Sandbox “เขตวังทองหลาง” ส่งเสริมการอ่านร่วมฝ่าวิกฤต

รู้ไหม?!? ว่า...เด็กปฐมวัย (แรกเกิด-6 ปี) มีอัตราเจริญเติบโตของสมองสูงสุด จึงเป็นพื้นฐานสำคัญพัฒนาทุกด้านในช่วงต่อไป หากเด็กได้รับการกระตุ้นเสริมให้ก้านสมองแตกยอดทอดกิ่ง จะเกิดการพัฒนาอย่างเหมาะสม ทำอะไรได้อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในวัยนั้นๆ ได้อย่างดี

หนังสือภาพ..คือตัวช่วยเป็นอย่างดีที่จะทำให้เด็กมีสมรรถนะที่ดี

องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้คำขวัญ “การรู้หนังสือเป็นสิทธิมนุษยชน เป็นพลังแห่งศักดิ์ศรี เป็นพื้นฐานความเข้มแข็งของสังคม และเป็นฐานรากของการพัฒนาที่ยั่งยืน อันจะก่อความรุดหน้าในทุกด้าน นับแต่เรื่องการดูแลสุขภาพ ความปลอดภัยด้านโภชนาการ การขจัดความยากจน ตลอดจนการสร้างเสริมการมีงานทำที่เหมาะสม”

แต่จากการสำรวจ มีตัวเลขที่น่าตกใจว่า เด็กไทยอายุแรกเกิดถึง 3 ปี ไม่มีหนังสือนิทานในบ้าน จำนวน 1.1 ล้านครัวเรือน เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี เล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สูงถึง 53% เด็ก  8% เล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อยวันละ 3 ชั่วโมง

เพราะเล็งเห็นประเด็นหนังสืออ่านสร้างเด็ก และเด็กก็จะสร้างโลกในอนาคต อีกทั้งลดทอนความเหลื่อมล้ำในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในสังคมไทย เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ร่วมกับกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ชุมชนเก้าพัฒนา ชุมชนทรัพย์สินเก่า และชุมชนพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ ประกาศปฏิญญาสนับสนุน “การจัดสวัสดิการหนังสือเพื่อเด็กปฐมวัย” ในงาน BKK-เรนเจอร์ รวมพลังเด็กเปลี่ยนเมือง Kick off ราม 39 อ่านยกกำลังสุขโมเดล ขับเคลื่อนนโยบายแก้ปัญหาภาวะสูญเสียการเรียนรู้ หรือ Learning Loss

นางญาณี รัชต์บริรักษ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา ของ สสส. กล่าวว่า หนังสือนิทานเหมือนหน้าต่างบานแรกที่บ่มเพาะให้เด็กปฐมวัยอายุ 0-6 ปี ได้เรียนรู้ตามธรรมชาติ ควบคู่กับการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว โดยรายงานของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) พบว่าผลกระทบทางสังคมช่วงโควิด-19 เด็กเล็กมีพัฒนาด้านการอ่านน้อย ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านอื่นๆ

การอ่านทำให้เกิด “การเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิต” (lifelong learning) ที่ทุกคนจำเป็นต้องมีอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ สสส.พบว่า หนังสือนิทานส่งเสริมทั้งกาย จิต ปัญญา และสังคม 4 ข้อ

1.ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย เพราะเปิดโอกาสให้เด็กได้เคลื่อนไหว แสดงบทบาทสมมติตามเนื้อหาในนิทาน ซึ่งจะช่วยเรื่องกล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ 2.ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ เพราะนิทานจะสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ทำให้มีความสุข และสุขภาพจิตดี 3.ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม การที่ผู้ใหญ่อ่านหนังสือภาพ หนังสือนิทานให้เด็กฟัง จะสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในครอบครัว 4.ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา เพราะหนังสือนิทานช่วยให้เด็กมีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เด็กมีทักษะการสื่อสาร ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน เหมาะสมตามวัย

“การอ่านเป็นระบบนิเวศการสื่อสารสุขภาวะที่สำคัญสำหรับเด็กปฐมวัย สสส. พร้อมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการอ่านเพื่อร่วมฝ่าวิกฤตภาวะสูญเสียการเรียนรู้ (Learning Loss) จากผลกระทบของโควิด-19 ที่เด็กๆ ต้องเรียนทางออนไลน์ ครอบครัวและชุมชนคือกุญแจสำคัญที่ช่วยแก้วิกฤตเรื่องพัฒนาการภาษาล่าช้า ลดภาวะถดถอยด้านต่างๆ ในเด็กปฐมวัยได้ การลงพื้นที่ชุมชนครั้งนี้  สะท้อนให้เห็นประโยชน์ของหนังสือนิทานที่กระตุ้นทักษะด้านต่างๆ ได้จริง สสส.จึงพร้อมสนับสนุนนโยบายสวัสดิการหนังสือเด็ก ให้กับครอบครัวที่มีเด็กแรกเกิดและเด็กปฐมวัยได้มีหนังสือนิทานอย่างน้อย 3 เล่ม เพื่อจุดประกายให้เกิดพื้นที่เรียนรู้ สร้างความรัก ความผูกพัน และฟื้นฟูวิกฤตจากโควิด-19 รวมถึงขอบคุณ กทม. และภาคีเครือข่ายสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ที่เป็นพลังสำคัญช่วยกันทำให้ช่วงเวลาสำคัญที่สุดของเด็กกว่า 90% มีสุขภาวะที่ดีอีกครั้ง” นางญาณีกล่าว

