สสส. ดันระบบแพทย์ฉุกเฉินสร้างมาตรฐานงานกีฬามวลชนสู่สากล พร้อมหนุนคนไทยเสริมทักษะ CPR ลดภาวะวิกฤติเสียชีวิต

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ความสำคัญและสนับสนุนให้งานแข่งขันกีฬามวลชนทุกประเภทและทุกระดับในไทย มีการวางระบบความปลอดภัยทางการแพทย์ฉุกเฉิน (Medical Race Director) เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันกรณีนักกีฬาหรือผู้เข้าร่วมงานเกิดภาวะวูบหมดสติและหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถสูบฉีดเลือดเพื่อนำออกซิเจน

ไปเลี้ยงร่างกายและสมองตามปกติได้ ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงที่จะเสียชีวิตหากได้รับความช่วยเหลือล่าช้า ซึ่งตามสถิติในไทยพบผู้เสียชีวิตระหว่างการแข่งขันกีฬาด้วยอาการดังกล่าวประมาณ 1 ต่อ 200,000 คน

ที่สำคัญที่สุดคือภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศวัย แม้แต่ผู้มีสุขภาพแข็งแรงโดยปราศจากสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า

สสส.ต้นแบบ หนุนทีมแพทย์กู้ชีพงานกีฬามวลชนไทย

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการ สสส. และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ กล่าวว่า สสส.ได้สร้างต้นแบบการวางระบบความปลอดภัยทางการแพทย์ฉุกเฉินในการจัดกีฬามวลชนไทยในงาน “ Thai Health Day Run 2022 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อลดการบาดเจ็บหรือการสูญเสียชีวิตของผู้เข้าร่วมงานที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันและหมดสติ แม้ว่าโอกาสที่จะเกิดขึ้นมีขึ้นมีน้อยแต่ก็ไม่ควรประมาณ เพราะสสส.มีหน้าที่สนับสนุนให้คนไทยทุกกลุ่มวัยมีกิจกรรมทางกายในระดับปานกลางอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ เพื่อลดพฤติกรรมเนือยนิ่งและป้องกันโรคไม่ติดต่อ หรือ NCDs  ดังนั้นคงไม่ดีแน่ถ้าหากระหว่างการมีกิจกรรมทางกายหรือการเข่งขันกีฬามวลชนจะสร้างความสูญเสียระดับชีวิต และเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการจัดกีฬามวลชนในระดับสากลอีกด้วย

“การจัดงานกีฬามวลชนทุกประเภทและทุกระดับ ควรมีมาตรฐานความปลอดภัยทางการแพทย์ โดยทีมแพทย์พยาบาลผู้เชี่ยวชาญการกู้ชีพ มีเครื่องไม้เครื่องมือที่พร้อมโดยเฉพาะเครื่องกระตุ้นหัวใจหรือ AED

จึงสำคัญที่สุด เพื่อเฝ้าระวังและประเมินโอกาสที่นักกีฬาจะได้รับการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตหากเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ซึ่งจำเป็นจะต้องให้การช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ดังนั้นการเตรียมพร้อมไว้ก่อน

ก็เท่ากับการลดโอกาสการสูญเสียชีวิตได้” ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว

CPR จำเป็นเรียนรู้ กู้ชีวิตคนใกล้ตัว

ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่า คนไทยทุกเพศวัยมีโอกาสที่จะเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันจนนำไปสู่การเสียชีวิตได้ แม้จะไม่ใช่ผู้ที่มีกิจกรรมทางกายหรือเล่นกีฬาหนักๆ เพราะปัจจุบันยังไม่สามารถระบุถึงสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงได้อย่างชัดเจน ดังนั้นตัวเราเองรวมทั้งคนใกล้ชิดก็อาจเป็นหนึ่งในผู้เคราะห์ร้าย เพราะฉะนั้นคนไทยทุกคนจึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อฟื้นคืนชีพแก่ผู้หยุดหายใจ หรือหัวใจหยุดเต้น ให้กลับมามีชีพจรดังเดิม (Cardio Pulmonary Resuscitation : CPR) ซึ่งสสส.และภาคีเครือข่ายได้เร่งสนับสนุนการจัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่อง

 

