สสส. จับมือ มีบุ๊คส์ มาเลเซีย พัฒนาแอปพลิเคชัน “Me Books” เปิดตัวนิทานออนไลน์ 4 ภาษา บนแนวคิด ปลุกหนังสือให้มีชีวิต ชูเป็นต้นแบบโมเดลธุรกิจเพื่อสังคม คาดเข้าถึงเด็ก 1 แสนคนภายในปี 2565

เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2565 ที่อุทยานการเรียนรู้ ทีเค พาร์ค ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ยาวนาน สร้างผลกระทบโดยตรงกับเด็กไทยอย่างรุนแรง โดยเฉพาะเรื่องภาวะการเรียนรู้ของเด็กถดถอย เด็กกว่า 4 ล้านคน อยู่ในช่วงวัยที่ระบบประสาทและสมองเจริญเติบโตในอัตราสูงสุดกว่า 80% ของชีวิต ถือเป็นช่วงเวลาที่ต้องได้รับการพัฒนา สสส. โดยศูนย์กิจการสร้างสุข (SOOK Enterprise) ร่วมกับ บริษัท มีบุ๊คส์ จำกัด ประเทศมาเลเซีย พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านแอปพลิเคชัน “Me Books” ภายใต้แนวคิดปลุกหนังสือให้มีชีวิต เครื่องมือเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาวะ ผ่านนิทานออนไลน์ 4 ภาษา ให้มีความน่าสนใจและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กอย่างเป็นระบบ มุ่งเป้าให้เด็กไทยเข้าร่วม 100,000 คน ภายในปี 2565

“แอปพลิเคชัน “Me Books” มุ่งเป้าพัฒนาสติปัญญา บุคลิกภาพ และความฉลาดทางอารมณ์ ลดช่องว่างในการสื่อสารระหว่างคนในครอบครัว พร้อมเป็นช่องทางเสริมสร้างการเรียนรู้และเยียวยาปัญหาที่เกิดขึ้น ความร่วมมือครั้งนี้ ถือเป็นต้นแบบการขับเคลื่อนงานสุขภาวะในรูปแบบธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ในลักษณะ Startup ที่มีความคล่องตัว สร้างสรรค์ ใช้โครงสร้างทางธุรกิจแบบเต็มตัว สสส. เปิดกว้างสร้างความร่วมมือทั้งไทยและต่างประเทศให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม โดยเฉพาะภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และคนทำงานเพื่อสังคม ซึ่งเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะไปสู่วงกว้างได้อย่างยั่งยืน สนใจเข้าร่วมพัฒนานวัตกรรมเพื่อสุขภาพได้ที่เว็บไซต์ www.sooklife.com” ดร.สุปรีดา กล่าว

นายเฮา จิน ผู้ก่อตั้งแอปพลิเคชัน Me Books กล่าวว่า แอปฯ Me books ช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็ก กับผู้ปกครอง ครู บรรณารักษ์ นักเล่านิทาน ด้วยระบบการสร้างพัฒนาการเด็กแบบขั้นบันได ตั้งแต่การอ่าน ฟัง พูดออกเสียง พร้อมตอบโต้โดยการสัมผัสผ่านหนังสือที่มีชื่อเสียงระดับโลกกว่า 450 เรื่อง รวมถึงหนังสือคุณภาพของ SOOK Enterprise สสส. และมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ซึ่งมาในรูปแบบ 4 ภาษา ไทย อังกฤษ จีน และมลายู ความพิเศษคือ เครื่องมืออัดเสียงเพื่อให้ผู้ดูแลเด็กสามารถใช้แอปฯ สร้างเรื่องราวใหม่ร่วมกับเด็กเสริมสร้างการเรียนรู้ทางภาษาได้ นอกจากนี้ แอปฯ เปิดกว้างให้สมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมตลอดทั้งปี เช่น การประกวดแข่งขันเล่านิทาน (Voice-Over Storytelling) ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ทั้งในระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ได้ตั้งแต่วันนี้

