป็นช่วงสำคัญที่สุด ถ้าทำดีจะเป็นฐานที่ดี ถ้าทำไม่ดีก็ยากที่จะแก้ไขได้ จึงมีคำกล่าวที่ว่า 1 ขวบปีแรกสำคัญ มหัศจรรย์พันวันแรก สมองเจริญเติบโตพัฒนามากที่สุดเป็นฐานสำคัญสู่วัยต่อไป

"สสส.ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย ขณะนี้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกระจายนับหมื่นแห่ง มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบเพื่อเผยแพร่ความรู้ 23 แห่ง" นางสาวณัฐยากล่าว และเปิดเผยด้วยว่า ประเทศไทยมีหน่วยงานราชการ 4 กระทรวงหลักดูแลประชากรกลุ่มปฐมวัย นั่นคือ กระทรวงสาธารณสุข กทม. สำนักอนามัย กระทรวงศึกษาธิการ โดยพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีมาตรฐานเดียวกับระดับชาติ เพราะเด็กทุกคนมีสิทธิได้รับการเรียนรู้บนมาตรฐานเดียวกัน

               ในส่วนของ สสส.นั้น มีเครื่องมือพัฒนาเด็กเล็ก https://www.thai-ecd.org/ ที่ทุกคนเข้าไปเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง สะดวกเมื่อไหร่ก็เข้าไปเรียนรู้ บทเรียนเป็นคลิปวิดีโอบทความสั้นๆ ให้อ่านและดาวน์โหลดได้ แบบทดสอบติดตามประเมินผล เปรียบเทียบได้กับบะหมี่สำเร็จรูปปรุงได้เอง ขณะนี้มีศูนย์เด็กเล็กเข้าร่วมเรียนรู้กับโครงการแล้วกว่า 80 แห่ง

โอกาสนี้ "คนรักษ์เด็ก" ที่ร่วมพลังหาสูตรสำเร็จที่ดีและเครื่องมือที่เหมาะสมในการพัฒนาสุขภาวะเด็กปฐมวัย อาทิ นายสืบศักดิ์ สุภิมาส นายกเทศมนตรี ต.วังผาง อ.เวียงหนองล่อง จ.ลำพูน ได้ใช้เวทีนี้แสดงความคิดเห็นในการพัฒนาเด็กว่า พื้นที่ทั้งอำเภอเวียงหนองล่องไม่มีภูเขา ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยว มีพื้นที่เกษตรเพียงอย่างเดียว เด็ก 3,000 คนอยู่ในวัยเรียน อยู่ใน 3 ตำบล แต่เดิมมี 6 โรงเรียน แต่ถูกยุบไป 3 โรงเรียน พื้นที่ตำบลอยู่ใกล้โรงเรียนเอกชนซึ่งเจริญกว่า ต้องเข้าไปเรียนและจับจ่ายใช้สอยอยู่ในเมือง

“เราต้องรู้เรื่องการศึกษา เนื่องจากผมเป็นครูเก่า เข้าใจปัญหา การที่เด็กจำนวน 3,000 คนเข้าไปเรียนในเมือง เฉลี่ยใช้จ่ายคนละ 100 บาท เป็นเงินปีละหลายล้านบาท พ่อแม่ทำการเกษตรและส่งลูกเข้าไปเรียนในเมือง" สิ่งที่ อบต.ดำเนินการคือ การจัดบริการรถตู้รับ-ส่งนักเรียนเพื่อความปลอดภัย พนักงานขับรถตู้มีความรู้ ถ้าเป็นครู อสม. จะช่วยคัดกรองและช่วยพัฒนาการเด็ก ปัญหาผลกระทบทางเศรษฐกิจในช่วง 3ปีถดถอย ลำพูนมีสถิติการฆ่าตัวตายสูงอันดับต้นๆ ของประเทศ เมื่อมีการสำรวจหนี้สินครัวเรือนกับ ธกส. ครัวเรือนละ 2 แสนบาท มีโครงการจัดตั้งคณะกรรมการคุณภาพชีวิตคัดกรองกลุ่มเสี่ยง การก่ออาชญากรรม การฆ่าตัวตาย ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย เด็กเล็กมีกลุ่มเสี่ยง ปัญหาการกู้หนี้ยืมเงิน หนี้พนันออนไลน์ ปัญหาผู้เสพผู้ค้ายา ต้องให้ครูตรวจคัดกรองและแทรกซึมให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการฯ มีนายก อบต.เป็นประธาน เพื่อเป็นการป้องกันการฆ่าตัวตาย

"เท่าที่สังเกต เด็กที่นี่พูดเป็นภาษาการ์ตูน เพราะเด็กอยู่กับปู่ย่าตายาย เด็กเล็กถูกปล่อยให้อยู่กับโทรศัพท์มือถือ “ห่วงคนเฒ่าเฝ้าดูละอ่อน” เนื่องจากพ่อแม่เข้าไปทำงานในนิคมอุตสาหกรรมลำพูน ครูก็ต้องมาฝึกการพูดของเด็ก ขณะเดียวกันก็ต้องแนะนำคนเฒ่าคนแก่ในชุมชนสอนเปิด YouTube เพื่อเปิดให้เด็กดูชุดความรู้ที่ครูเป็นนักแสดง" นายก อบต.วังผางกล่าว