ขณะที่นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระบุว่า ความท้าทายของกทม.เมื่อโควิดระบาด ทำให้การเรียนรู้ของเด็กถดถอย เด็กไม่ได้เรียน การเรียนรู้ขาดหายไป ผู้ปกครองขาดอาชีพ หนังสือ 3 เล่มเป็นต้นทุนที่ดี ต้องลงมือแต่เดี๋ยวนี้ และหากิจกรรมเสริม กทม.มีบ้านหนังสือ 437 แห่ง ที่จะต้องจัดหาหนังสือเข้ามาเพิ่ม ในวาระเทศกาลเด็กและเยาวชน BKK เรนเจอร์ รวมพลังเด็กเปลี่ยนเมือง กทม. เราให้ความสำคัญกับการพัฒนากระบวนการเรียนรู้และพื้นที่เรียนรู้ของกลุ่มเด็กเล็กด้วย โดยเฉพาะแนวทางการพัฒนาทักษะสมอง EF และศักยภาพทุกด้านจากภาวะถดถอย หรือ Learning Loss ช่วงโควิด-19 ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ใน 9 มิติ ทั้งด้านสุขภาพดี สร้างสรรค์ดี สิ่งแวดล้อมดี ฯลฯ ซึ่งพบว่าหนังสือและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ช่วยพัฒนาเด็กเล็กได้เต็มศักยภาพ

นางสุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. กล่าวว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองใหญ่ หากสามารถแปรนโยบายที่ผู้ว่าฯ ชัชชาติประกาศรับเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2565 ให้เกิดแนวปฏิบัติในการพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะเด็กปฐมวัยอายุ (0-6 ปี) ด้วยสวัสดิการหนังสือเพื่อเด็กได้ จะก่อประโยชน์อย่างมากต่อแนวทางของเมืองอื่นๆ โดยเฉพาะการใช้งบประมาณกองทุนสุขภาพระดับท้องถิ่น (กปท.) ซึ่ง “หนังสือนิทาน” จะช่วยกอบกู้ทักษะของเด็กให้เรียนรู้สิ่งใหม่ได้ ดังที่ข้อมูลจากองค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ระบุว่า เด็กเล็กมีแนวโน้มสูญเสียการเรียนรู้มากกว่าเด็กโต เพราะการเรียนออนไลน์ไม่เหมาะต่อพัฒนาการตามช่วงวัย หากสามารถขับเคลื่อนนโยบายระดับชาติ และชุมชนท้องถิ่นได้ จะเป็นสัญญาณที่ดีในการทำเรื่องนี้ โดยสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางเพจเฟซบุ๊ก “อ่านยกกำลังสุข”

“หากชุมชนเข้มแข็ง จะช่วยนำพาครอบครัวและเด็กเล็กผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ ปีนี้นอกจากขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ เราต้องการส่งเสริมการอ่านให้เป็นรูปธรรม จึงขยายผลไปในระดับชุมชน เพื่อให้มีความต่อเนื่องและทำได้จริง โดยส่งเสริมให้เกิดสวัสดิการหนังสือนิทานเพื่อเด็กแรกเกิด อย่างน้อย 3 เล่ม ร่วมกับ สสส. กทม. และภาคีเครือข่าย รวมถึงส่งเสริมครอบครัวอ่านหนังสือนิทานให้เด็กฟัง” นางสุดใจกล่าว

นายชำนาญ สุขีเกตุ ประธานชุมชนเก้าพัฒนา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ กล่าวว่า ครอบครัวได้ร่วมโครงการรักการอ่านกับ สสส.ตั้งแต่ปี 2561 หลังพบว่าเด็กในชุมชนบางครอบครัวมีพัฒนาการล่าช้า อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ขาดทักษะเข้าสังคม จึงเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส มาทำพื้นที่เรียนรู้ให้เด็กและผู้ปกครองที่ศูนย์ชุมชนทุกวันหยุดหรือวันว่าง โดยจะอ่านหนังสือนิทานให้เด็กฟัง และจัดกิจกรรมต่อเนื่องจากหนังสือให้กับเด็ก เช่น ทำอาหาร ปลูกผัก ปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมกว่า 11 ครัวเรือน มีแผนขยายไปในครอบครัวรุ่นใหม่ และบ้านที่มีหญิงตั้งครรภ์กำลังจะคลอด เพื่อส่งเสริมให้ทุกบ้านมีหนังสือนิทานอย่างน้อย 3 เล่ม จากการดำเนินงานที่ผ่านมา พบผู้ปกครองสนใจมากขึ้น เพราะช่วยแก้ปัญหาเด็กติดจอมือถือ จากช่วงโควิด-19 ที่เด็กทุกคนต้องเรียนออนไลน์อยู่แต่ในบ้าน”.

