สสส.ชวนคนไทย “ดื่มไม่ขับ” กลับบ้านสงกรานต์ปลอดภัย ย้ำเตือนดื่มแอลกอฮอลแค่กรึ่มๆก็ถึงตายได้

วันที่ 12 เม.ย.2566 นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงการรณรงค์ “ดื่มไม่ขับ กรึ่มๆก็ถึงตาย” ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2566 ว่า เทศกาลสงกรานต์เป็นเทศกาลแห่งความสุข ในขณะเดียวกันก็มีข้อกังวลเกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนระหว่างเดินทาง บางคนเสียชีวิต เจ็บป่วยพิการ จึงต้องช่วยกันรณรงค์เพื่อให้ทุกคนมีความสุขในทุกเทศกาล ซึ่งจากสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในทุกเทศกาลในปีที่ผ่านมาช่วง 7 อันตราย มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน 350 ราย ถือว่ายังดีอยู่เมื่อเทียบกับ 20 ปีที่แล้ว ซึ่งตัวเลขผู้เสียชีวิตสูงถึง 500- 800 ราย โดยสาเหตุส่วนใหญ่ยังเป็นการขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย ขับด้วยความเร็วสูง และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สสส.จึงได้นำประเด็น “ดื่มไม่ขับ กรึ่มๆก็ถึงตาย” มาเป็นแคมเปญรณรงค์ เพราะเป็นคำที่คนไทยคุ้นเคย เพื่อให้เห็นความสำคัญของการไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพราะทุกการดื่ม ไม่ว่าจะมากหรือน้อย นอกจากจะมีผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุต่อตัวเองและผู้อื่นได้ เพราะการดื่มจะให้ภาวะในการตัดสินใจช้าลง การมองเห็นไม่ชัดเจน ควบคุมตัวเองไม่ได้ จึงต้องรณรงค์ดื่มไม่ขับ ไม่ต้องรอให้เมาก่อน เพราะแค่การดื่มก็ทำให้เกิดปัญหาแล้ว ซึ่งผลเสียที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่ตัวคนดื่มแต่หมายถึงครอบครัวหรือเหยื่อที่ได้รับผลกระทบด้วย

“การผลิตแคมเปญกรึ่มๆก็ถึงตาย เพื่อให้เห็นว่าการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมีได้หลายสาเหตุ อาทิ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การประมาท เช่นเหตุการณ์ที่เด็กวิ่งตัดหน้ารถ ถ้าคนขับไม่ดื่มจะทำให้มีสติควบคุมตัวเองได้หยุดรถทันก็จะไม่เกิดอุบัติเหตุทำให้เด็กและตัวเองก็เสียชีวิตด้วย ผนวกกับความเชื่อของคนไทยที่ว่าเมื่อตายแล้วยมบาลจะมารับตัวไป ซึ่งการทำแคมเปญสื่อสารในรูปแบบของ สสส.ที่ต้องดึงดูด กระแทกใจ จึงจะทำให้คนให้ความสำคัญ จากแคมเปญนี้จะเห็นได้ว่าทุกฝ่ายได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งสิ้น แม้จะดื่มแค่กรึ่มๆก็ตาม”

นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่า สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนถ้ามองในเชิงระบบเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ความไม่พร้อมของคนขับรถ ยานพาหนะไม่พร้อม และสิ่งแวดล้อม เช่น สภาพถนน ไฟส่องสว่าง โดยเฉพาะถนนสายรอง การขาดการศึกษา การไม่รู้กฎจราจร เป็นปัจจัยร่วมที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุ อย่างไรก็ตามการรณรงค์ให้ความรู้ถือว่าประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ทั้งหมด ถ้าให้ดีการเสียชีวิตต้องไม่มี แต่การทำงานของ สสส.ตลอด 20 ปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ตัวเลขผู้เสียชีวิตลดลง ระบบบริหารจัดการที่เกิดจากความร่วมมือของทุกหน่วยงานในประเทศถือว่าสำคัญมีนโยบาย มีระบบข้อมูล มีกฎหมายบังคับใช้ และระบบยุติธรรม การทำงานเชิงพื้นที่ เป็นอีกปัจจัยที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลวิชาการที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา รวมถึงนวัตกรรมต่างๆช่วยให้การรณรงค์ลดอุบัติเหตุประสบความสำเร็จ

นพ.ไพโรจน์ กล่าวด้วยว่า นวัตกรรมการติดกล้องหน้ารถนอกจากจะช่วยบันทึกหลักฐานในการดำเนินคดีกรณีเกิดอุบัติเหตุแล้ว ยังช่วยให้คนระมัดระวังมากขึ้น แต่ทั้งนี้ราคากล้องก็ยังแพง อยากรณรงค์ให้รถทุกคันมีกล้องโดยประกาศเป็นนโยบายให้บริษัทผู้ผลิตรถติดกล้องในรถทุกคัน และย้ำให้เห็นความสำคัญว่าการติดกล้องช่วยลดอุบัติเหตุได้ ช่วยสร้างการตระหนักรู้ หรือแม้แต่นวัตกรรมของตำรวจ เช่น ระบบตรวจจับความเร็ว การให้หยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย ขับรถในเขตชุมชนต้องชะลอความเร็ว รวมถึงการใช้คาร์ชีทในกลุ่มเด็กก็จะช่วยลดอุบัติเหตุได้ ในส่วนของนักท่องเที่ยวที่เช่ารถขับเองต้องมีความรู้เรื่องกฎหมายจราจร และต้องบังคับใช้อย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัย

“เทศกาลสงกรานต์นี้อยากให้ทุกคนมีความสุขมีอิสระในการเล่นน้ำ แต่ต้องเล่นอย่างระมัดระวัง เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง สวมหมวกนิรภัย ไม่ขับรถเร็ว มีสมาธิ อย่าดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนเรื่องรถต้องมีการตรวจเช็คสภาพทุกครั้ง และสิ่งแวดล้อมที่ทางภาครัฐต้องเข้ามาดูแล ต้องให้ความสำคัญกับทุกชีวิตในการขับขี่ ทุกคนมีสิทธิใช้ถนน ขับขี่ปลอดภัยให้เกียรติซึ่งกันและกันจะช่วยลดอุบัติเหตุได้อย่างแน่นอน”นพ.ไพโรจน์กล่าวย้ำ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสส. ปลื้ม ครบรอบ 4 ปี ThaiHealth Academy พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรสุขภาวะ 82 หลักสูตร

เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567 ที่โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ หรือ ThaiHealth Academy

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ไขคำตอบ..ออกกำลังกายเป็นนิจ ตัวช่วยอายุยืนยาวห่างไกล NCDs

อุบัติการณ์โรคในยุคนี้ปรากฏว่า "โรคไม่ติดต่อ (NCDs)" กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็น 75% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด หรือเกือบ 4 แสนคนต่อปี