ขณะที่ นายกิตติพงศ์ สีเหลือง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดใต้ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า ที่ผ่านมา 4ศูนย์เด็กเล็กกระจายอยู่ในท้องถิ่น ต้องใช้หลักพัฒนาคน เริ่มต้นจากความเป็นมนุษย์  ครูในศูนย์เด็กเล็กต้องฝากกันดูแล เนื่องจากนักเรียน 20 คน มีครูเพียง 1 คน บางแห่งมีเด็ก 70-80 คน การพัฒนาเด็กแรกเกิดจนถึง 6 ขวบ เด็กที่อยู่ในพื้นที่จนถึง 2 ขวบทำงานร่วมกันด้วย รพ.สต.ทำโครงการส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมาย อสม.แนะนำการบำรุงครรภ์ การให้นมแม่จนถึง 6 เดือน เด็ก 2 ขวบส่งเข้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กองทุนวันละบาท ชมรมผู้สูงอายุทำกิจกรรมภายในศูนย์ สร้างเป้าหมายร่วมกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัย

“ครูและผู้บริหารต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจ ไม่ต้องเดินตามกรอบของระบบราชการ กำหนด 6 กองงาน กองการศึกษาใช้เงินมากที่สุด รัฐมีเงินดูแลโครงสร้างพื้นฐาน เราต้องหาเงินมาชดเชย เราต้องดูแลโรงเรียนอื่นๆ ด้วย อบต.ดูแลวัดในพื้นที่ ผมกำหนดนโยบาย ภารกิจนี้ประชาชนเลือกผมเข้ามาทำงาน การสร้างคุณภาพชีวิตเราต้องสร้างเอง การทอดผ้าป่าโรงเรียนได้เงินมากกว่าวัด  เราต้องระดมทรัพยากรในพื้นที่ เราจะยอมให้เด็กไร้คุณภาพไม่ได้ หรือโง่ไม่ได้ เราต้องจ้างครูมาสอนพิเศษ สร้างโอกาสให้กับลูกคนอื่น  การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้อานิสงส์สูงสุด เด็กจะพ้นจากความยากจนข้ามรุ่นได้ด้วยการศึกษาที่ดี การลงทุนทางด้านการศึกษาจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เราต้องหาพันธมิตรระดมความร่วมมือมาช่วยกันทำงาน” นายกิตติพงศ์ให้ข้อคิด

นายนูรือมา ลายามุง อ.กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลบาละ อ.กาบัง จ.ยะลา กล่าวว่า เด็กวัยแรกเกิด-5  ขวบ มีจำนวน 635 คน ส่วนใหญ่เป็นมุสลิมมีลูก 4 คน ส่วนไทยพุทธมีลูก 2 คน การฉีดวัคซีนป้องกันโควิดใน 3 จังหวัดภาคใต้เฉลี่ย 70% ยะลาในช่วงปี 61 ฉีดได้ 61%  เด็กที่บาละไม่ได้ฉีดวัคซีน ส่งผลให้เสียชีวิตเพราะเป็นไข้สมองอักเสบ เมื่อเจาะลึกถึงความคิดเห็นของชาวมุสลิมในการฉีดวัคซีนว่าวัคซีนไม่ได้ผ่านการฮาลาลจึงไม่บริสุทธิ์ เป็นความเชื่อ จึงไม่ควรฉีดเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นต้องใช้องค์กรศาสนาเป็นตัวตั้งตัวตีในลำดับแรก เด็กปฐมวัย 2 ขวบครึ่งเรียนวันเสาร์-อาทิตย์ ผู้ปกครองจะมากันเป็นกลุ่ม ก็ให้ความรู้กับผู้ปกครอง เรื่องวัคซีนนั้นเมื่อฉีดแล้วเป็นการป้องกันตัวเอง และยังป้องกันคนอื่นได้ด้วย ทำให้ยอดการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นเป็น 90%

เราอยากให้ฉีดวัคซีนได้ 95% มีการประชุมกันใหม่ อบต.รับลงทะเบียนเด็กแรกเกิด เมื่อกลับไปก็ให้ชุมชนรับรอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. ขอให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเซ็นรับรอง พร้อมเงื่อนไขในการรับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด 600 บาท จะต้องได้รับสิทธิมีการฉีดวัคซีน ทั้งนี้ จะต้องระดมทุกภาคส่วนสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการรับวัคซีน ข้อมูลแต่ละส่วนต้องจับมือกับ สสส.การสร้างเครือข่ายทำงานเป็นทีมด้วยเป้าหมายเดียวกัน เพื่อเด็กจะได้มีสุขภาวะที่ดี ไม่เกิดความเหลื่อมล้ำ ด้วยการเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ไขคำตอบ..ออกกำลังกายเป็นนิจ ตัวช่วยอายุยืนยาวห่างไกล NCDs

อุบัติการณ์โรคในยุคนี้ปรากฏว่า "โรคไม่ติดต่อ (NCDs)" กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็น 75% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด หรือเกือบ 4 แสนคนต่อปี

เปิดผลสำรวจวัยโจ๋ ขีดเส้นสนามกีฬาฟุตซอล ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน

เครือข่ายงดเหล้า และสสส. ส่งเสริมกีฬาเยาวชนจัดฟุตซอล No-L ชิงถ้วยพระราชทานฯ รร. ราชวินิต มัธยม คว้าแชมป์ไปครองสมัยที่ 2 ด้วยสกอร์ 6:0 ในขณะที่ผลสำรวจร้อยละ 90 ต้องการให้สนามแข่งไม่ดื่ม ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน และร้อยละ 84.8 คิดว่ากีฬาฟุตซอลทำให้เยาวชนเห็นคุณค่าของตัวเอง