นางสาวภาสวรรณ สังฆสุบรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์กิจการสร้างสุข (Sook Enterprise) สสส. กล่าวว่า Sook Enterprise สสส. ดำเนินงานในบทบาทภาคธุรกิจ มุ่งขยายฐานผู้รับประโยชน์และต่อยอดองค์ความรู้สุขภาวะ พัฒนาองค์ความรู้ กระบวนการเรียนรู้ ผลิตภัณฑ์ และบริการให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย ตอบโจทย์ชีวิตวิถีใหม่ เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในการมีสุขภาวะที่ดีและปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันของทุกคน มุ่งเป้าพัฒนากิจกรรมและโมเดลธุรกิจในรูปแบบการสร้างภาคีเครือข่ายทั่วโลก เพื่อส่งเสริมวิถีสุขภาพดี 4 มิติ กาย ใจ สังคม ปัญญา ผ่านเครื่องมือที่เข้าถึงได้โดยตรง สนใจเข้าร่วมกิจกรรมอื่นๆ ของ Sook Enterprise กว่า 50 กิจกรรม ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ SOOK แอปพลิเคชันไลน์ @SOOK และยูทูบ SOOK Channel

ผศ.นพ.วรวุฒิ เชยประเสริฐ กุมารแพทย์เฉพาะทางโลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก หรือเจ้าของเฟซบุ๊กแฟนเพจ เลี้ยงลูกตามใจหมอ กล่าวว่า พ่อ แม่ ผู้ดูแลเด็กเล็ก ถือเป็นบุคคลสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ทั้งด้านสติปัญญา ความคิด ภาษา และพฤติกรรม หากเด็กสามารถเข้าถึงสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ อาจส่งผลให้เด็กเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ เช่น ก้าวร้าว ต่อต้าน ความร่วมมือระหว่างแอปพลิเคชัน Me Books และ สสส. จึงถือเป็นการเปิดพื้นที่สื่อปลอดภัยให้พ่อ แม่ ผู้ดูแลเด็กเล็ก มีทางเลือกที่ถูกต้องในการเลี้ยงลูกด้วยเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล ซึ่งการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กจะเกิดขึ้นได้ดีที่สุด คือการใช้ภาษา อ่านนิทาน ถาม-ตอบกับผู้ปกครอง นอกจากจะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปลูกฝังให้เด็กรักการอ่าน ยังสร้างกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้แก่คนในครอบครัว

นายกวี ตันจรารักษ์ ศิลปินนักร้อง คุณพ่อลูกแฝด กล่าวว่า การเลี้ยงลูกในยุคดิจิทัลไม่สามารถเลี่ยงการใช้สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตในชีวิตประจำวันได้ แต่ต้องเลือกใช้วิธีการรับมือโดยผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม การเล่านิทานของ Sook Publishing สสส. ผ่านแอปพลิเคชัน Me Books ที่มีถึง 4 ภาษา ถือเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับเด็กตั้งแต่ปฐมวัย ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านความคิด การจดจำ การตอบโต้ และการเรียนรู้ที่ใช้ควบคู่กับวิถีชีวิตของครอบครัวในยุคปัจจุบันได้อย่างลงตัว

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ไขคำตอบ..ออกกำลังกายเป็นนิจ ตัวช่วยอายุยืนยาวห่างไกล NCDs

อุบัติการณ์โรคในยุคนี้ปรากฏว่า "โรคไม่ติดต่อ (NCDs)" กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็น 75% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด หรือเกือบ 4 แสนคนต่อปี

เปิดผลสำรวจวัยโจ๋ ขีดเส้นสนามกีฬาฟุตซอล ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน

เครือข่ายงดเหล้า และสสส. ส่งเสริมกีฬาเยาวชนจัดฟุตซอล No-L ชิงถ้วยพระราชทานฯ รร. ราชวินิต มัธยม คว้าแชมป์ไปครองสมัยที่ 2 ด้วยสกอร์ 6:0 ในขณะที่ผลสำรวจร้อยละ 90 ต้องการให้สนามแข่งไม่ดื่ม ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน และร้อยละ 84.8 คิดว่ากีฬาฟุตซอลทำให้เยาวชนเห็นคุณค่าของตัวเอง