กระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน (NDRC) จัดการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟ ระหว่างไทย - จีน ครั้งที่ 30

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย และนายหลิน เนี่ยนซิว รองประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน (NDRC) เป็นประธานร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 30 ซึ่งจัดขึ้นใน รูปแบบการประชุมทางไกล โดยมีผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงคมนาคม กรมการขนส่งทางราง กรมทางหลวง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร การรถไฟแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เข้าร่วมการประชุม เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565

ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย จึงได้ผลักดันให้เกิดการส่งเสริมความเชื่อมโยงภายในประเทศไทย อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และอาเซียน จึงเร่งรัด การดำเนินการความร่วมมือรถไฟไทย – จีน โดยมีเป้าหมายหลักในการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เสริมสร้างความแข็งแกร่งของห่วงโซ่อุปทานโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังตามนโยบายของรัฐบาล

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการร่วม เพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย -จีน ครั้งที่ 30 ถือเป็นก้าวที่สำคัญต่อการเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพ ระบบโลจิสติกส์ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในอนาคต โดยกระทรวงคมนาคมได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเชื่อมโยง โครงการรถไฟความเร็วสูง ระหว่างไทย - จีน และการเชื่อมโยงโครงข่ายทางรถไฟ ไทย - ลาว - จีน ซึ่งเป็นหัวใจ สำคัญของการพัฒนาในระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาคที่ยั่งยืน รวมถึงเพื่อผลักดันการดำเนินการโครงการรถไฟ ความเร็วสูงระหว่างไทย - จีน ให้มีความคืบหน้าและบรรลุเป้าหมายตามที่ผู้นำของทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกัน ซึ่งมีข้อสรุปสำคัญจากการประชุม ดังนี้

  1. ฝ่ายไทยได้นำเสนอความก้าวหน้างานโยธาโครงการฯ ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา โดยฝ่ายจีนได้รับทราบว่างานโยธาส่วนใหญ่ได้เริ่มดำเนินการแล้ว โดยทั้งสองฝ่ายจะใช้ความพยายาม อย่างสูงสุดเพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ตามแผนงาน
  2. ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบที่จะดำเนินความร่วมมือโครงการฯ ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคายภายใต้กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องของไทย โดยฝ่ายไทยได้นำเสนอความก้าวหน้าและแผนการดำเนินการโครงการฯ ระยะที่ 2 (นครราชสีมา - หนองคาย) ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการออกแบบรายละเอียด งานโยธาแล้วเสร็จ
  3. ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือเกี่ยวกับการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟระหว่างหนองคาย - เวียงจันทน์ และเห็นชอบว่าควรให้มีการประชุมไตรภาคีระหว่างไทย ลาว และจีน ในทุกระดับ โดยคำนึงถึงกำหนดการ ที่มีความเหมาะสมสำหรับทั้งสามฝ่ายเป็นสำคัญ เพื่อหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการลดอุปสรรค และค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการ การอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์และการขนส่งระหว่างสามประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน
  4. ทั้งสองฝ่ายหารือเกี่ยวกับแผนการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงใหม่ ฝ่ายไทยแจ้งว่าอยู่ระหว่าง ศึกษาความเหมาะสมของการสร้างสะพานรถไฟและรถยนต์แห่งใหม่ ภายหลังจากศึกษาความเหมาะสมแล้วเสร็จ ฝ่ายไทยจะเริ่มออกแบบรายละเอียดต่อไป โดยฝ่ายจีนจะมีส่วนร่วมในการประสานงานและสนับสนุนผลักดันโครงการ ให้มีความก้าวหน้า และทั้งสองฝ่ายเห็นควรให้มีการเชื่อมต่อทางรถไฟเส้นทางสิงคโปร์ - คุนหมิงโดยเร็ว โดยเฉพาะการเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างไทย - ลาว - จีน
  5. ทั้งสองฝ่ายเน้นย้ำถึงความสำคัญของการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าที่ด่านตรวจ ชายแดน และเสนอให้มีความพยายามดำเนินการให้มีการขนส่งสินค้าได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสินค้า ประเภทเน่าเสียง่าย

ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบกำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมครั้งที่ 31 ภายหลัง การประชุมไตรภาคีระหว่างไทย ลาว และจีน เกี่ยวกับโครงการรถไฟเชื่อมต่อระหว่างหนองคาย - เวียงจันทน์ต่อไป เพื่อให้เกิดพัฒนาความเชื่อมโยงระบบรางระหว่างภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรมอันจะน ามาสู่ประโยชน์ในการขยายตัว ทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

เพิ่มเพื่อน