ทำ CPR อย่างไรเมื่อภัยมา กับ 4 นาทีชีวิตพิชิตการสูญเสีย

นพ.ภัทรภณ อติเมธิน แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ผู้เชียวชาญด้านการวิ่งและอาการบาดเจ็บจากการวิ่ง สมาคมการค้าผู้จัดงานกีฬามวลชนไทย (TMPSA)ให้คำแนะนำว่า เมื่อพบเห็นผู้มีอาการวูบหมดสติ หรือล้มลงโดยไม่มีสาเหตุให้รีบเข้าไปช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยการทำ CPR และใช้เครื่อง AED ทันที ซึ่งมีแนวทางการปฏิบัติดังนี้

  1. ตั้งสติ และทำการตรวจสอบสภาพแวดล้อมโดยรอบว่ามีความปลอดภัยเพียงพอและไม่มีอันตราย ทั้งต่อตัวผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือ และผู้ป่วย
  2. สำรวจอาการผู้ป่วย ว่ามีชีพจรและหายใจหรือไม่ โดยพิจารณาจากการขยับขึ้นลงของหน้าอก
  3. เริ่มต้นปลุกด้วยเสียงพร้อมๆ กับการสัมผัสโดยการตบบ่าทั้ง 2 ข้างของผู้มีป่วย หากไม่รู้สึกตัวและ

ไม่หายใจ ให้เข้าสู่กระบวนการทำ CPR ทันที เพราะการปล่อยให้ล่าช้านานเท่าไหร่โอกาสการรอดชีวิตก็จะลดลง โดยเริ่มจากการนั่งคุกเข่ายกก้นขึ้น วางส้นมือข้างที่ถนัดบนบริเวณกึ่งกลางของหน้าอกในตำแหน่งของหัวใจแล้วใช้อีกมือประกอบเยือดแขนตรง จากนั้นใช้แรงกดจากหัวไหล่และลำตัวกดตรงลงไปให้ลึกประมาณ 5-6 ซ.ม ด้วยความเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที

  1. ขอความช่วยเหลือจากผู้คนรอบข้าง หรือหากอยู่คนเดียวให้เปิดลำโพงโทรศัพท์ ติดต่อขอความช่วยเหลือหมายเลข 1669 โดยให้ระบุรายละเอียดของอาการ โดยเฉพาะอาการหมดสติ ไม่หายใจและหัวใจหยุดเต้น
  2. ระหว่างการทำ CPR ให้ผู้คนที่อยู่บริเวณนั้นนำเครื่อง AED โดยปฏิบัติตามขั้นตอนการใช้เครื่องและ

กดปุ่มช็อกหัวใจจนกว่าหน่วยกู้ชีพ 1669 จะมาถึงที่เกิดเหตุ

“เมื่อเผชิญกับผู้ที่หมดสติหัวใจหยุดเต้น อยากให้คำนึงเสมอว่าถ้าไม่แน่ใจกับอาการให้รีบปั๊มหัวใจไว้ก่อน เพราะถ้าไม่ทำอะไรเลยผู้ป่วยก็ไม่ฟื้นขึ้นมาก็เท่ากับไม่รอด แต่ถ้าลงมือช่วยโอกาสในการฟื้นก็เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการเรียนรู้ขั้นตอนการทำ CPR จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ทุกคนควรรู้และปฏิบัติได้ และแนะนำให้โหลดแอพพลิเคชั่น EMS 1669 หรือระบบรับแจ้งเหตุฉุกเฉินซึ่งจะสามารถเรียกรถพยาบาลและส่งตำแหน่งที่เกิดเหตุ รวมทั้งมีคำแนะนำในการทำ CPR และใช้เครื่อง AED อย่างชัดเจน” นพ.ภัทรภณ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสส. ปลื้ม ครบรอบ 4 ปี ThaiHealth Academy พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรสุขภาวะ 82 หลักสูตร

เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567 ที่โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ หรือ ThaiHealth Academy

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ไขคำตอบ..ออกกำลังกายเป็นนิจ ตัวช่วยอายุยืนยาวห่างไกล NCDs

อุบัติการณ์โรคในยุคนี้ปรากฏว่า "โรคไม่ติดต่อ (NCDs)" กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็น 75% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด หรือเกือบ 4 แสนคนต่อปี