***

แพทย์หญิงปุษยบรรพ์ สุวรรณคีรี เพจหมอแพมชวนอ่าน กรรมการมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน

ทักษะเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับโลกปัจจุบัน เมื่อโลกเปลี่ยน เด็กเรียนรู้ที่จะต้องปรับตัวเมื่อต้องเผชิญกับอุปสรรค มนุษย์ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต ดร.เบตตี้ ฮาร์ต และ ดร.ท็อด ริสลีย์ มหาวิทยาลัยแคนซัส วิจัยพบว่า การได้ยินคำศัพท์ของเด็ก 4 ขวบ เด็ก 1 คนมีความเหลื่อมล้ำทางกระบวนการเรียนรู้ถึง 32 ล้านคำ เด็กจากชนชั้นวิชาชีพ 45 ล้านคำ เด็กชนชั้นแรงงาน 26 ล้านคำ เด็กจากชนชั้นพึ่งสวัสดิการ 13 ล้านคำ เป็นเรื่องสอดคล้องกับงานวิจัยของนักสังคมวิทยา จอร์จ ฟาร์กัส และเคิร์ต เบรอน พบว่าเด็กในครอบครัวที่ฐานะทางเศรษฐกิจต่ำกว่า เมื่อเริ่มเข้าเรียนจะมีพัฒนาการในการเรียนรู้ช้ากว่าเด็กอื่น 12-14 เดือน และเมื่อโตขึ้นก็ไม่สามารถชดเชยความรู้ได้....

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เครื่องฆ่าเชื้อโรค-กลิ่นอับหมวกกันน็อก นวัตกรรมสุขภาพขับเคลื่อนสู่การใช้จริง

เครื่องฆ่าเชื้อโรคในหมวกนิรภัยเสริมสร้างสุขภาวะของผู้ขับขี่จักรยานยนต์และผู้โดยสาร ของทีมเยาวชนจากวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ

สสส.ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม ‘พัก กะ Park’ เปลี่ยนสวนสาธารณะให้เป็นพื้นที่สุขภาวะ

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร (กทม.), กลุ่ม we!park และภาคีเครือข่ายพัฒนาเมืองสุขภาวะและชุมชนสุขภาวะ (Healthy Space Alliance)

ส่องสุขภาพ'มอเตอร์ไซด์รับจ้าง'ใน กทม.

“มอเตอร์ไซด์รับจ้าง” เป็นอาชีพที่ใกล้ชิดกับชาวกรุงเทพฯ ทั้งรับส่งผู้โดยสารและเอกสาร ผลจากปัญหาจราจรและความเร่งรีบในการเดินทางของคนเมือง  แม้จะเป็นอาชีพที่เสี่ยงอันตรายบนท้องถนนกรุงเทพฯ แต่พวกเขาก็ไม่บอกลางานอิสระนี้ เพราะประกอบอาชีพได้ง่าย

สสส. สานพลังเทศบาลเมืองน่าน UDC ม.แม้โจ้ หนุน 'จ.น่าน' เป็นจังหวัดแรก ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ภายใต้นโยบาย 'เมืองสุขภาพดี' หรือ blue zone ของกระทรวงสาธารณสุข ชู 'ชุมชนน้ำล้อม เทศบาลเมืองน่าน' ต้นแบบเมืองที่เป็นมิตรเพื่อผู้สูงอายุและทุกคน จัดทีมช่างชุมชนออกแบบ ปรับปรุงบ้านคนสูงอายุ คนพิการ ที่อยู่เพียงลำพัง

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พร้อมด้วยนางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ และผศ.ดร.วุฒิกานต์ ปุระพรหม หัวหน้าศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน (UDC) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้การออกแบบและปรับปรุงบ้านพักของผู้สูงอายุตามแนวคิดการออกแบบเพื่อทุกคน ในพื้นที่ที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุและทุกคน

'หมอชลน่าน' ยกระดับน่าน Kick off เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อคนทั้งมวล ด้าน สสส. เดินหน้าผลักดัน 'น่านโมเดล' 1 ใน 10 เมืองต้นแบบสุขภาพ ที่มีอารยสถาปัตย์ สภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก รองรับ ผู้สูงวัย คนพิการ ตามแนวคิด Universal Design : UD

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงาน ทัวร์อารยสถาปัตย์ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดน่าน “เปิดเมืองอารยสถาปัตย์ เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อคนทั้งมวล จังหวัดน่าน” พร้อมด้วย นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายกฤษณะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล